นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงภาพรวมและแนวโน้มการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยของปี 2567-2568 และในอนาคตว่า กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ตั้งเป้ายอดการผลิตรถยนต์ของไทยในปี 2567 จำนวน 1,900,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งออกรถยนต์ 1,150,000 คัน และการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 750,000 คัน
โดยปกติยอดการส่งออกจะใกล้เคียงกับยอดการผลิตเพื่อส่งออก ดังนั้นเป้าการส่งออกรถยนต์ ในปี 2567 จึงอาจเทียบจากเป้าการผลิตเพื่อส่งออกรถยนต์ จำนวน 1,150,000 คัน ได้ แต่ปัจจุบันไทยยับเผชิญปัญหาและอุปสรรคด้านต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น
1. การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทางด้านช่างและเทคนิค
2. ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์สันดาปซึ่งสวนทางกับแนวโน้มความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าของตลาดโลก
3. วิกฤตราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก
4. ปัจจุบันไทยยังพึ่งพาการนำเข้ายานยนต์ไฟฟ้ากว่าร้อยละ 90 โดยจะสามารถผลิตและส่งออกตั้งแต่ช่วงปี 2568 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังมีจุดแข็งที่มีผลต่อความสามารถทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมยานยนต์ อาทิ
1.เป็นฐานการผลิตรถยนต์อันดับ 10 ของโลก
2. เป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่มีความเฉพาะ (Global Niche Product) ระดับโลก ได้แก่ รถกระบะ 1 ตัน รถจักรยานยนต์ขนาดเล็ก และรถยนต์ประหยัดพลังงาน (ECO CAR)ไทยเป็นฐานการผลิตรถกระบะส่งออกไปออสเตรเลียเป็นหลัก
3. บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต เช่น BYD Mercedes Benz BMW MG GWM
4. มาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ของ BOI ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็น EV Hub ของอาเซียนนั้นจะส่งผลทำให้มีนักลงทุนต่างชาติหันมาลงทุนผลิตรถไฟฟ้า EV ในไทยมากขึ้น และครอบคลุมไปถึง เรือไฟฟ้า รถสามล้อ รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก รถบัสรถเมล์ ฯลฯ เพื่อสนับสนุนให้ไทยเป็น EV Hub แห่งภูมิภาคอาเซียน
5.ไทยตั้งเป้าเป็น TOP 10 ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าระดับโลก
จากข้อมูล สถิติการผลิตรถยนต์ของไทยกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม ปี2567 พบว่า
ในปี 2567 มีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อชดเชยการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าในปีก่อนหน้า และไทยตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคของบริษัทจีน อาทิ แบรนด์ BYD เปิดสายการผลิตโรงงานแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จังหวัดระยอง โดยโรงงานดังกล่าวมีกำลังการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า EV สูงสุดที่ 150,000 คันต่อปี รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ระบบ plug-in hybrid ด้วย นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรป ทั้งนี้หากพิจารณาเฉพาะข้อมูลตัวเลขการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ในปี 2567 (ช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม) พบว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 3,048.48% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2566
นายพูนพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมรถยนต์หลังบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ย้ายฐานผลิตไปปราจีนบุรี ก่อนหน้านี้ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศปรับแผนการดำเนินธุรกิจในไทยด้วยการปฏิรูปฟังก์ชันสายการผลิตรถยนต์ของไทยเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตรถยนต์สำเร็จรูป รวมถึงเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ xEV หรือการนำพลังงานไฟฟ้าเข้ามาใช้อย่างต่อเนื่อง โดยจะปฏิรูป แต่ละโรงงานเพื่อยกระดับโครงสร้าง ประกอบด้วยหยุดการผลิตรถยนต์ที่โรงงานอยุธยาเพื่อเปลี่ยนเป็นฐานการผลิตและส่งออกชิ้นส่วน พัฒนาโรงงานปราจีนบุรีให้เป็นฐานการผลิตและส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป (CBU) ที่สมบูรณ์แบบ รวมถึงรองรับการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV)
ทั้งนี้นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ประเมินว่า การที่ฮอนด้าปรับแผนการปฏิรูปฟังก์ชันสายการผลิตรถยนต์ของไทย ไม่เกี่ยวกับปัจจัยด้านการลดลงของยอดขายแต่เป็นการปฏิรูปโรงงานเพื่อพัฒนาเป็นฐานการผลิตและส่งออกชิ้นส่วน ซึ่งเป็นไปตามเทรนด์โลกที่ใช้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกันของเทคโนโลยีการผลิต
เมื่อวิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวก การย้ายฐานการผลิตรถยนต์จากจังหวัดอยุธยาไปรวมที่จังหวัดปราจีนบุรี จะส่งผลให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ดังนั้น ภาคธุรกิจจะมีต้นทุนต่อหน่วยลดลง เนื่องจากมีการขยายกำลังการผลิตที่เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น
รวมถึงมีการเฉลี่ยรายจ่ายที่เป็นต้นทุนคงที่ เช่น ที่ดิน เครื่องจักร ผู้จัดการโรงงาน ฯลฯ ทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถแข่งขันได้ในตลาดอุตสาหกรรมรถยนต์ การปรับแผนการปฏิรูปฟังก์ชันสายการผลิตรถยนต์ของฮอนด้า จะส่งผลให้บริษัทมีความคล่องตัวเพิ่มขึ้นในด้านโลจิสติกส์และการดำเนินงาน ช่วยลดต้นทุนการผลิต สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตแบบรวมศูนย์ เนื่องจากโรงงานปราจีนบุรีมีเทคโนโลยีสูงกว่า และมีศูนย์การวิจัยและพัฒนา (R&D) รวมถึงสนามทดสอบในย่านเดียวกัน
ขณะที่ผลกระทบเชิงลบอาจส่งผลกระทบต่อแรงงานบางส่วนในพื้นที่รวมถึงผู้ประกอบการโรงงานผลิตชิ้นส่วนซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ให้กับโรงงานผลิตรถยนต์ของฮอนด้าในจังหวัดอยุธยา ที่ยังคงต้องปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้
สำหรับมูลค่าการส่งออกรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบของไทยไปตลาดโลกช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2567 พบว่ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มี 12,503.44 ล้านดอลลาร์ หดตัว -2.34%
ส่วนตลาดส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 10 อันดับแรกของไทย ได้แก่