นโยบายเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet หรือโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ของรัฐบาล “เศรษฐา ทวีสิน” แม้ความชัดเจนของแหล่งเงินจะจัดเตรียมไว้แน่นอนแล้ว นั่นคือ งบประมาณปี 2567 และ งบประมาณปี 2568 แต่ท้ายที่สุดแล้วดูเหมือนว่า อาจมีแนวโน้มไม่เพียงพอ โดยเฉพาะการบริหารจัดการงบประมาณในปี 2568 เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะทำได้ง่ายนัก
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวก่อนหน้านี้ว่า ในการจัดเตรียมงบประมาณ รัฐบาลได้ตัดแหล่งเงินจากมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ.วินัยการเงินและการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และใช้เงินจากงบประมาณปี 2567 และงบประมาณปี 2568 รวม 4.5 แสนล้านบาท เพื่อแจกให้กับ 45 ล้านคน นั่นคือ
ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมด้านแหล่งเงินจากการบริหารจัดการงบประมาณ ปี 2568 ในวงเงินก้อนใหญ่อีก 132,300 ล้านบาทนั้น ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบแนวทาง หลักเกณฑ์ แผนและขั้นตอนการเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
สาระสำคัญของเรื่อง สำนักงบประมาณ แจ้งว่า ตามที่สภาผู้แทนราษฎร ได้มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวาระที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567 และแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 นั้นในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของสภาผู้แทนราษฎร คาดว่าเมื่อการพิจารณาแล้วเสร็จจะปรับลดงบประมาณรายจ่ายลงได้จำนวนหนึ่ง
สำนักงบประมาณจึงขอเสนอแนวทางและขั้นตอนการเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ดังนี้
1. แนวทางและหลักเกณฑ์การเสนอขอเพิ่มงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ให้หน่วยรับงบประมาณเสนอคำขอเพิ่มงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เฉพาะรายการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างแท้จริง
สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ นโยบายสำคัญของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ที่ต้องดำเนินการภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ประกอบด้วย
1.1 รายจ่ายที่ต้องดำเนินการตามข้อผูกพันที่เกิดจากกฎหมาย สัญญา ข้อตกลงระหว่างประเทศ และค่าใช้จ่ายเพื่อการชำระหนี้ รวมทั้งค่าใช้จ่ายตามสิทธิ
1.2 รายจ่ายที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ส่งเสริมการบริโภคและการลงทุนในประเทศ และเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ โดยโครงการ/รายการที่เป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคมที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
1.3 รายจ่ายเพื่อการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รายจ่ายเพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน หรือรายจ่ายที่ประชาชนได้รับประโยชน์โดยตรง รวมทั้งรายจ่ายเพื่อแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานของหน่วยรับงบประมาณ โดยรายการที่เสนอขอเพิ่มงบประมาณต้องเป็นรายการที่มีอยู่ในคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
2. แนวทางและหลักเกณฑ์การเสนอขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่าย เฉพาะรายการที่หน่วยรับงบประมาณเสนอขอตั้งงบประมาณไว้ในร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ดังนี้
2.1 มีกฎหมายกำหนดให้โอนภารกิจ ทั้งกรณีที่มีการจัดตั้งหน่วยรับงบประมาณขึ้นใหม่และไม่มีการจัดตั้งหน่วยรับงบประมาณ และกรณีเปลี่ยนชื่อหน่วยรับงบประมาณ
2.2 มีพระราชกฤษฎีการวมหรือโอนส่วนราชการเข้าด้วยกันที่ออกตามมาตรา 8 ทวิของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2.3 รายการที่หน่วยรับงบประมาณ ทบทวนเสนอปรับลดงบประมาณในส่วนที่หมดความจำเป็น หรือสามารถชะลอการดำเนินการได้ เพื่อไปดำเนินการโครงการ/รายการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างแท้จริงตามนโยบายรัฐบาล อันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
โดยให้ดำเนินการ ดังนี้
ทั้งนี้ ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง และขอเพิ่มงบประมาณ จะนำเสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และสภาผู้แทนราษฎรเป็น ผู้พิจารณาตามขั้นตอนของฝ่ายนิติบัญญัติต่อไป
3. ขั้นตอนในการเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของหน่วยรับงบประมาณ ดังนี้
3.1 ให้หน่วยรับงบประมาณจัดทำคำขอเพิ่มงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ที่ได้มีการตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของข้อมูลแล้วว่าการดำเนินงานนั้นไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กฎหมาย ข้อบังคับ หรือระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและให้เสนอขอรับความเห็นชอบต่อนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับ หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดและส่งสำนักงบประมาณ พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลรายละเอียดคำขอเพิ่มงบประมาณรายจ่ายในระบบ e - Budgeting ภายในวันที่ 26 กรกฎาคม 2567
กรณีการเสนอขอเพิ่มงบประมาณรายจ่ายแผนงานบูรณาการ ให้หน่วยรับงบประมาณเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเห็นชอบก่อนเสนอหน่วยงานเจ้าภาพ เพื่อรวบรวมเสนอรองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบแผนงานบูรณาการนั้น ๆ พิจารณาให้ความเห็นชอบ และหน่วยงานเจ้าภาพส่งสำนักงบประมาณ พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลรายละเอียดคำขอเพิ่มงบประมาณในระบบ e- Budgeting ภายในวันที่ 26 กรกฎาคม 2567
สำหรับกรณีการเสนอเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ที่ได้มีการตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของข้อมูลแล้วว่าการดำเนินงานนั้นไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กฎหมาย ข้อบังคับ หรือระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เสนอขอรับความเห็นชอบต่อนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับ หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด และรวบรวมจัดส่งให้สำนักงบประมาณภายในวันที่ 26 กรกฎาคม 2567
3.2 สำหรับหน่วยงานของรัฐสภา หน่วยงานของศาล หน่วยงานขององค์กรอิสระหรือองค์กรอัยการ ให้ยื่นคำขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยตรง
โดยขอให้หน่วยงานดังกล่าวบันทึกข้อมูลรายละเอียดตามที่ได้ยื่นคำขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการฯ ในระบบ e-Budgeting ภายในวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ด้วย เพื่อสำนักงบประมาณจะได้ประมวลภาพรวมการขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ต่อไป
ทั้งนี้ยังให้สำนักงบประมาณพิจารณาและจัดทำข้อเสนอรายละเอียดการเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในวันที่ 13 สิงหาคม 2567 และนำเสนอคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เป็นผู้พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป