KEY
POINTS
ธุรกิจ "ฟู้ดเดลิเวอรี่" (Food Delivery) หรือธุรกิจบริการส่งอาหาร อาการยังน่าเป็นห่วง แม้ว่าธุรกิจนี้จะเคยเป็นหนึ่งในธุรกิจดาวเด่นที่สุดในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ปัจจุบันธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ กำลังประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และการแข่งขันที่รุนแรง
ล่าสุด บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด(มหาชน) หรือ SCBX ได้แจ้งยุติการให้บริการแอปพลิเคชัน Robinhood หนึ่งในฟู้ดเดลิเวอรี่ ที่เคยได้รับความนิยมจากผู้บริโภค หลังจากประสบปัญหาขาดทุนสะสม 4 ปี รวมกันสูงถึง 5,565 ล้านบาท
ไม่นานมานี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินสถานการณ์ฟู้ดเดลิเวอรี่ในปี 2567 คาดว่า ปริมาณการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน น่าจะลดลงประมาณ 3.7% จากปี 2566 มีสาเหตุหลัก ๆ มาจากพฤติกรรมผู้บริโภคนิยมออกมาทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น รวมทั้งราคาอาหารเฉลี่ยในแอปฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้น กระทบต่อปริมาณการสั่ง
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ภาพรวมของตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ ในปี 2567 จะค่อย ๆ ซบเซาลง โดยประเมินมูลค่าตลาดจะอยู่ที่ประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท ลดลง 1.0% จากปี 2566
ฐานเศรษฐกิจตรวจสอบข้อมูลการดำเนินธุรกิจของบริษัทผู้ให้บริการ "ฟู้ดเดลิเวอรี่" 4 รายใหญ่ในประเทศไทย ผ่านระบบการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ Creden Data จากฐานข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับผลการดำเนินธุรกิจดังนี้
บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด หรือ โรบินฮู้ด
ภาพรวมในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา โรบินฮู้ด ประสบปัญหาขาดทถนสุทธิมาต่อเนื่อง โดยในปี 2566 แม้บริษัทเพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด จะมีรายได้รวมสูงสุดถึง 724,446,267 บาท จากการขายสินค้าและบริการ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ 538,245,295 บาท แต่ก็ยังมีรายจ่ายที่ค่อนข้างสูงเช่นกัน โดยหากแยกเป็นรายปี มีข้อมูลดังนี้
รายได้รวม
รายจ่ายรวม
ผลประกอบการ
บริษัท เดลิเวอรี่ ฮีโร่ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ฟู้ดแพนด้า
ภาพรวม 4 ปี ฟู้ดแพนด้า ยังมีปัญหาหารขาดทุนสุทธิสะสม แต่ในปี 2566 บริษัทฟู้ดแพนด้า ประสบกับภาวะการเงินที่ดีขึ้น ซึ่งปรากฏในผลกำไรสุทธิที่บวกเข้ากับสถานการณ์ของบริษัทหลังจากขาดทุนในปี 2565 ซึ่งตกต่ำลงจากปี 2564 และ 2563 ที่มีการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง โดยหากแยกเป็นรายปี มีข้อมูลดังนี้
รายได้รวม
รายจ่ายรวม
ผลประกอบการ
บริษัท ไลน์แมน (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ไลน์แมน
ภาพรวม 4 ปี ไลน์แมน ยังมีปัญหาหารขาดทุนสุทธิสะสม เช่นกัน โดยในปี 2566 บริษัทมีภาวะการเงินที่ดีขึ้น โดยมีรายได้รวมสูงสุด 11,634 ล้านบาททำให้ผลประกอบการในปี 2566 ขาดทุนสุทธิลดลงจาก 2,730 ล้านบาท เป็นขาดทุนสุทธิ 253ล้านบาท โดยหากแยกเป็นรายปี มีข้อมูลดังนี้
รายได้รวม
รายจ่ายรวม
ผลประกอบการ
บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ แกร็บ
ภาพรวม 4 ปี บริษัทแกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด รายได้ของปี 2566 เพิ่มขึ้นมากถึง 15,622,426,576 บาท โดยกำไรสุทธิที่บริษัทได้รับในปีนี้เป็นเครื่องมือที่ช่วยส่งผลให้บริษัทนี้สามารถกลับมาทำกำไรได้ในปี 2565 หลังจากขาดทุนในปี 2564 โดยหากแยกเป็นรายปี มีข้อมูลดังนี้
รายได้รวม
รายจ่ายรวม
ผลประกอบการ