ไทยเบฟ เป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่ขยับตัวเมื่อไหร่มักเป็นที่จับตามองนอกจากเป้าหมายก้าวขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องดื่มและอาหารครบวงจรในภูมิภาคอาเซียนแล้ว ไทยเบฟยังตั้งเป้าที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทุกข้อครอบคลุมถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ จนได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 และกลุ่มดัชนีโลกต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ยิ่งไปกว่านั้น ไทยเบฟยังเป็นบริษัทในภูมิภาคอาเซียนรายเดียวที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้นำในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มระดับโลกต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของไทยเบฟที่จะเป็นผู้นำด้านการพัฒนาความยั่งยืน
ซึ่งเจ้าสัวน้อย ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยบนเวที Sustainability Forum 2023 ธุรกิจพลิกยุทธศาสตร์ รับความยั่งยืนโลก ถึงเบื้องหลังความสำเร็จด้านความยั่งยืนว่า “ภาพรวมของปัญหาความยั่งยืนทั้งหมดที่เกิดขึ้นล้วนมาจากภาคธุรกิจ เพราะภาคธุรกิจต้องตอบสนองตามความต้องการของผู้บริโภคเพื่อสร้างการเติบโตในมิติธุรกิจ ดังนั้นการที่องค์กรธุรกิจจะหันกลับมา Net out หรือ Net zero ในบริบทของผู้ประกอบการที่เป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้การจะปฏิบัติหน้าที่ให้สมบูรณ์โดยที่ไม่ไปเบียดเบียนและสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น แต่ละองค์กรไม่สามารถทำคนเดียวได้
เพราะผู้ประกอบการเช่นในธุรกิจผลิตเครื่องดื่มยังมีเครือข่ายทางด้านธุรกิจไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ โลจิสติกส์ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และอื่นๆที่เกี่ยวโยงกับธุรกิจซึ่งเป็นการ cross industry หรือ collaboration คือการทำงานร่วมกันกับทุกภาคไม่ว่าเป็น supply chain หรือ value chain ก็ตาม ดังนั้นถ้าเราพูดถึงเรื่อง Sustainability เรามองว่า SD program ถือว่าเป็นcollaboration แพลตฟอร์มในอีกรูปแบบหนึ่ง”
อย่างไรก็ตาม “ประเทศไทยมีดีไม่แพ้ใคร” ในปี2020 ที่ผ่านมาไทยมีองค์กรภาคเอกชนที่เข้าเกณฑ์มิติของความยั่งยืนกว่า 29 บริษัทและในจำนวนนี้กว่า 11 บริษัทได้รับในสถานะเป็น world industry leader ในประเภทอุตสาหกรรมนั้นๆของในโลก ชนะญี่ปุ่นที่แม้จะมีบริษัทที่เกี่ยวโยงกับความยั่งยืนกว่า 70 บริษัทแต่ได้ world industry leader เพียงแค่ 6 องค์กร และในปี 2021 แม้ว่าจะอยู่ในช่วงวิกฤตโควิด ทุกๆอุตสาหกรรมเกิดความท้าทาย แต่ไทยยังมีบริษัทที่ยังได้รับสถานะ world industry leader 8 บริษัท ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอาหาร ธุรกิจสื่อสารและรีเทล ก็ตาม
ทั้งนี้ UN หรือ องค์การสหประชาชาติ ได้ระบุแนวทางการพัฒนาและความยั่งยืน 17 ข้อ ซึ่งเป็นเหมือน Aspirational goal คือกรอปหรือเป้าหมายกว้างๆที่ต้องการให้ทุกคนหันหน้าเข้ามาร่วมไม้ร่วมมือและทำงานด้วยกัน แต่ที่สำคัญคือ “จะทำอย่างไร” ในประเทศไทยรัฐบาลมีการผลักดันความยั่งยืนตั้งแต่ปี 2015 ก่อนจะก้าวเข้ามาในปี 2016 ซึ่งเป็นการพัฒนาในเรื่องของความยั่งยืนภายใต้กรอป SDG 15 ปี (Sustainable Development Goal 15) โดยเน้นในเรื่องการสื่อสารสำหรับ 77 ประเทศที่เชื่อมโยงกัน โดยเน้นชัดๆในเรื่องของ Bangkok Goals on BCG Model
ในการประชุม COP26 เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี2021 เป็นการจุดประกายประเด็นและการเคลื่อนไหวด้าน SDG และเริ่มมีอีเวนต์ระดับโลกที่เป็น international ครั้งแรก คือความยั่งยืนในเรื่องของ“Climate Change” จนทำให้เกิดการตื่นตัวกันทั่วโลก ต่อเนื่องมาถึงการประชุมงCOP27 รัฐบาลไทยมีคอมมิทเมนท์ เรื่อง Bangkok Goals ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าประเทศของเราอยู่ภายใต้การดำเนินงานที่เป็นกรอปยุทธศาสตร์ นอกจากนี้เรายังเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของภาคการเกษตรเพราะเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ภาคการเกษตรวันนี้ประเทศไทยไม่น้อยหน้าใครเพราะมีพืชที่ให้พื้นที่สีเขียวช่วยลดในเรื่องของ carbon Emissions แต่คำถามคือประเทศไทยไม่เคยนับว่าพื้นที่สีเขียว (ไม่นับป่าที่เป็นป่าทึบ) มีพื้นที่เท่าไหร่
