นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) อย่างเป็นทางการ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 และ 45 หรือ อาเซียนซัมมิท (ASEAN Summit) ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาชนลาวระหว่างวันที่ 8-11 ตุลาคม 2567
โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 มีมติเห็นชอบ “ร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 และ 45 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง” ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
ข้อมูลจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(สลค.) ระบุว่า ร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 และ 45 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง (ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ) จํานวน 18 ฉบับ ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 - 11 ตุลาคม 2567 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
โดยร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ มาจากหน่วยงานเจ้าของเรื่อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ (ตร.) รวม 18 ฉบับ
โดยแบ่งเป็น 1.ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ที่จะรับรอง ในระดับผู้นําอาเซียน จํานวน 17 ฉบับ และ 2.ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ที่จะรับรองโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน จํานวน 1 ฉบับ
ส่วนร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ที่รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน จะร่วมรับรอง จํานวน 1 ฉบับ ได้แก่ ร่างบทเพิ่มเติมสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยมีสาระสําคัญเป็นเอกสารเพื่อแก้ไขข้อ 1 (เอ) ของสนธิสัญญาฯ เพื่อเพิ่มการระบุถึงติมอร์เลสเต (ติมอร์ฯ) ซึ่งจะส่งผลให้ติมอร์ฯ สามารถยื่นภาคยานุวัติสารเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาฯ ได้ต่อไป โดยเมื่อสมาชิกคณะกรรมาธิการเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับรองร่างบทเพิ่มเติมฯ แล้ว ประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศจะต้องจัดทําตราสารการยอมรับ ต่อบทเพิ่มเติมฯ นําส่งให้แก่ไทยในฐานะผู้เก็บรักษาโดยจะมีผลใช้บังคับภายหลังการยื่นตราสารการยอมรับของประเทศลําดับที่ 7
ประโยชน์ที่ได้รับ :
วันที่ 8 ตุลาคม 2567
วันที่ 9 – 11 ตุลาคม 2567
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นอกจากการเข้าร่วมประชุมหารือระหว่างผู้นำอาเซียนด้วยกันแล้ว ยังมีการประชุมหารือระหว่างผู้นำอาเซียนกับคู่เจรจา ได้แก่ จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา รวมทั้งสหประชาชาติ เพื่อร่วมหารือในประเด็นสำคัญต่าง ๆ อาทิ การเสริมสร้างประชาคมอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอก และสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศที่สำคัญ
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังมีกำหนดเข้าร่วมการหารือกับผู้แทนภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ สมัชชารัฐสภาอาเซียน สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน และเยาวชนอาเซียน รวมทั้งการประชุม Asia Zero Emission Community Leaders' Meeting ครั้งที่ 2 และมีกำหนดหารือทวิภาคีกับผู้นำจากประเทศต่าง ๆ ที่เดินทางมาเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ด้วย