"ไทยออยล์" แจงไม่เกี่ยวแรงงานประท้วง เหตุไม่ได้ค่าจ้างจาก "SINOPEC"

24 ก.ค. 2567 | 14:44 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ก.ค. 2567 | 14:45 น.

"ไทยออยล์" แจงไม่เกี่ยวแรงงานประท้วง เหตุไม่ได้ค่าจ้างจาก "SINOPEC" ในการก่อสร้างโครงการพลังงานสะอาดให้บริษัท อ้างอ้างว่าไม่ได้รับค่าตอบแทนตามสัญญาที่มีกับ UJV ระบุค้าง 2-4 เดือน

จากกรณีที่มีข่าวปรากฏบนสื่อสังคมออนไลน์วันที่ 24 กรกฎาคม 2567 ว่ามีกลุ่มผู้ใช้แรงงานจำนวนหนึ่งไม่ได้รับค่าจ้างตามกำหนด รวมตัวประท้วงบริเวณริมถนนสุขุมวิท หน้าโรงกลั่นไทยออยล์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) พบว่า กลุ่มผู้ใช้แรงงานดังกล่าวเป็นพนักงานของ บริษัท ซิโนเพค เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด (SINOPEC)

ซึ่งเป็นผู้รับเหมาช่วงของกิจการร่วมค้า Unincorporated Joint Venture of Petrofac, Saipem, Samsung (UJV) ที่เป็นผู้รับเหมาหลักและเป็นผู้ว่าจ้าง SINOPEC 
 

ในการก่อสร้างโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project: CFP) ให้กับ บริษัทฯ ได้มารวมตัวกันเรียกร้องค่าจ้างจาก SINOPEC เนื่องจาก SINOPEC อ้างว่าไม่ได้รับค่าตอบแทนตามสัญญาที่มีกับ UJV

"ไทยออยล์" แจงไม่เกี่ยวแรงงานประท้วง เหตุไม่ได้ค่าจ้างจาก "SINOPEC"

โดยเมื่อเวลา 14:00 น. บริษัทฯ ได้ประสานให้มีการหารือร่วมกันระหว่างตัวแทนกลุ่มผู้ใช้แรงงานของ SINOPEC หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 

สำนักงานกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี สำนักงานประกันสังคมจังหวัดชลบุรี สำนักงานปลัดอำเภอศรีราชา 

และ UJV แต่การเจรจายังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ ทำให้ขณะนี้การชุมนุมประท้วงยังคงมีต่อเนื่อง
 

อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ได้ดำเนินการดูแลและมีบุคลากรที่มีความพร้อมในการรักษาความปลอดภัยของโรงกลั่นฯ โดย บริษัทฯ หวังว่า UJV และ SINOPEC จะสามารถบรรลุข้อตกลงและให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ได้รับผลกระทบทุกคน ในฐานะที่ UJV และ SINOPEC เป็นผู้ว่าจ้างกลุ่มผู้ใช้แรงงานดังกล่าว

จากกาตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" พบว่า กลุ่มแรงงานดังกล่าวเป็นลูกจ้างสัญชาติเวียดนาม ประมาณ 300 คนและแรงงานไทยกว่า 200 คน โดยเป็นพนักงานของบริษัทซับแห่งหนึ่ง  ซึ่งปฏิบัติงานในพื้นที่บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ไม่ได้รับค่าจ้างประมาณ 2-4 เดือน ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา ร่วมกันระหว่าง ฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง และหน่วยงานราชการ

ซึ่งการเจรจาต่อผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวยืดยื้อมานานหลายเดือนแต่ก็ยังไม่ได้รับการแก้ปัญหาในการไม่จ่ายค่าแรงให้กลุ่มพนักงานหลายชีวิตที่ปฏิบัติงานในโรงกลั่นน้ำมันดังกล่าวและไม่มีการชี้แจงถึงปัญหาที่เกิดขึ้นสร้างความไม่พอใจให้แก่กลุ่มพนักงานเป็นอย่างมาก และต้องการเรียกร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เข้ามาตรวจสอบ หาข้อยุติเรื่องนี้

ปัญหาข้อพิพาทดังกล่าวเกิดจาก บริษัทผู้รับเหมารายใหญ่เป็น Main construction เจ้าใหญ่ไม่จ่ายเงินให้กับ Sub contract ทุกบริษัทที่จ้างมาทำงานให้หลังจากที่ได้โปรเจคงานของโรงกลั่นน้ำมันมาซึ่งทางโรงกลั่นน้ำมันดังกล่าวก็ได้ทำการจ่ายเงินให้บริษัท Main construction ไปแล้ว แต่บริษัทไม่ยอมจ่ายเงินให้แก่พนักงานของตน และผู้บริษัทผู้รับเหมารายอื่น 1-2 บริษัทที่จ้างมาทำงานต่ออีกที เลื่อนจ่ายมาตั้งแต่เดือนเมษายน 67 จนถึงปัจจุบัน 

อย่างไรก็ดี แม้พนักงานจะรวมตัวเจรจามาหลายครั้งแล้ว แต่ไม่เป็นผล ได้รับความเดือดร้อนกันอย่างหนัก