ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย Marketing Association of Thailand (MAT) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงภาพรวมของเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในสภาวะชะลอตัว ยักษ์ใหญ่อย่าง จีน สหรัฐ หรือแม้แต่ฝั่งยุโรป GDP ไม่โตตามเป้า สถานการณ์ในประเทศไทยก็ไม่ต่างกันกำลังเผชิญกับ “สภาวะเศรษฐกิจโตต่ำ” โดยคาดการณ์ GDP อยู่ที่ 2% การเอาตัวรอดในวิกฤติดังกล่าว ประเทศไทยต้อง Reposition ประเทศให้อยู่ในทิศทางที่ควรจะเป็นไม่ใช่ทิศทางที่อยากจะเป็น
“ในสายตานานานาชาติประเทศไทยคือ Thailand of smile ดินแดนแห่งเอนเตอร์เทนเมนต์ การบริการที่ไม่แพ้ชาติไทย เราต้องวางภาพลักษณ์ประเทศให้เหมาะสำหรับเป็น “เพื่อนเที่ยว” เนื่องจากอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนประเทศในปัจจุบันคือการท่องเที่ยว การเอาตัวรอดในวิกฤตระยะสั้นนี้คือการปรับจุดยืนของประเทศจากอุตสาหกรรมหนักสู่อุตสาหกรรมการบริการ กล่าวคือต้องพึ่งพา AI เทคโนโลยีสะอาด ก้าวสู่อุตสาหกรรม Service solution”
วิกฤตเศรษฐกิจ คือโอกาส เมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจที่เผชิญกันทั่วโลก ประเทศที่ตั้งหลักได้ก่อนจะได้เปรียบสิ่งที่ประเทศไทยต้องทำในมุมธุรกิจคือต้องขาย solution ในทุกช่องทาง สิ่งที่ทุกบริษัทต้องดิ้นรนเพื่ออยู่รอดมี 3 หัวใจสำคัญ การปรับตลอดเวลา, ใช้นวัตกรรม และการทรานฟอร์มธุรกิจ สิ่งนี้คือคัมภีร์ที่ทำให้บริษัทเติบโตอย่างยั่งยืน
ดร.บุรณิน กล่าวเสริมว่า ในครึ่งปีหลัง 67 อุตสาหกรรมที่ต้องเฝ้าระวัง อุตสาหกรรมยุค 1.0 กล่าวคือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตส่งออก หรือธุรกิจที่พึ่งพาการผลิตเป็นหลัก สิ่งที่ธุรกิจดังกล่าวต้องเผชิญต่อให้สายป่านยาวแต่ธุรกิจฐานรากไม่แข็งแรงก็สามารถทำให้ล้มได้
กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ต้องออกวางแผนไปทำตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น ต้องมองหาหาพาทเนอร์ต่างประเทศ และต้องนำธุรกิจ SMEs ในไทยออกไปทำตลาดต่างประเทศด้วย ในแง่ของการร่วมมือเป็นพันธมิตร หรือการสนับสนุนการส่งออก เพราะธุรกิจ SMEs มีความสำคัญกับการเติบโตของ GDP กว่า 35%
อย่างหลงกับดักปัจจัยบวก สิ่งที่น่าจับตาในครึ่งปีหลังที่ส่งสัญญาณบวกคือเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่เอื้อต่อธุรกิจ นโยบายการเปิดประเทศที่ส่งผลให้นักท่องเที่ยวทะลักเพื่อกระตุ้นการจับจ่าย ไปจนถึงนโยบายงบประมาณที่จะอัดฉีดใครครึ่งปีหลัง สิ่งที่ควรระวังเปรียบเสมือนหนามที่ซ่อนอยู่คือมีกลุ่มทุนต่างประเทศที่จะช่วงชิงกำลังซื้อภายในประเทศ เฉพาะฉะนั้นภาครัฐและเอกชนจะต้องวางแผนในการก้าวข้ามอุปสรรคดังกล่าวและต่อยอดปัจจัยบวกให้กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแท้จริงให้ได้
เมื่อพูดถึงเศรษฐกิจชะลอตัวจะเกี่ยวข้องกับกำลังซื้อที่ชะลอตัวจาม ในมุมของผู้บริโภคคือการรัดเข็มขัด แต่ในมุมของธุรกิจแตกต่างกันออกไป ธุรกิจไม่สามารถรัดเข็มขัดอัดยาแรงได้ สิ่งที่องค์กรควรทำคือการข้ามเลือดเฉพาะจุด ต้องเดินหน้าอัดฉีดทำตลาด มองหาช่องว่างเพื่อต่อยอดให้ได้ ต้องขายสินค้าให้เกิดประโยชน์มีมูลค่าและให้ตัวเองได้เปรียบและขายของได้ ดร.บุรณิน กล่าวเสริม
จากการวิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจดังกล่าวของ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ในฐานะนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย สู่แผนยุทธศาสตร์ 2 ปี ในการปั้น “นักการตลาด” ให้มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศใช้การตลาดสร้างผู้ประกอบการใหม่ สร้างอุตสาหกรรมใหม่ ธุรกิจใหม่ และสร้างการเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรในต่างประเทศ โดยเสนอ 5 โฟกัสหลักเพื่อเป็นเข็มทิศให้นักธุรกิจไทยในครึ่งปีหลัง 2567 ประกอบด้วย:
ดังนั้น สิ่งที่นักการตลาดต้องทำคือการเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ สร้างความร่วมมือ เกื้อกูล และปรับตัวไปด้วยกัน และเชื่อว่าการตลาดในสมัยหน้า กลุ่มประเทศ Asia จะเป็นผู้นำ นักการตลาดไทยจึงต้องเกาะติดสถานการณ์ ไว้ และมาร่วม Change-Innovate-Transform เพื่ออนาคต
นอกจากนี้ สมาคมฯ ได้ประกาศวิสัยทัศน์ใหม่ในการปรับบทบาทจาก "Platform" สู่การเป็น "Accelerator" โดยมีแผนร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำข้อมูล Foresight และ Insight ที่จำเป็น เพื่อให้นักการตลาดและผู้ประกอบการมีข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง
พร้อมกันนั้น นายสุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล อุปนายกฝ่าย Digital Marketing & Technology และศาสตราจารย์วิทวัส รุ่งเรืองผล กรรมการอำนวยการของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวว่าฐานรากสำคัญของประเทศนั่นคือธุรกิจ SMEs นอกจากยักษ์ใหญ่แล้ว “คนตัวเล็ก” ก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าธุรกิจ SMEs เติบโตก็จะส่งผลดีต่อ GDP เช่นกัน
โดยได้เผยกลยุทธ์สำคัญสำหรับ SMEs ไทยในการเร่งเครื่องสู่ความสำเร็จท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจ นั่นคือ มุ่งเน้นการขยายฐานลูกค้าสู่ตลาดเอเชียที่มีการเติบโตสูง โดยเฉพาะอาเซียน จีน และอินเดีย ผ่านช่องทาง e-commerce และการสร้างความสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ สร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งโดยเน้นการสร้างมูลค่าและคุณค่าที่แตกต่าง มุ่งเน้นการสร้างกำไรจากลูกค้าที่เห็นคุณค่าแบรนด์มากกว่าการเน้นยอดขายเพียงอย่างเดียว
การส่งเสริมการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เพื่อขยายฐานลูกค้าและเสริมจุดแข็งซึ่งกันและกัน โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดต้นทุน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า โดยใช้ประโยชน์จากความคล่องตัวของ SMEs ในการทดลองนวัตกรรมใหม่ ๆ และ การดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความถูกต้อง