การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 วงเงินรวม 3.752 ล้านบาท ของสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างวันที่ 19-21 มิถุนายน 2567 น่าสนใจเป็นพิเศษ เพราะ เพิ่มขึ้น 272,700 ล้านบาท คิดเป็น 7.8 % เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2567
ไส้ในงบกลาง 8 แสนล้าน-ดิจิทัลวอลเล็ต
โดยเฉพาะงบประมาณรายจ่ายงบกลาง 805,745 ล้านบาท เทียบกับงบปี 67 เพิ่มขึ้น 190,801 ล้านบาท คิดเป็น 31 % ของงบประมาณรายจ่าย ดังนั้นจึงโดนล็อกเป้าอภิปรายมากที่สุด ประกอบด้วย
- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ 1,000 ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน 4,000 ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2,500 ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ 93,800 ล้านบาท
- เงินชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้าง 800 ล้านบาท
- เงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ 5,000 ล้านบาท
- เงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ 354,500 บาท
- เงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ 13,000 ล้านบาท
- เงินสมทบของลูกจ้างประจำ 370 ล้านบาท
- เงินสำรองจ่าย เงินสมทบ และเงินชดเชยของข้าราชการ 82,775 ล้านบาท
- เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 95,300 ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ (เงินดิจิทัลวอลเล็ต) 152,700 ล้านบาท
ส่องแผนจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ 2.887 ล้านล้าน
ขณะที่ในปีงบประมาณ 68 ประมาณการจัดเก็บรายได้สุทธิ 2,887,000 ล้านบาท จำแนกตามประเภทของการจัดเก็บ ดังนี้
1.ภาษีอากรสุทธิ 2,612,530 ล้านบาท แบ่งออกเป็น
ภาษีทางตรง จำนวน 1,311,400 ล้านบาท ประกอบด้วย
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 435,900 ล้านบาท
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล 836,100 ล้านบาท
- ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 38,600 ล้านบาท
- ภาษีมรดก 800 ล้านบาท
ภาษีทางอ้อม จำนวน 1,868,530 ล้านบาท ประกอบด้วย ภาษีการขายทั่วไป จำนวน 1,060,450 ล้านบาท
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม 969,000 ล้านบาท
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ 73,300 ล้านบาท
- อากรแสตมป์ 18,150 ล้านบาท
ภาษีการขายเฉพาะ 646,888 ล้านบาท
- ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน 231,141 ล้านบาท
- ภาษีสรรพสามิตจากการนำเข้า 124,352 ล้านบาท
- ภาษีโภคภัณฑ์อื่น 253,542 ล้านบาท
- ค่าภาคหลวงแร่ 1,597 ล้านบาท
- ค่าภาคหลวงน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ 36,251 ล้านบาท
- ภาษีทรัพยากรธรรมชาติอื่น 4.8 ล้านบาท
ภาษีสินค้าเข้า-ออก 120,700 ล้านบาท
ภาษีลักษณะอนุญาต 40,491 ล้านบาท
2.การขายสิ่งของและบริการ 33,263 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้ที่เก็บจาก การขายหลักทรัพย์และทรัพย์สิน
- ค่าขายอสังหาริมทรัพย์ 17.7 ล้านบาท
- ค่าขายผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ 89.5 ล้านบาท
- ค่าขายหนังสือราชการและค่าขายสิ่งของอื่น 641.5 ล้านบาท
การขายบริการ 32,514.7 ล้านบาท
- ค่าบริการ 22,475 ล้านบาท ค่าเช่า 10,039 ล้านบาท
3.รายได้จากรัฐพาณิชย์ 176,500 ล้านบาท
- ผลกำไรจากองค์การของรัฐ หน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ นำส่งรายได้แผ่นดิน 123,789 ล้านบาท
- รายได้จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 52,710 ล้านบาท
4.รายได้อื่น 64,706 ล้านบาท
- ค่าแสตมป์ฤชากรและค่าปรับ 8,561 ล้านบาท
- เงินรับคืน 2,223.8 ล้านบาท
- รายได้เบ็ดเตล็ดอื่น 53,921 ล้านบาท