นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า 5 เดือนแรกของปี 2567 ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม มีการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จำนวน 317 ราย โดยเป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 85 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 232 ราย เม็ดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 71,702 ล้านบาท มีการจ้างงานคนไทย 1,212 คน
โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุน 5 อันดับแรก ได้แก่
1. ญี่ปุ่น จำนวน 84 ราย คิดเป็น 26% ของเงินลงทุนรวม 40,214 ล้านบาท ลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับ
2. สิงคโปร์ จำนวน 51 ราย คิดเป็น 16% มีเงินลงทุน 5,189 ล้านบาท ลงทุนในธุรกิจ เช่น
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 50 ราย คิดเป็น 16% มีเงินลงทุน 1,196 ล้านบาท ลงทุนในธุรกิจ เช่น
4. จีน จำนวน 38 ราย คิดเป็น 12% มีเงินลงทุน 5,485 ล้านบาท ลงทุนในธุรกิจประเภท
5. ฮ่องกง จำนวน 28 ราย คิดเป็น 9% มีเงินลงทุน 12,048 ล้านบาท ลงทุนในธุรกิจ
นางอรมน กล่าวเพิ่มเติมว่า การเข้ามาประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะ ในอุตสาหกรรมที่กล่าวมาข้างต้น มีส่วนช่วยในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและทักษะการทำงานขั้นสูงให้กับแรงงานไทย ซึ่งเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านจากประเทศที่เข้ามาลงทุน
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่า การอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยในปี 2567 เพิ่มขึ้นจากปี 2566 จำนวน 43 ราย คิดเป็น 16% (เดือน มีมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 26,310 ล้านบาท คิดเป็น 58% ในขณะที่มีการจ้างงานคนไทยลดลง 1,787 ราย คิดเป็น 60%
สำหรับการลงทุนในพื้นที่ EEC ของนักลงทุนชาวต่างชาติในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 มีชาวต่างชาติสนใจลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 99 ราย คิดเป็น 31% ของจำนวนนักลงทุนต่างชาติในไทย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 51 ราย หรือเพิ่มขึ้น 106% และมีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 18,224 ล้านบาท คิดเป็น 25% ของเงินลงทุนทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 8,782 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 93%
ชาวต่างชาติที่ลงทุนพื้นที่ EEC ประกอบด้วย
โดยมีธุรกิจที่ลงทุนเช่น