KEY
POINTS
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นทางโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีน้ำเงิน ช่วงสวนสัตว์เชียงใหม่ - แยกศรีบัวเงินพัฒนา ระยะทาง 10.47 กิโลเมตร จำนวน 13 สถานี โดยมีแนวเส้นทางผ่านแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลายจุด อาทิ สวนสัตว์เชียงใหม่ ถนนนิมมานเหมินทร์ ถนนคนเดินประตูท่าแพ เชียงใหม่ไนท์บาซ่า เป็นต้น รวมทั้งเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างรถไฟฟ้าและรถไฟระหว่างเมืองที่สถานีรถไฟเชียงใหม่
เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เข้าด้วยกันซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในพื้นที่ และรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในอนาคต โดยได้มอบนโยบายให้ รฟม. และหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องพิจารณาการพัฒนาโครงข่ายและแนวเส้นทางโครงการให้ครอบคลุมพื้นที่สำคัญ เช่น หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา แหล่งท่องเที่ยว และพื้นที่ย่านธุรกิจต่างๆ โดยคำนึงถึงการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยของประชาชน รวมถึงความคุ้มค่าด้านงบประมาณเป็นสำคัญ
โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ โดยมีระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit : LRT)เป็นระบบหลัก ประกอบด้วย 3 เส้นทาง คือ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคีสายสีน้ำเงิน ช่วงสวนสัตว์เชียงใหม่ – แยกศรีบัวเงินพัฒนา และสายสีเขียว ช่วงแยกรวมโชคมีชัย – ท่าอากาศยานเชียงใหม่ โดยที่ผ่านมา รฟม. ได้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.)
ที่มอบหมายให้ รฟม. ดำเนินโครงการในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership หรือ PPP) โดยดำเนินการในส่วนของสายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี เป็นลำดับแรก ตามลำดับความสำคัญ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางเลือก
การดำเนินงานโครงการที่เหมาะสมและคุ้มค่ากับการลงทุน
การลงพื้นที่ตรวจราชการการปฏิบัติภารกิจกระทรวงคมนาคม ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ล่าสุดวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นางสาวณภัทรา กมลรักษา ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง)
และนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ลงพื้นที่ตรวจราชการการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รักษาการแทน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะผู้บริหาร รฟม. ร่วมลงพื้นที่
โดยคณะได้ลงพื้นที่สำรวจแนวเส้นทางรถไฟฟ้าในอนาคต ของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ บริเวณสถานีรถไฟเชียงใหม่ พร้อมรับฟังบรรยายสรุปภาพรวมเกี่ยวกับโครงการฯ ทั้งนี้ นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนี้ เป็นการติดตามการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งนอกจากโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ที่ รฟม. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแล้ว ยังเล็งเห็นถึงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสายอื่นๆ ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนควบคู่กับการสนับสนุนการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในพื้นที่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นทางโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีน้ำเงิน ช่วงสวนสัตว์เชียงใหม่ - แยกศรีบัวเงินพัฒนา ระยะทาง 10.47 กิโลเมตร จำนวน 13 สถานี โดยมีแนวเส้นทางผ่านแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลายจุด อาทิ สวนสัตว์เชียงใหม่ ถนนนิมมานเหมินทร์ ถนนคนเดินประตูท่าแพ เชียงใหม่ไนท์บาซ่า เป็นต้น รวมทั้งเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างรถไฟฟ้าและรถไฟระหว่างเมืองที่สถานีรถไฟเชียงใหม่
เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในพื้นที่ และรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในอนาคต โดยได้มอบนโยบายให้ รฟม. และหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องพิจารณาการพัฒนาโครงข่ายและแนวเส้นทางโครงการให้ครอบคลุมพื้นที่สำคัญ เช่น หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา แหล่งท่องเที่ยว และพื้นที่ย่านธุรกิจต่างๆ โดยคำนึงถึงการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยของประชาชน รวมถึงความคุ้มค่าด้านงบประมาณเป็นสำคัญ
โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ โดยมีระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit : LRT) เป็นระบบหลัก ประกอบด้วย 3 เส้นทาง คือ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี สายสีน้ำเงิน ช่วงสวนสัตว์เชียงใหม่ – แยกศรีบัวเงินพัฒนา และสายสีเขียว ช่วงแยกรวมโชคมีชัย – ท่าอากาศยานเชียงใหม่ โดยที่ผ่านมา รฟม. ได้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มอบหมายให้ รฟม. ดำเนินโครงการในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership หรือ PPP) โดยดำเนินการในส่วนของสายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี เป็นลำดับแรก ตามลำดับความสำคัญ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางเลือก
การดำเนินงานโครงการที่เหมาะสมและคุ้มค่ากับการลงทุน