ยูโกะ อิโต กรรมการผู้จัดการ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน และ พร้อมด้วย นางสาวพร้อมพร สุภัทรวณิช รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ เผยผลวิจัยในหัวข้อใหม่ครอบครัวอาเซียน โดยได้ทำการวิจัย ครอบคลุมคนในภูมิภาคอาเซียนรวม 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ เพื่อสำรวจอินไซด์ของครอบครัวในอาเซียนและบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เพื่อทำให้แบรนด์สามารถวางกลยุทธ์ สร้างการเติบโตได้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย
เปิดเผยร่วมกันว่า ผลการสำรวจของกลุ่มลูกค้าในอาเซียนและประเทศไทย สะท้อนตรงกันว่า ชาวอาเซียนต่างยึดมั่นกับ “สถาบันครอบครัว” เป็นพื้นฐานสูงสุด รวมถึงในอนาคต ยังให้ความสำคัญกับครอบครัวเพิ่มมากขึ้น แต่ปรับแนวทางสร้าง “คุณค่าของครอบครัวแบบใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ” ผสมผสานทั้งคุณค่าแบบเดิมของครอบครัวอาเซียน และพร้อมเปิดรับ ค่านิยมแบบใหม่จากต่างประเทศ
การศึกษาของเราพบว่าโครงสร้างครอบครัวไทยยังมีแนวโน้มของระบบเคารพอาวุโสเป็นหลัก สิ่งที่น่าสนใจคือ ทุกคนในครอบครัวต่างมีบทบาทหน้าที่ ที่จะสามารถเอื้อประโยชน์ต่อครอบครัวได้ในแบบที่ตัวเองถนัด ยกตัวอย่างเช่น ผู้อาวุโสมักรับหน้าที่เลี้ยงดูและให้คำแนะนำกับลูกหลาน และผู้มีอายุน้อยกว่าก็ตอบแทนด้วยการให้ความเคารพ และดูแลผู้อาวุโสในยามแก่ชรา ดังนั้นครอบครัวไทยจึงเป็นระบบที่มีพื้นที่ให้ทุกคนสามารถแบ่งปันความถนัดของตัวเองเพื่อครอบครัวได้อย่างกลมกล่อม และกลมเกลียว
ถอดรหัส กตัญญู 2.0
ครอบครัวของคนไทยเติบโตมาจากการปลูกฝังให้มีความกตัญญูมายาวนาน ต่อให้บริบทสังคมในปัจจุบันทั้งสภาวะเศรษฐกิจหรืออัตราการเกิดที่น้อยลง สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ความกตัญญูนั่นได้เปลี่ยนรูปแบบไปบางเล็กน้อย อยากกตัญญูดูแลพ่อแม่เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือการแสดงออกรูปแบบใหม่ๆ
ไม่ว่าประเทศไทยจะเปลี่ยนไปเป็นยุคสมัยไหน แต่ความกตัญญู หรือความมุ่งมั่นตั้งใจของคนไทยที่จะดูแลพ่อแม่นั้นยังเข้มข้นไม่เปลี่ยนแปลง ผลสำรวจของเราพบว่า
คนไทยคิดว่าการดูแลพ่อแม่เป็นหน้าที่ๆลูกพึงปฏิบัติด้วยตัวเอง ไทย 75.3% VS อาเซียน 69.2% มากกว่าการมอบหมายให้คนอื่นทำเพื่อลดภาระ อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้คนไทยเริ่มมีการดัดแปลงวิธีการแสดงออกถึงความกตัญญู ไม่ว่าจะเป็นการเน้นเรื่องประสบการณ์มากกว่ามูลค่าของสิ่งของ การหาทางเลือกในการดูแลพ่อแม่แบบใหม่ๆ หรือการส่งต่อคุณค่าของความกตัญญูผ่านการ “ทำให้ดู” แทนการ “พูดให้ฟัง”
โอกาสของแบรนด์ในการต่อยอด กตัญญูมาร์เก็ตติ้ง