เปิดใจบิ๊ก “Loxbit” หนึ่งในทีมอเวนเจอร์ส กู้ชีพ Robinhood

01 ต.ค. 2567 | 23:46 น.

บิ๊ก Loxbit เปิดใจครั้งแรก หลังร่วมยิบอินซอย-พันธมิตร ซื้อ Robinhood จากยานแม่ SCBX ระบุเล็งเห็นศักยภาพการเติบโต เชื่อขีดความสามารถไอที ช่วยต่อยอดยกระดับบริการ platform-as-a service ในการเชื่อมต่อกับ Ecosystem ต่างๆของประเทศ หนุนธุรกิจเครือล็อกซเลย์ สู่ดิจิทัล

ล็อกซบิท (Loxbit) บริษัทด้านเทคโนโลยีในเครือล็อกซเล่ย์  เป็น 1 ในพันธมิตรร่วมกับกลุ่มยิบอินซอย เข้าซื้อกิจการแอปพลิเคชัน  Robinhood    จากบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ในกลุ่มบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCBX  โดยมีมูลค่าการซื้อขาย  2,000 ล้านบาท

เปิดใจบิ๊ก “Loxbit” หนึ่งในทีมอเวนเจอร์ส กู้ชีพ Robinhood

ประกอบด้วย มูลค่าเบื้องต้นชำระทันที 400 ล้านบาท และส่วนเพิ่มตามผลประกอบการสูงสุดไม่เกิน 1,600 ล้านบาท  โดย Loxbit  จะเช้าไปถือหุ้นใน  Robinhood  ราว 10%

ทั้งนี้นายสีหนาท ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ล็อกซบิท จำกัด (มหาชน)  หรือ  Loxbit  ให้สัมภาษณ์กับ “ฐานเศรษฐกิจ”ถึงเป้าหมายการร่วมซื้อกิจการแอป Robinhood ในครั้งนี้   โดยระบุว่า  Loxbit มองเห็นศักยภาพในการเติบโตของแพลตฟอร์มโรบินฮู้ด ที่สามารถผนวกกับขีดความสามารถด้านไอทีของ Loxbit ในการต่อยอดธุรกิจต่างๆของ Robinhood  ดังนี้

1. Strategic Move

การลงทุนนี้ถือเป็นการปรับตัวทางกลยุทธ์ของ Loxbit ที่สำคัญ เนื่องจากจะเปิดโอกาสในการขายแพลตฟอร์มบริการ (Platform As-a-Service) ให้กับลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและเพิ่มรายได้ใหม่ให้กับบริษัท

เปิดใจบิ๊ก “Loxbit” หนึ่งในทีมอเวนเจอร์ส กู้ชีพ Robinhood

2. Replicate Platform to Serve Loxley Group

การนำแพลตฟอร์มมาให้บริการกับธุรกิจในกลุ่มบริษัท ล็อกซเล่ย์ จะช่วยเสริมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยีน โดยเฉพาะ ในด้านโลจิสติกส์,B2B e-commerce, Consumer e-commerce, EV subscription และการให้บริการทางการเงิน ซึ่งจะตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าได้อย่างเต็มที่

 

Loxbit มองเห็นศักยภาพในการเติบโตของแพลตฟอร์ม Robinhood ที่สามารถผนวกกับขีดความสามารถด้านไอทีของ Loxbit ในการต่อยอดธุรกิจต่างๆของ  Robinhood รวมถึงการแตกธุรกิจใหม่ๆของโรบินฮู้ดในการให้บริการ platform-as-a service ในการเชื่อมต่อกับ ecosystem ต่างๆของประเทศ รวมถึงเข้ามาช่วยยกระดับการให้บริการของธุรกิจภายในเครือล็อกซเล่ย์ เองให่มุ่งสู่ความเป็น Digital Business เพื่อรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต อีกด้วย”

ต่อข้อถามที่ว่าจะสามารถแข่งขันกับ Grab  หรือ LINEMAN Wongnai ได้หรือไม่นั้น นายสีหนาท ระบุว่าคิดว่าไม่ได้สู้กัน เพราะเรามีแบ่งกลุ่มลูกค้า ( Segment)  ของกลุ่มเราที่เป็นกลุ่มมวลชนระดับบน  (Upper Mass) และแบ่งเกลุ่มชั้นร้านค้า (Merchants) ที่จะสนับสนุนขนาดตลาดที่ใหญ่ขึ้นกว่าแบบเดิม

อนึ่งนายสีหนาท ล่ำซำ เคยเป็นหนึ่งในผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ แอป Robinhood    โดยก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด  โดยเป็นผู้ที่เชื่อในการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรม

ทั้งนี้ “ล็อกซบิท”  เป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทคอมพิวเตอร์ ของ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2525 โดยใช้ชื่อ “บริษัท ซีสเท็ม ออกะไนเซชั่น จำกัด”ด้วยทุนจดทะเบียน 10,000,000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน) บริษัทฯ เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่จดทะเบียนในประเทศไทย 

1 มกราคม 2536  ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท ล็อกซเล่ย์ บิสซิเนส อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด”

7 พฤศจิกายน 2544 บริษัทฯ ได้เปลี่ยนชื่อจากเดิมเป็น “บริษัท ล็อกซบิท จำกัด” โดยมีบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

โดยจดทะเบียนชำระแล้วทั้งจำนวน ปัจจุบันบริษัทฯ ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัท มหาชน จำกัด เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2547 โดยปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 450,000,000 บาท และแก้ไขชื่อจาก บริษัท ล็อกซบิท จำกัด เป็น “ บริษัท ล็อกซบิท จำกัด (มหาชน) ” ปัจจุบันมีจำนวนพนักงานมากกว่า 600 คน มีพาร์ทเนอร์ธุรกิจ 12 บริษัท

ด้วยประสบการณ์กว่า  31 ปีที่ได้ร่วมสร้างและพัฒนาเทคโนโลยี  3 กลยุทธ์การดำเนินการของเพื่อบรรลุพันธกิจของล็อกซบิท

-การมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และการบริการ

-การเพิ่มกลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการด้านดิจิทัลเพื่อสนับสนุนกิจกรรม Digital Transformation

-การเพิ่มศักยภาพบุคลากรของบริษัทฯ เพื่อให้สอดคล้องทักษะยุคอนาคตและเพื่อการบริการที่เป็นเลิศ

จากการตรวจสอบของฐานเศรษฐกิจ ผ่าน Creden Data พบว่า บริษัท ล็อกซบิท จำกัด (มหาชน) มีรายได้และกำไรระหว่างปี 2562-2566 สามารถสรุปรายได้และกำไรได้ดังนี้:

รายได้และกำไร บริษัท ล็อกซบิท จำกัด (มหาชน)

ปี 2562

  • รายได้ 1,100,184,747 บาท
  • กำไร  2,652,879 บาท

ปี 2563

  • รายได้ 1,276,925,768 บาท
  • กำไร 2,692,268 บาท

ปี 2564

  • รายได้ 486,784,869 บาท
  • ขาดทุน  27,741,024 บาท

ปี 2565

  • รายได้  682,872,003 บาท
  • ขาดทุน 6,661,353 บาท

ปี  2566

  • รายได้ 556,985,212 บาท
  • กำไร  113,835,744 บาท