สงครามการค้าระหว่าง สหรัฐฯและจีน กำลังร้อนระอุอีกครั้ง หลังจากที่มีการผ่อนคลายความตึงเครียดไปช่วงหนึ่ง ล่าสุดทั้งสองประเทศมหาอำนาจได้ประกาศใช้มาตรการทางการค้าเพิ่มเติมที่อาจนำไปสู่การตอบโต้ซึ่งกันและกัน บรรยากาศความขัดแย้งทางการค้าระหว่างวอชิงตันและปักกิ่งดูจะไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลายลงในเร็ววัน ทั้งสองฝ่ายต่างยืนกรานในจุดยืนของตนเอง สร้างความกังวลต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจโลก
สงครามการค้ารอบใหม่ มีรากฐานมาจากความพยายามของสหรัฐฯในการรักษาอำนาจเหนือจีนที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมถึงประเด็นข้อพิพาทต่างๆ ที่สั่งสมมานานในด้านการค้า เทคโนโลยี สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา และความมั่นคงทางการทหาร ส่งผลกระทบไปทั่วโลก เนื่องจากทั้งสองชาติมีบทบาทสำคัญในเวทีเศรษฐกิจโลก การใช้มาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ อาจส่งผลกระเทือนต่อห่วงโซ่อุปทานและการลงทุน กระทบกระเทือนไปถึงธุรกิจ ผู้บริโภค และประเทศคู่ค้าอื่นๆ รอบด้าน ประเด็นสงครามการค้าจึงได้รับความสนใจจากนักวิเคราะห์และสื่อมวลชนทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง
เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐ ยืนยันว่า การที่รัฐบาลสหรัฐประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้ารอบใหม่จากจีนนั้น จะช่วยปกป้องธุรกิจและแรงงานของสหรัฐ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าในสหรัฐ ขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งจีนผลิตได้ในราคาถูกกว่า เมื่อบริษัทของสหรัฐสามารถพัฒนาการผลิตรถยนต์เหล่านี้ได้ ราคาก็จะปรับตัวลงเอง
มีรายงานว่า จีนมีแผนจะตอบโต้การกระทำของสหรัฐด้วยมาตรการที่เด็ดขาด แต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการตอบโต้
จุดเริ่มต้นที่ชัดเจนของความขัดแย้งครั้งใหญ่เริ่มขึ้นในปี 2018 เป็นปีเศรษฐกิจโลกเผชิญความไม่แน่นอนมากที่สุด ทำให้นิยามคำว่า Trade war หรือ สงครามการค้า สะท้อนผ่านความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีนในรอบปีดังกล่าวได้ดีที่สุด เนื่องจากสองประเทศเปิดศึกการค้าต่อกันอย่างดุเดือด ความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีระหว่างจีนและสหรัฐฯ ก้าวถอยหลังลง
ประมวลสงครามการค้า สหรัฐฯ-จีน ปี 2561 - ปัจจุบัน
ปี 2561 เริ่มแรกของสงครามการค้า
ปี 2562 สงครามการค้าทวีความรุนแรง
ปี 2563 ผ่อนคลายชั่วคราว
ปี 2565 Trade War เป็น Tech War
ปี 2566 สั่นคลอนยุทธศาสตร์ Made in China 2025
ปี 2567 สงครามการค้ารอบใหม่
สหรัฐใช้มาตรการทางภาษีรับมือกับสินค้าราคาถูกจากจีนที่ทะลักเข้ามาในประเทศ
ที่มา