ทิศทาง "ทีวีดิจิทัล" ถึงทางแยก 4 ปีสุดท้ายก่อนหมดใบอนุญาต ไปต่อหรือพอแค่นี้

28 ส.ค. 2567 | 09:04 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ส.ค. 2567 | 09:25 น.

กสทช.ผนึกกำลังครั้งประวัติศาสตร์กับสมาคมทีวีดิจิทัลและทีวีสาธารณะทุกช่อง จัดงาน” 1 ทศวรรษทีวีดิจิทัล ”Beyond the Next Step ร่วมแสดงวิสัยทัศน์อนาคตทีวีดิจิทัลในฐานะ ”โทรทัศน์แห่งชาติ” ไปต่อหรือพอแค่นี้ ก่อนและหลังสิ้นสุดในอนุญาตปี 2572

นายสุภาพ คลี่ขจาย นายกสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า “ทีวีดิจิทัลภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ได้ออกอากาศในระบบดิจิทัลภาคพื้นดินมาเป็นระยะเวลา 10 ปี

ทิศทาง \"ทีวีดิจิทัล\" ถึงทางแยก 4 ปีสุดท้ายก่อนหมดใบอนุญาต ไปต่อหรือพอแค่นี้

และการมองทิศทางอนาคตในระยะต่อไปอีกประมาณ 4 ปี ก่อนและหลังใบอนุญาตทีวีดิจิทัลภาคเอกชนจะสิ้นสุดในปลายเดือนเมษายน ปี 2572 ในปีนี้ทางสมาคมฯ,ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลภาคธุรกิจและผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลภาคสาธารณะทุกช่องโดยการสนับสนุนจากกสทช. รวมทั้งแม่ทัพบุคลากรคนสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทีวี ทั้งผู้บริหารสถานีและผู้ผลิตรายการมารวมตัวกันครั้งใหญ่

โดยวางเป้าหมายให้งาน “ 1 ทศวรรษทีวีดิจิทัล” ภายใต้แนวคิด “Beyond the next step” แสดงศักยภาพในปัจจุบันและอนาคตของการเป็น “โทรทัศน์แห่งชาติ” สื่อหลักที่เข้าถึงคนไทยแบบไม่มีค่าใช้จ่ายอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม                 

10 ปีทีวีดิจิทัล  หลังปี 72 โทรทัศน์แห่งชาติจะเป็นอย่างไร?

นายสุภาพ คลี่ขจาย  นายกสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) กล่าวว่า เหลือเวลาอีก 4 ปีกว่าเกือบ 5 ปี ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ดิจิทัลจะหมดอายุลง และต้องการความชัดเจนเพื่อตั้งหลักได้ หลายประเทศเลือกที่จะไม่ประมูลในยุคก่อน

ซึ่งสำหรับการประมูลโทรทัศน์ดิจิทัลเมื่อครั้งที่แล้ว คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินว่าจะมีตัวเลขประมูลประมาณ 13,000 ล้านบาท แต่เมื่อมีการประมูลจริง กสทช.ได้รับเงินจากการประมูลของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ไปถึง 50,000 ล้านบาท

ทิศทาง \"ทีวีดิจิทัล\" ถึงทางแยก 4 ปีสุดท้ายก่อนหมดใบอนุญาต ไปต่อหรือพอแค่นี้

อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการประมูลจะเป็นอย่างไร จะต้องมีการแก้กฎหมายการจัดสรรคลื่นความถี่ที่ระบุว่าจะต้องมีการประมูล ซึ่งการแก้กฎหมายจะต้องใช้เวลานานหลายปี ซึ่งคนที่จะสะท้อนถึงคำถามที่ว่า หลังหมดสัญญานั้นจะมีการประมวลต่ออีกหรือไม่คือ ประธาน กสทช.

ทางด้านศาสตราจารย์คลินิก นพ. สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับอนาคตของทีวีดิจิทัลในประเทศไทยว่า ปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกในการรับชมมากขึ้น ทำให้ความนิยมในการดูทีวีผ่านคลื่นลดลง อย่างไรก็ตาม ทีวียังคงมีความสำคัญต่อประเทศชาติ

ทิศทาง \"ทีวีดิจิทัล\" ถึงทางแยก 4 ปีสุดท้ายก่อนหมดใบอนุญาต ไปต่อหรือพอแค่นี้

อย่างที่ทราบ เมื่อสัญญาสัมปทานทีวีดิจิทัลหมดอายุลงในปี 2572 ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการประมูลใบอนุญาตใหม่หรือไม่ เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และรัฐบาลต้องพิจารณาถึงนโยบายที่เหมาะสมที่สุด อย่างไรก็ตาม หากมีการประมูล ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลรายเดิมก็มีโอกาสที่จะเข้าร่วมประมูลเพื่อต่ออายุใบอนุญาตเหมือนเดิมตามปกติ

ขณะที่นายถกลเกียรติ วีรวรรณ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บมจ.เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ช่วงปี 56 ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันคนดูทีวีน้อยลง คนเปิดช่องทีวีน้อยลง แต่ไม่ได้แปลว่าคนดูคอนเทนต์น้อยลง แต่คอนเทนต์ที่ตรวจสอบได้ มาจากช่องทางเดียวคือทางทีวี

ทิศทาง \"ทีวีดิจิทัล\" ถึงทางแยก 4 ปีสุดท้ายก่อนหมดใบอนุญาต ไปต่อหรือพอแค่นี้

ช่องทางต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้และในอนาคตนั้นสำคัญหมด เราเริ่มใหม่หมดไม่ได้ เราต้องเปลี่ยนจากสิ่งที่มีค่อย ๆ เริ่มการเปลี่ยนแปลง คอนเทนต์ที่หลายช่องทางทำกันอยู่ในปัจจุบันหลายเจ้าก็ยังอยากออกทีวี เพราะทีวีทำให้คนดูพร้อมกันได้และจุดกระแสได้ โดยส่วนตัวเห็นว่าทีวีดิจิทัลจะต้องดำรงอยู่ต่อไปเพราะมีความสำคัญกับประเทศ เราจะต้องเดินไปด้วยกัน