ในส่วนของไทยเบฟเอง "ฐาปน" ยอมรับว่าอาจจะยังเทียบไม่ได้กับกลุ่มหรือองค์กรขนาดใหญ่ที่ดำเนินการเรื่องความยั่งยืนมากว่า 20 ปี ไทยเบฟเป็นน้องใหม่ที่เพิ่งเข้าวงการความยั่งยืนเมื่อปี 2015 จนสามารถเข้าไปอยู่ในกระดานดาวโจนส์ระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจนกระโดดขึ้นมาในระดับ world ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับ world industry leader มากว่า4 ปี
ล่าสุดบริษัทมีโอกาสจัดอีเว้นต์ความยั่งยืน อาทิเช่นงาน Sustainability Expo 2022 เป็นการรวมตัวกันของภาคเอกชนที่ดำเนินการเรื่องความยั่งยืน สิ่งที่เห็นจากงานนี้ในมิติของความยั่งยืนมีการพูดถึง food waste และการบริหารจัดการขยะหรือของเหลือใช้ที่ต้องทิ้งออกไปให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งมีผู้ประกอบการและคนที่เกี่ยวข้องกว่า 170 องค์กรและมีวิทยากรมากกว่า 400 ท่านได้เข้ามาทำงานในเรื่องนี้และช่วยจุดประกายให้กับเยาวชนที่ให้ความสนใจในเรื่องของการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในมิติของผืนป่าที่จะมาลดความเดือดร้อนเรื่อง “Climate Change”
นอกจากนี้จากการทำงานเชื่อมโยงกับเครือข่ายพันธมิตรสิ่งที่เห็นคือเรื่องของการเพิ่มขึ้นปริมาณของทั้งจำนวนประชากรและการบริโภคที่มากขึ้น “เราอยู่ในโลกของการบริโภค หรือconsumerism เพราะมีบริโภคกันจริงจัง เราต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อผลิตสินค้าต่างๆขึ้นมาตามความต้องการของผู้บริโภคคำถามคือวันนี้เราได้ทดแทนหรือสร้างทรัพยากรเหล่านั้นกลับเข้ามาให้ในโลกใบนี้มากน้อยแค่ไหน
นี่จึงเป็นคำตอบว่าถ้าโลกใบนี้ต้องการที่จะบรรลุ Net Zero ทุกๆประเทศ ทุกๆองค์กร ทุกภาคส่วน รวมไปถึงภาคประชาชนต้องร่วมมือกันในเรื่อง “Climate Change” ซึ่งท้ายที่สุดคงกลับไปในจุดที่เล็กที่สุดคือความเป็นปัจเจกบุคคล เพราะวันนี้เรายังเดินทางโดยใช้รถ เราบริโภคทั้งข้าวปลาอาหารในรูปแบบต่างๆ
สิ่งที่น่าห่วงคือเมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาคนในโลกใบนี้มีจำนวนกว่า 8,000 ล้านคนและอีกประมาณ 15 ปีข้างหน้าประชากรโลกเพิ่มเป็น 9,000 ล้านคนเรายังมองไม่ออกว่าโลกใบนี้จะเป็นอย่างไร แต่ที่แน่ๆทุกคนต้องมีอาหารในการประทังชีวิตในทุกๆวัน แสดงว่าแค่เรื่องของ food security ก็มีประเด็นไม่ต้องนับถึงเรื่อง urbanization เพราะทุกๆคนอยากจะอยู่ในเมืองสิ่งที่ตามมาคือเรื่องของพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นเมืองหลวงหรือในเมืองใหญ่ต่างๆเพราะทุกๆคนถามหาความสดวกและความปลอดภัยในชีวิต”
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ามนุษย์หนึ่งคนก็มีโอกาสพลิกกระดานนี้ของโลกให้เปลี่ยนแปลงไปได้ เพราะต้นเหตุส่วนใหญ่มาจากทางด้านการบริโภค สำหรับคนไทยมีโอกาสในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์และนำไปปฏิบัติจริงโดยมีประเด็นสำคัญ คือคำว่า 3ห่วงโซ่ 2 คุณค่า คือการบริโภคอย่างพอประมาณ มีเหตุมีผลในการดำเนินการต่างๆ สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตัวเองทั้งในเรื่องขององค์ความรู้ที่เติมเต็มเข้ามาและอยู่ในหลักธรรมาภิบาลที่ดี
“ถ้าทุกๆคนไม่ได้สร้างภาระให้กันและกัน หรือถ้าตัวเราเองจะทำประโยชน์ให้กับโลกใบนี้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก็อาจจะเป็นแนวทางหนึ่งที่นำมาปรับใช้ได้ ถ้าพวกเราทุกๆคนช่วยกันโอกาสความยั่งยืนของโลกใบนี้จะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน”