วันนี้ (18 สิงหาคม 2567) นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ของรัฐบาล ผ่านนโยบายแจกเงิน 10000 บาท ไปยังกลุ่มเปราะบางทั้งผู้สูงอายุ และผู้พิการ ซึ่งดำเนินการเสร็จสิ้นไปช่วงปลายเดือนกันยายน 2567 น่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2567 โดยจะต้องประเมินเงินที่ลงไปในระบบเศรษฐกิจอีกครั้งว่าจะมีผลอย่างไร
“ช่วงแรกที่จ่ายเงิน 10000 บาทลงไปกว่าเงินเข้าระบบต้องสำรวจและประเมินอีกครั้งว่า นำไปใช้จ่ายอะไรบ้าง และจะช่วยเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้แค่ไหน เพราะต้องไปดูรูปแบบการใช้จ่ายก่อน เนื่องจากการจ่ายออกไปเป็นเงินสด จะประเมินผลต่อเศรษฐกิจได้ยากว่านำไปใช้จ่ายอะไร จึงต้องสำรวจ ซึ่งล่าสุด สศช. ร่วมกับกระทรวงการคลัง และสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ออกสำรวจกลุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้ข้อมูลว่าเงินที่ได้ไปใช้จ่ายอะไร และส่งผลอย่างไรกับเศรษฐกิจ” นายดนุชา ระบุ
ทั้งนี้ในการประเมินเบื้องต้น การแจกเงินกลุ่มเปราะบาง 10000 บาทในช่วงที่ผ่านมา เงินส่วนนี้จะมีต่อเศรษฐกิจอย่างชัดเจนในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2567 ส่วนการดำเนินมาตรการนี้ต่อเนื่องหรือไม่นั้น คงต้องรอข้อสรุปจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นี้ อีกครั้งว่าจะมีมติออกมาอย่างไร
อย่างไรก็ตามในแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งในช่วงที่เหลือของปี 2567 เพื่อให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ สศช. ตั้งไว้ 2.6% และในปี 2568 ขยายตัว 2.8% นั้น สศช. มองว่า สิ่งสำคัญคือการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบพุ่งเป้ามากขึ้น โดยต้องพิจารณาสถานการณ์ต่าง ๆ ให้รอบคอบ และต้องหารือถึงแนวทางการดำเนินมาตรการให้เกิดผลต่อเศรษฐกิจมากที่สุด
การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2567 และปี 2568 ควรให้ความสำคัญกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1.ขับเคลื่อนภาคการส่งออกให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือผลกระทบจากการยกระดับมาตรการกีดกันทางการค้าที่อาจทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนี้
2.การปกป้องภาคการผลิตจากการทุ่มตลาดและการใช้นโยบายการค้าที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้
3. การขับเคลื่อนการลงทุนภาคเอกชน โดยให้ความสำคัญกับเรื่องต่าง ดังนี้
4.การดูแลเกษตรกรและสนับสนุนการปรับตัวในการผลิตภาคเกษตร โดยให้ความสำคัญกับเรื่องต่าง ดังนี้
5.การให้ความช่วยเหลือธุรกิจ SMEs ที่ประสบปัญหาด้านการเข้าถึงสภาพคล่องเนื่องจากคุณภาพสินเชื่อปรับลดลงต่อเนื่อง ขณะเดียวกันควรเร่งรัดดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง