ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร รองประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยในงานเสวนา แนวโน้ม Mega Trends for SME 2024 : การปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลและความยั่งยืน ว่า ปี 2567 ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี (SMEs) ในประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยมี 5 แนวโน้มสำคัญ ประกอบด้วย
ดร.กฤษกร สุขเวชชวรกิจ หัวหน้าหน่วยการตลาดและสื่อสารองค์กร วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า หลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยฯ ได้มีการประยุกต์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องของการบริหารจัดการธุรกิจ ที่มุ่งเน้นการผลิตผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่จะนำองค์ความรู้ไปใช้ในการทำงานเพื่อนำองค์กรสู่ความสำเร็จ รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
สำหรับงานเสวนาดังกล่าวซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดล และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยร่วมกันดำเนินการ ถือเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ให้กับนักศึกษาของวิทยาลัยการจัดการ ด้วยการเรียนรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์การทำงานอย่างแท้จริงกับกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ซึ่งถือเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่มีจำนวนมากกว่า 3 ล้านราย มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ในปี 2566 ถึง 6,317,181 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 35.2% ของ GDP รวมของประเทศ และยังเป็นกลุ่มธุรกิจของคนรุ่นใหม่ ที่สามารถเติบโตได้ในตลาดโลก ซึ่งนักศึกษาสามารถนำองค์ความรู้จากกรณีศึกษาไปต่อยอดในการดำเนินธุรกิจในอนาคต
ดร.ตรียุทธ พรหมศิริ หัวหน้าสาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม กล่าวว่า ธุรกิจดาวเด่นที่น่าจับตาได้แก่ ธุรกิจการตลาดดิจิทัล ธุรกิจสัตว์เลี้ยง และธุรกิจสุขภาพ ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตอย่างมากในปี 2567 จากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภค SMEs ที่สามารถนำเสนอนวัตกรรมและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะทางเหล่านี้จะมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง
อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญในการก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง คือ การเข้าใจตลาดดิจิทัล เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแนวโน้มของตลาดดิจิทัลที่ผู้ประกอบการ SME ต้องปรับให้เข้ากับผู้บริโภคยุคใหม่
นอกจากนี้ ธุรกิจสุขภาพ เป็นอีกหนึ่งเมกะเทรนด์ที่น่าจับตามอง และเป็นหนึ่งในธุรกิจเด่นแห่งยุค โดยเฉพาะการที่ไทยกำลังก้าวสู่สังคมสูงวัยและความนิยมป้องกันก่อนเกิดโรค