นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการะทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 พ.ค.67 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต โดยคณะอนุกรรมการได้มีการหารือกันถึงประเด็นกรณีกลุ่มที่อาจเข้าไม่ถึงสมาร์ทโฟน ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการศึกษาต่อ
อย่างไรก็ดี กลไกเบื้องต้นได้ออกแบบให้ประชาชนที่ไม่มีสมาร์ทโฟน กลุ่มที่ไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้สะดวก อาทิ ผู้ป่วยติดเตียง คนชรา ผู้พิการ ก็จะให้ใช้บัตรประจำตัวประชาชนในการใช้จ่ายแทนได้ ทั้งนี้ ก็ได้กำชับให้ในเรื่องปัญหาการสวมสิทธิด้วย
“เรื่องของการสวนสิทธินั้น เราพยายามที่จะป้องกันให้ได้มากที่สุด เราพยายามรองรับคนทุกกลุ่มให้เข้าถึงสิทธิในโครงการ และสร้างความสะดวกให้กับทุกคนได้ แต่เราก็ต้องมีกลไกในการติดตามตรวจสอบ ดังนั้น จึงได้มอบโจทย์ คณะอนุกรรมการด้านการตรวจสอบการกระทำผิด ไปดูรายละเอียดว่าถ้าเราอำนวยความสะดวกให้สิทธิกลุ่มที่เดินทางไปไหนเองไม่ได้ เราจะมีการป้องกันปัญหาการทุจริตอย่างไร”
นอกจากนี้ สัปดาห์หน้า จะมีการนัดหมายพูดคุยกับกลุ่มผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ และสถานบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ในการทำระบบควบคุมแบบเปิด (Open Loop Control System) ของโครงการดิจิทัล วอลเล็ต เบื้องต้น ได้รับความสนใจจากธนาคารพาณิชย์ที่จะเชื่อโยงระบบการใช้จ่ายในโครงการดิจิทัล วอลเล็ตด้วย ถือเป็นเรื่องที่ดี ที่ปะชาชนจะได้เข้าถึงได้มากขึ้น
ทั้งนี้ คณะกรรมการยังยืนกรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามเดิม คือ รัฐบาลจะเปิดให้ร้านค้าและประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ ดิจิทัล วอลเล็ตภายในไตสมาสที่ 3 ปี 2567 นี้
ขณะที่การยืนยันตัวตนของประชาชนนั้น หากผู้ใดเคยยืนยันตัวตนผ่านโครงการของรัฐที่เคยออกมาก่อนหน้านี้แล้ว ก็ไม่ต้องเริ่มต้นกระบวนการยืนยันตัวตนใหม่ เข้าใจได้ว่าขั้นตอนการยืนยันตัวตนค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร อาจจะต้องไปดำเนินการที่สถาบันการเงินของรัฐ ดังนั้น จะมีการดึงฐานข้อมูลของรัฐเดิมมาใช้ในระบบใหม่ ดังนั้นใครที่เคยยืนยันตัวตนแล้ว ก็ไม่ต้องทำใหม่
“กระบวนการยืนยันการรับสิทธิโครงการดิจิทัล วอลเล็ต พี่น้องประชาชนต้องโหลดแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” และหากผ่านกระบวนการยืนยันตัวตัวแล้ว จะเหลือแค่การกดรับสิทธิเท่านั้น สำหรับข้อมูลของร้านค้าก็เช่นกัน หากเคยลงทะเบียนโครงการการของรัฐไว้แล้ว กระทรวงการคลังก็จะรวบรวมข้อมูลมาใส่ไว้ในระบบให้”
ส่วนเงื่อนไขการใช้จ่าย ยังคงกำหนดให้เป็นแบบตัวต่อตัว (Face to Face) คือประชาชนต้องไปซื้อของที่หน้าร้านจริงๆ และจ่ายเงินของโครงการผ่านแอป ทางรัฐ ซึ่งลักษณะของแอปดังกล่าวจะคล้ายกับแอปการเงินของธนาคาร ที่จะมีการลิงค์ของมูลโลเคชัน ทำให้ตรวจสอบได้