"Pet Humanization"โตแรง มาร์สจับมือจุฬา วิจัยอาหารสัตว์เลี้ยงในเอเชีย

04 ส.ค. 2567 | 04:42 น.
อัพเดตล่าสุด :04 ส.ค. 2567 | 04:44 น.

"Pet Humanization" โตแรง "มาร์ส อินคอร์ปอเรทเต็ด" MOU จุฬาฯ ศึกษา- วิจัยด้านอาหารสัตว์เลี้ยงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

นายรัชกร เจนพัฒนพงศ์ ผู้จัดการทั่วไป ประจำประเทศไทยและอินโดจีน มาร์ส เพ็ท นูทริชั่น กล่าวว่า มาร์ส อินคอร์ปอเรทเต็ด ผู้ผลิตภัณฑ์และบริการดูแลสัตว์เลี้ยง รวมถึงขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว และอาหาร ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ความร่วมมือครั้งนี้เป็นสัญญาณของการลงทุนอย่างต่อเนื่องจากมาร์ส เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยจัดให้มีการตรวจสุขภาพตามกำหนดและให้คำแนะนำสำหรับสัตว์เลี้ยง รวมถึงเปิดโอกาสให้นิสิตสัตวแพทย์ได้ฝึกงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

นายรัชกร เจนพัฒนพงศ์ และ สพ.ญ. ดร. สันนิภา สุรทัตต์

บริษัทได้ลงทุนโดยวิธีไม่รุกล้ำเกี่ยวกับพฤติกรรมและการให้อาหารสัตว์เลี้ยง ผ่านทางศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เลี้ยงแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC Pet Center) ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เลี้ยงแห่งแรกในประเทศไทย

ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี โดยมีวัตถุประสงค์หลัก  เพื่อพัฒนาและปรับปรุงอาหารสัตว์เลี้ยงของมาร์สให้เหมาะสมกับความต้องการและความชื่นชอบของแมวและสุนัขในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งแตกต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก

 

นอกจากนี้ยังสนับสนุนวัตถุประสงค์ของนายมาร์ส เพ็ทแคร์ ที่ต้องการสร้างโลกที่ดีกว่าสำหรับสัตว์เลี้ยง ซึ่งส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์อย่างมีความรับผิดชอบ เพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการให้อาหารที่ครบถ้วนและสมดุล  ยกระดับมาตรฐานการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงสู่ระดับสากล และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการของสัตว์เลี้ยงอย่างกว้างขวาง

นายรัชกร กล่าวว่า เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมมือกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเสริมสร้างการดูแลสุขภาพและการศึกษาเกี่ยวกับโภชนาการสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย ผมรู้สึกยินดีที่เราสามารถแบ่งปันประสบการณ์และความเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงกับนิสิตสัตวแพทย์

\"Pet Humanization\"โตแรง มาร์สจับมือจุฬา วิจัยอาหารสัตว์เลี้ยงในเอเชีย

ด้วยการลงทุนต่อเนื่องในด้านการวิจัยที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เลี้ยงแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC Pet Center) ซึ่งเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของเราในการจัดหาอาหารสัตว์เลี้ยงที่มีคุณภาพสูงและเหมาะสมกับความต้องการของสัตว์เลี้ยงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

 

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างมาร์สและคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมความรู้และความเข้าใจสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา, พัฒนาเทคโนโลยีและมาตรฐาน, เสริมสร้างคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยง, รวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษา

ศาสตราจารย์ สพ.ญ. ดร. สันนิภา สุรทัตต์ คณบดี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ความร่วมมือกับมาร์ส ประเทศไทยในวันนี้ เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของทั้งสองฝ่ายในการยกระดับมาตรฐานการศึกษาและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย อีกทั้งยังเพิ่มพูนความรู้และเปิดมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงสำหรับนิสิตและคณาจารย์ของคณะสัตวแพทยศาสตร์

ด้าน นายจารึก ศรีเกียรติเด่น ผู้อำนวยการด้านนวัตกรรมระดับโลก มาร์ส เพ็ท นูทริชั่น กล่าวว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เลี้ยงแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC Pet Center) ในจังหวัดชลบุรี มีมาตรฐานการวิจัยในระดับสากล อีกทั้งขับเคลื่อนและยกระดับความสามารถในการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงที่ครบถ้วนและสมดุลของมาร์สในภูมิภาคนี้

\"Pet Humanization\"โตแรง มาร์สจับมือจุฬา วิจัยอาหารสัตว์เลี้ยงในเอเชีย

ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการด้านโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยง และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาด้านการศึกษา เพื่อสร้างความตระหนักถึงการเลี้ยงสัตว์อย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นความสำคัญสูงสุดสำหรับประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงอันดับสามของโลก