ผู้ว่าการกทพ.ประเมินงบสร้างสะพานข้ามเกาะช้าง ขั้นต่ำหมื่นล้าน

09 ก.ค. 2567 | 09:44 น.
อัปเดตล่าสุด :09 ก.ค. 2567 | 10:25 น.

ผู้ว่าการกทพ.ลงพื้นที่ประเมินสร้างสะพานข้ามเกาะช้าง ใช้งบขั้นต่ำ 10,000 ล้านบาท ขณะประชาชน-ราชการ ความเห็นตรงกัน สร้างสะพานแนวที่ 1 ระยะทาง 8 กม. จุดต้นบ้านหนองเตียน เริ่มก่อสร้างปี 72 เปิดใช้สะพาน ปี 67

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2567 ที่ห้องประชุพลอยแดง ศาลากลางจังหวัดตราด นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)พร้อมคณะศึกษางานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดตราด (คณะกรรมการ กรอ. จังหวัดตราด) เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูล  "โครงการทางการพิเศษเชื่อมเกาะช้าง จังหวัดตราด" 

เบื้องต้น คณะศึกษาฯ จะรับฟังและทบทวนแนวเส้นทางเชื่อมเกาะช้าง จำนวน 2 แนว คือ เส้นทางที่ 1 ระยะ 8.20 กิโลเมตร เส้นทางที่ 2 ระยะทาง 5.59  กิโลเมตร 



 

จากการศึกษาเดิม พบว่า เส้นทางที่ 1 (เส้นสีชมพู)ระยะ 8.20 กิโลเมตร เริ่มต้น : บ้านยายม่อม - บ้านหนองเตียน อ.แหลมงอบ จ.ตราด จุดสิ้นสุด : หน้าโรงพยาบาลเกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด ประชาชนชาวอำเภอแหลมงอบและอำเภอเหาะช้าง มีมติเสียงข้างมาก 472 เสียง จาก 476 เสียง ในเวทีรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชนเมื่อวันที่ 9 และ 10 กุมภาพันธ์ 2566

ผู้ว่าการกทพ.ประเมินงบสร้างสะพานข้ามเกาะช้าง ขั้นต่ำหมื่นล้าน

ส่วนแนวเส้นทางเลือกที่ 2 (เส้นสีเขียว) ระยะทางประมาณ 5.59 กิโลเมตร จุดเริ่มต้น : บนถนนทางหลวงชนบทหมายเลข 4006 บริเวณบ้านธรรมชาติล่างต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด (ใกล้เคียงท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวธรรมชาติ อ.แหลมงอบ)

จุดสิ้นสุด : บนถนน อบจ.ตร. บริเวณอ่าวสับปะรดต.เกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด (ใกล้เคียงท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวสับปะรด อ.เกาะช้าง)

ผู้ว่าการกทพ.ประเมินงบ สร้างสะพานข้ามเกาะช้าง ขั้นต่ำ 10,000 ล้าน
นายครรชิต วิลัยศิลป์ วิศวกรงานทางอาวุโสกล่าวว่า คณะศึกษาได้กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของโครงการ เพื่อให้ได้แนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมที่สุด โดยแนวเส้นทางที่ 1 จุดเริ่มต้นมีทั้งหมด 3 จุด จุดสิ้นสุดมีทั้งหมด 2 จุด แนวเส้นทางที่ 2  จุดเริ่มต้น 2 จุด จุดที่สิ้นสุด 3 จุด

สำหรับการพิจารณาแนวเส้นทางนั้น จะต้องพิจราณา ทิศทางของกระแสลม ,เส้นทางการเดินเรือชนิดต่าง ๆ ,ความลึกของท้องทะเล , ทิศทางการไหลของกระแสน้ำทะเล ,ความเร็วของกระแสน้ำทะเล รวมทั้งหลีกเลี่ยงกานเกิดผลกระทบต่อพื้นที่อ่อนไหงด้านสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นที่ปะการัง,หญ้าทะเล,ที่อยู่อาศัยปลาโลมา

ส่วนหลักเกณฑ์การพิจารณา "โครงการทางการพิเศษเชื่อมเกาะช้าง จังหวัดตราด" มี 3  ด้านคือ ด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน ด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการศึกษา 24 เดือน 

นายสมเกียรติ โมครัตน์ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงตราดและนาย จตุพิธ นามสนิท ผู้อำนวยแขวงการทางหลวงชนบทตราด ได้แนะนำให้คณะศึกษาให้หลีกเส้นทางที่อาจจะเวนคืน เพราะจะต้องเสียเวลาการเวนคืนอีก 2 ปี ซึ่งแนวเส้นทางที่ 1  ถนนเส้น 3156 เหมาะสมที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ

