จากกรณีที่คณะมนตรี OECD (OECD Council) ซึ่งประกอบด้วย 38 ประเทศสมาชิก มีมติเอกฉันท์เห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD)
OECD (Organization for Economic Cooperation and Development ) หรือ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2504 ประเทศที่ร่วมก่อตั้งในช่วงแรกที่เข้ามาเป็นสมาชิกทั้งหมด 20 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ส่งเสริมการประสานงานด้านนโยบายและเสรีภาพทางเศรษฐกิจในหมู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว
OECD มาจากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจยุโรป (OEEC:Organisation for European Economic Co-operation ) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2491 เพื่อติดตามผลงานของอเมริกาและแคนาดาภายใต้แผนมาร์แชล OECD มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 และรวมสมาชิกจากรัฐประชาธิปไตย เช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศในยุโรปตะวันตก ญี่ปุ่น แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
OECD เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่ให้ข้อมูลวิจัย และ คำปรึกษา แลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมความมั่นคง ความเท่าเทียม ความเป็นอยู่ที่ดี และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ปัจจุบัน OECD มีสมาชิกทั้งหมด 38 ประเทศ จากภูมิภาคยุโรป อเมริกาเหนือ ลาตินอเมริกา และเอเชียแปซิฟิก
ขณะเดียวกัน OECD ยังมีบทบาทสำคัญในการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของตราสารทาง กฎหมาย (OECD legal instruments) ข้อแนะนำ และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับระดับสากล
หลังจากคณะมนตรี OECD ได้เห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าสู่กระบวนการเข้าเป็นสมาชิก ขั้นตอนหลังจากนั้น เลขาธิการ OECD จะจัดทำแผนการเข้าเป็นสมาชิก (Accession Roadmap) ให้กับประเทศไทย ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่จะระบุขั้นตอนการเข้าเป็นสมาชิกและรายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ
โดยตลอดกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก ประเทศไทยจะต้องดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการ OECD (OECD Committee) อย่างใกล้ชิด ในการปรับปรุงมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย นโยบาย และแนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD เพื่อบรรลุการเข้าเป็นสมาชิก (full member) ในอนาคต.