ปี 2564 เศรษฐกิจเมียน มาได้หยุดชะงักลง หลังจากหลังจากกองทัพเมียนมาขึ้นมามีอำนาจ ทำให้เกิดความขัดแย้งภายในยืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบัน มีการสู้รบระหว่างกองทัพและกลุ่มต่อต้านหลายกลุ่ม ประชาชนเมียนมาบางส่วนต้องอพยพและลี้ภัยออกจากประเทศ รวมถึงภาคธุรกิจเอกชนที่ต้องขยายธุรกิจไปต่างประเทศเพื่อกระจายความเสี่ยง
เรื่องนี้ สำนักข่าวนิกเคอิเอเชีย รายงานพบหลายธุรกิจเมียนมาเข้าเปิดกิจการในไทยมากขึ้น โดยกำลังซื้อหลักคือกลุ่มชาวเมียนมาที่อพยพเข้ามาอยู่ในไทย ซึ่งมากขึ้นในช่วงต้นปีที่ผ่านมา หลังมีการออกกฎหมายบังคับเกณฑ์ทหารในเมียนมา ทำให้หนุ่มสาวประเทศเพื่อนบ้าน อพยพและลี้ภัยเข้ามาไทยจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
นิเคอิเอเชีย ยังรายงานอีกว่า มีหลายธุรกิจของเมียนมา ทยอยเข้ามาเปิดในไทยตั้งแต่ช่วงปลายปีก่อนจนถึงช่วงต้นปีที่ผ่านมา และได้ยกตัวอย่าง 2 ธุรกิจ ได้แก่
เชอร์รี โอ (Cherry Oo)
“กายกายจ่อ” (Khaing Khaing Kyaw)
“การตัดสินใจขยายธุรกิจไปยังพื้นที่อื่นในกทม. มีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าชาวเมียนมาให้ได้มากขึ้น และยอดขายทั้งสองสาขาดีมาก ธุรกิจมีแผนขยายสาขาไปยังเมืองชายหาดอย่าง พัทยา และจังหวัดทางภาคเหนือของไทยอย่าง เชียงใหม่ ต่อไป” จ่อ ชเว ผู้จัดการร้านอาหาร ‘กายกายจ่อ’ กล่าว
ในช่วงที่ผ่านมาปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเทศไทย ถือเป็นดินแดนแห่งโอกาสในการเริ่มต้นใหม่ของชาวเมียนมา รายงานโครงการพัฒนาสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้อพยพชาวเมียนมาทั่วไปอาศัยอยู่ราว 1.9 ล้านคน ณ เดือน เม.ย. 2566 และได้คาดการณ์ว่า ในประเทศไทยมีผู้อพยพชาวเมียนมาทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมายเข้ามาอาศัยหลังจากกองทัพเมียนมาขึ้นมามีอำนาจเมื่อเดือน ก.พ. 2564 ราว 5 ล้านคนแล้ว
โดยปัจจัยสำคัญได้แก่
1.ประชาชน (ปัจจัยทางสังคม)
2.ธุรกิจในเมียนมาอยู่ยาก (ปัจจัยทางเศรษฐกิจ)
เศรษฐกิจโตช้าสวนทางเงินเฟ้อ
นอกจากนี้ หากลองเปิดสถิติเศรษฐกิจของเมียนมานั้น จากการประเมินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าในปี 2567 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมียนมา (GDP) เพิ่มขึ้น 1.5% แต่อัตราเงินเฟ้อในปี 2567 ของเมียนมา คาดการณ์อยู่ที่ 15%
และหากมองย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2560-2563 ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์รัฐประหารเมียนมานั้น แม้จะมีวิกฤติโควิด-19 แต่ GDP ของเมียนมาก็สามารถเติบโตได้ที่ 3.2-6.8% แต่การรัฐประหารปี 2564 ส่งผลให้ GDP เมียนมา ติดลบถึง 17.9% และกลับมาเติบโตได้ในปี 2565-66 ในระดับ 2-2.6% เท่านั้น ซึ่งถือเป็นการฟื้นตัวที่ช้า แม้จะมีฐานของ GDP ที่ต่ำ
ปี 2567 มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยและเมียนมาช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค. 67) รวมทั้งสิ้น 3,048.50 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 10.46% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยไทยส่งออกไปยังเมียนมาเป็นมูลค่า 1,773.93 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 11.81% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้าของประเทศเมียนมาใช้เวลานาน ส่วนการนำเข้าสินค้าจากเมียนมามายังประเทศไทยมีมูลค่า 1,274.57 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 8.52% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ไทยได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 499.37 ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้าที่ไทยส่งออกไปเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องเทศและสมุนไพร เคมีภัณฑ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ปูนซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เป็นต้น
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ กาแฟ ชา เครื่องเทศ และเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เป็นต้น