นางสาวปณิตา ชินวัตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว. อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลเพื่อเตรียมเสนอของบประมาณปี 2569 ประมาณ 1,000 ล้านบาท เพื่อนำมายกระดับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) ไทยทั่วประเทศกว่า 3.2 ล้านราย ให้มีขีดความสามารถทางการแข่งขันต่อไปได้
ทั้งนี้ ปีงบประมาณ 68 สสว. ได้รับประมาณ 500 ล้านบาท เมื่อรวมกับงบกองทุนของ สสว. อีกประมาณ 200 ล้านบาท จะเป็น 700 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่นำมาช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เช่น โครงการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์สีเขียวตอบรับกับแนวโน้มผู้บริโภค
อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่าขณะนี้ มีเอสเอ็มอีจำนวนมากที่ต้องปิดโรงงานเพราะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศยังไม่ฟื้นตัว แต่ก็ยังมีเอสเอ็มอีหลายรายที่อาจจะปิดโรงงานไปแล้วเปิดกิจการประเภทอื่นรับกับแนวโน้มของตลาดโลก
สำหรับปี 68 จะมุ่งสนับสนุนด้านนวัตกรรม และเติมความรู้ให้กับผู้ประกอบการให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นว่าเทรนด์โลกเป็นอย่างไร โดยเฉพาะการที่สหภาพยุโรป หรือ อียู ประกาศมาตรการ CBAM ที่จะเข้มงวด รวมถึงมาตรการภาษีคาร์บอนต่าง ๆ ที่เริ่มบังคับใช้ในหลายประเทศแล้ว ซึ่งสินค้าในประเทศไทยมีหลายอย่างที่ยังเป็นที่นิยมอีกมาก ผู้ประกอบการจึงต้องตั้งรับให้ทันเทรนด์โลก
นอกจากนี้ อีกปรเทศที่สสว.มองว่าเป็นประเทศที่มีความต้องการบริโภคสูงคือ ประเทศจีน ที่ผู้ประกอบการไทยยังสามารถเข้าไปช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดได้คือ โดยเฉพาะผลไม้อย่างมะพร้าว มะม่วง และทุเรียน เป็นต้น
"ยอมรับว่าแม้เศรษฐกิจจีนจะยังไม่เติบโตเต็มที่คนจีนก็ยังนิยมบริโภคไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรก็ตาม อาหารไทยได้รับความนิยมมาก บางผลิตภัณฑ์ก็ต้องเรียนรู้และมีการปรับกลิ่นปรับรสให้เข้ากับประชากรในแต่ละเมืองของประเทศจีนด้วย"
นางสาวปณิตา กล่าวอีกว่า ล่าสุด สสว. ได้จัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในพื้นที่อีอีซี (Eastern Economic Corridor : EEC) และพื้นที่ต่อเนื่อง ปีงบประมาณ 2567 ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี เป็นการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถ เพื่อยกระดับนวัตกรรมในอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เกิดการลงทุนหรือสามารถก่อตั้งธุรกิจได้
รวมถึงช่วยเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการที่ยกระดับนวัตกรรมในธุรกิจได้ และยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศให้กับผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ โดยมีการจัดกิจกรรมการพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ ที่เข้าร่วมโครงการมาตั้งแต่เดือนก.ย.-ธ.ค. 2567
โดยมุ่งเน้นผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนแล้วไม่เกิน 3 ปี มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ข้างต้น ที่มีการดำเนินกิจการ ได้แก่
ประกอบด้วย ผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา 27 ราย ชลบุรี 48 ราย ระยอง 42 ราย และจันทบุรี 33 ราย โดยภายหลังจากรับการพัฒนา คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้/การลดต้นทุน/การขยายการลงทุน/การจ้างงาน/มูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ ฯลฯ มากกว่า 28 ล้านบาท
นอกจากจะได้รับการยกศักยภาพทางธุรกิจแล้ว โครงการฯ ยังได้ดำเนินการเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและพร้อมต่อยอดการลงทุนในธุรกิจจำนวน 31 ราย ซึ่งมีแผนการลงทุนกว่า 64 ล้านบาท รวม 126 ล้านบาท