เช็คเงินเยียวยาน้ำท่วม 2567 ครัวเรือนละ 9,000 บาท 57 จังหวัด

08 ต.ค. 2567 | 09:53 น.
อัปเดตล่าสุด :08 ต.ค. 2567 | 13:08 น.

เช็คเงินเยียวยาน้ำท่วม 2567 ล่าสุด หลัง ครม. อนุมัติเพิ่มเงินช่วยเหลือ อัตราเดียว 9,000 บาทต่อครัวเรือน สรุปรายละเอียด และ หลักเกณฑ์

เช็คเงินเยียวยาน้ำท่วม 2567  จากกรณีที่ก่อนหน้านี้ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และ ดินโคลนถล่ม (ศปช.) ได้เสนอต่อ ครม. เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 ที่ได้ผ่านมติ ครม. เมื่อ 17 ก.ย. 67 เพื่อให้ประชาชนผู้ประสบความเดือดร้อนได้รับการช่วยเหลือมากที่สุดตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี

เช็คเงินเยียวยาน้ำท่วม 2567 สาระสำคัญ ดังนี้

1.ผลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 ดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2567 เวลา 16.30 น.)

  • มีผู้ยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือฯ ในพื้นที่ 50 จังหวัด จำนวน 63,296 ครัวเรือน
  •  กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนที่ขอรับความช่วยเหลือให้ธนาคารออมสินและได้โอนจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัย ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่ แล้วรวมจำนวน 6,363 ครัวเรือน เป็นเงิน 31,857,000 บาท

 

ล่าสุดวันนี้ 8 ตุลาคม 2567 ครม.ได้อนุมัติ ทบทวนหลักเกณฑ์และอัตรการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในช่วงฤดูฝน ดังนี้
                   

ขอทบทวนหลักเกณฑ์ฯ และ อัตราการเยียวยาน้ำท่วม 2567 ล่าสุด โดยจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 ภายใต้กรอบวงเงินเดิม ดังนี้
 

 หลักเกณฑ์ และอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน
  

จากเดิม

  • กรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันตั้งแต่ 1 วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขังเกินกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 5,000 บาท
  •  กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 7,000 บาท
  • กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 60 วัน ขึ้นไป ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 9,000 บาท

 ขอทบทวนเป็น
 

  •  กรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 7 วัน ให้ความช่วยเหลืออัตราเดียว ครัวเรือนละ 9,000 บาท
  • สำหรับผู้ประสบภัยได้รับเงินช่วยเหลือตามมติคณะรัฐมนตรีฯ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 ไปแล้ว ให้จ่ายเงินช่วยเหลือฯ เพิ่มเติมให้ครบ จำนวนเงิน 9,000 บาท กรณีผู้ประสบภัยที่ยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือฯ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือฯ ตามหลักเกณฑ์ และอัตราการจ่ายเงินฯ ที่ขอทบทวนในครั้งนี้

 ประโยชน์และผลกระทบ

 ครัวเรือนผู้ประสบภัย จำนวน 338,391 ครัวเรือน ตามข้อมูลพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ/พื้นที่ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/พื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน จำนวน 57 จังหวัด ได้แก่

  • จังหวัดกระบี่
  • กาญจนบุรี
  • กาฬสินธุ์
  • กำแพงเพชร
  • ขอนแก่น
  • จันทบุรี
  • ฉะเชิงเทรา
  • ชัยภูมิ
  • ชลบุรี
  • เชียงราย
  • เชียงใหม่
  • ตรัง
  • ตราด
  • ตาก
  • นนทบุรี
  • นครนายก
  • นครปฐม
  • นครพนม
  • นครสวรรค์
  • นครราชสีมา
  • นครศรีธรรมราช
  • น่าน
  • บึงกาฬ
  • ปราจีนบุรี
  • พระนครศรีอยุธยา
  • พังงา
  • พะเยา
  • พิจิตร
  • พิษณุโลก
  • เพชรบูรณ์
  • แพร่
  • ภูเก็ต
  • มหาสารคาม
  • มุกดาหาร
  • แม่ฮ่องสอน
  • ยะลา
  • ระยอง
  • ราชบุรี
  • ร้อยเอ็ด
  • ลำปาง
  • ลำพูน
  • เลย
  • ศรีสะเกษ
  • สกลนคร
  • สตูล
  • สระแก้ว
  • สระบุรี
  • สุโขทัย
  • สุพรรณบุรี
  • สุราษฎร์ธานี
  • หนองคาย
  • หนองบัวลำภู
  • อ่างทอง
  • อุทัยธานี
  • อุดรธานี
  • อุตรดิตถ์
  • และจังหวัดอุบลราชธานี

เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 สำหรับเป็นค่าดำรงชีพเบื้องต้นแก่ครอบครัวผู้ประสบอุทกภัย เป็นกรณีพิเศษและเพื่อให้การดำรงชีพของประชาชนเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว.

ที่มา: มติครม.วันที่ 8 ตุลาคม 2567