หลังจบการประชุมแล้วนายสุรเชษฐ์ กล่าวว่า  จากการรับฟังความคิดเห็นของชาวตราดที่เข้ามาสะท้อนความรู้สึกร่วมกันว่า การได้สะพานข้างเกาะช้างเป็นเสียงเดียวกัน วันนี้การทางพิเศษฯได้รับมอบหมายจากกระทรวงคมนาคมให้มาศึกษาถึงเรื่องความเป็นไปได้ในการก่อสร้างทางด่วนหรือสะพานข้ามเกาะช้าง

ผู้ว่าการกทพ.ประเมินงบ สร้างสะพานข้ามเกาะช้าง ขั้นต่ำ 10,000 ล้าน ที่ผ่านมาได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงมาศึกษาความเหมาะสมและพบว่า มีข้อเสนอแนะพิเศษบางเรื่องที่การทางพิเศษต้องได้รับข้อมูลเพิ่มเติมวันนี้จึงเป็นโอกาสที่ดีในการเข้ามารับฟังข้อคิดเห็นและรับรู้ว่าชาวตราดมีความต้องการอยากได้สะพาน ข้ามเกาะช้างมากเรารู้ดีว่าโครงการขนาดใหญ่มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยโดยเฉพาะเส้นทางที่สะพานจะเชื่อมไปยังฝั่งเกาะช้างว่าจะอยู่บริเวณไหน

วันนี้เป็นการแสดงความเห็นว่า การทางพิเศษจะ จะทำโครงการไปได้ถึงไหนซึ่งทุกโครงการที่ทำเชื่อว่าไม่ว่าจะทำพื้นที่บริเวณไหนก็จะสร้างความเจริญให้กับจังหวัดตราด เป็นการสร้างรายได้ให้กับจังหวัดตราดและเกาะช้างซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศไทย

จึงเป็นโอกาสที่ดีในการที่จะเข้ามาดูพื้นที่และเข้าไปศึกษาสภาพพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างทั้งฝั่งอำเภอแหลมงอบและฝั่งอำเภอเกาะช้าง และเชื่อว่าภายในสองปีนี้จะมีการลงพื้นที่ของการทางพิเศษอย่างต่อเนื่อง และได้ข้อสรุปอย่างชัดเจนในการดำเนินนโยบายของทางรัฐบาลให้มีความสมบูรณ์และเป็นประโยชน์กับทางจังหวัดตราด

ผู้ว่าการกทพ.ประเมินงบ สร้างสะพานข้ามเกาะช้าง ขั้นต่ำ 10,000 ล้าน

“สำหรับการประเมินค่าก่อสร้างในการสร้างสะพานข้ามก่อสร้างครั้งนี้ประเมินไว้ขั้นต่ำประมาณ 10,000 ล้านบาท แต่ผมยังไม่ต้องการที่จะนำมาเป็นปัจจัยในการกำหนดกำหนดโครงการเนื่องจากยังยังต้อง ยังต้องพิจารณาเงื่อนไขหลายหลายอย่างร่วมกัน

เนื่องจากยังต้องเดินทางมาศึกษาผลกระทบอีกหลายครั้งจึงยังไม่ต้องการที่จะพูดอะไรมากกว่านี้เพราะอาจจะมีการปรับเปลี่ยนในภายหลังได้แต่สิ่งที่จะยืนยันกับพี่น้องประชาชนชาวตราดในขณะนี้ก็คือการทางพิเศษ ยืนยันว่าจะทำโครงการนี้ให้ดีที่สุดและรวดเร็วที่สุด"

จากนั้นคณะของผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เดินทางไปพร้อมกับนายสมเกียรติ สมรรถการ ประธานคณะอนุกรรมการศึกษาความคิดเห็นของชาวตราดเรื่องสะพานข้ามเกาะช้าง ไปยังพื้นที่ที่ได้มีการศึกษาไว้เบี้ยงต้น 2 จุด  ก่อนที่คณะได้เดินทางไปยังอำเภอเกาะช้างเพื่อตรวจสอบพื้นที่เชื่อมสะพานที่ฝั่งอำเภอเกาะช้าง 

สำหรับไทม์ไลน์ "โครงการทางการพิเศษเชื่อมเกาะช้าง จังหวัดตราด"  มีดังนี้

  • ปี พ.ศ. 2567 - 2569  ดำเนินการศึกษาความเหมาสม ฯ 
  • ปี พ.ศ. 2569 - 2572 ขออนุมัติ EIA และขออนุมัติโครงการ คัดเลือกผู้รับจ้าง 
  • ปี พ.ศ. 2572 ดำเนินการก่อสร้างโครงการ
  • ปี พ.ศ. 2576 เปิดใช้สะพาน