ไม่แพ้ชาติใด “Gen Z ไทย” คว้าผู้นำช้อปปิ้งเชิงกลยุทธ์อันดับ 1 ในเอเชีย

28 ส.ค. 2567 | 10:12 น.
อัพเดตล่าสุด :28 ส.ค. 2567 | 10:15 น.

NielsenIQ เผยผลวิจัย NIQ Spend Z พบ ประชากร Gen Z ไทย มีพฤติกรรมการใช้จ่ายซื้อของเชิงกลยุทธ์มากที่สุดในเอเชีย เป็นทั้งนักสืบค้นหาข้อมูล เฟ้นหาราคาที่ดี พร้อมเปลี่ยนแบรนด์เมื่อได้ข้อเสนอที่ดีกว่า

จากข้อมูลของ World Data Lab ที่คาดว่า ประชากร Gen Z จะเป็นคนกลุ่มเดียวที่มีจำนวนถึง 2,000 ล้านคน หรือคิดเป็น 25% ของประชากรโลก และคาดการณ์ว่าภายในปี 2577 ประชากร Gen Z ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะกลายเป็นกลุ่มที่มีส่วนสนับสนุนด้านการใช้จ่ายทั้งหมดของครัวเรือน ซึ่งมีมูลค่าการใช้จ่ายมากกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทำให้ประชากร Gen Z ก้าวขึ้นเป็นเจเนอเรชั่นที่ใหญ่ขึ้นและมีอำนาจทางการเงินมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกก็มีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ไม่แพ้ชาติใด “Gen Z ไทย” คว้าผู้นำช้อปปิ้งเชิงกลยุทธ์อันดับ 1 ในเอเชีย

ล่าสุด NielsenIQ (NIQ) บริษัทวิจัยผู้บริโภคชั้นนำของโลกด้านข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค นำเสนอรายงาน NIQ Spend Z ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ประชากร Gen Z ในประเทศไทย เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมการใช้จ่ายซื้อของเชิงกลยุทธ์มากที่สุดในเอเชีย

ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในเทรนด์ของผู้บริโภคและพลวัตของตลาด ด้วยพฤติกรรมที่เน้นไปทางด้านการค้นคว้าหาข้อมูลและให้ความสำคัญกับราคา ประชากรกลุ่มนี้จึงมีอิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ด้านการค้าปลีกในประเทศไทยและทั่วโลก พบวิจัย ระบุว่า  

  • 86% กลุ่มผู้บริโภค Gen Z ชาวไทย จะศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์อย่างละเอียดก่อนตัดสินใจซื้อ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของผู้บริโภคชาวเอเชียกลุ่มวัยเดียวกันที่ 71% ประชากรกลุ่มนี้มักจะฟังคำแนะนำจากอินฟลูเอนเซอร์และกลุ่มเพื่อนของตน

ไม่แพ้ชาติใด “Gen Z ไทย” คว้าผู้นำช้อปปิ้งเชิงกลยุทธ์อันดับ 1 ในเอเชีย

  • 75% จะพึ่งพาแหล่งข้อมูลเหล่านี้เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
  • 42% ของผู้บริโภค Gen Z จะชอบซื้อของบนช่องทางโซเชียลมีเดีย อาทิ ผ่านการคลิกลิงก์จากช่องทางของอินฟลูเอนเซอร์ การซื้อผ่านแอป ผ่านช่องทางโฆษณาออนไลน์ และช่องทางการไลฟ์สดขายของ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของประสบการณ์การซื้อของคนกลุ่มนี้

การคำนึงถึงราคาเป็นข้อเด่นอีกประการหนึ่งในการตัดสินใจซื้อของประชากร Gen Z ชาวไทย

  • 71% ยินดีที่จะเปลี่ยนแบรนด์เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับ 67% ของประชากรกลุ่มวัยเดียวกันทั่วเอเชีย
  • 68% ของผู้บริโภคชาวไทยกลุ่มนี้ยังคงใช้เว็บไซต์และแอปในการเปรียบเทียบราคาอยู่เสมอ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวทางเชิงกลยุทธ์ในการซื้อของพวกเขา เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยในเอเชียแปซิฟิก ประชากร Gen Z ในประเทศไทยมักจะแสดงถึงการใช้แนวทางเชิงกลยุทธ์ได้ดีกว่าอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสำหรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่รอบรู้และคำนึงถึงราคา

ไม่แพ้ชาติใด “Gen Z ไทย” คว้าผู้นำช้อปปิ้งเชิงกลยุทธ์อันดับ 1 ในเอเชีย

การเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนี้ ธุรกิจต่างๆ จะต้องปรับตัวให้เข้ากับนิสัยการซื้อที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ NIQ จึงได้มอบคำแนะนำให้ธุรกิจต่างๆ อาทิ

  • การนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่โปร่งใสและมีรายละเอียดเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการวิจัยของผู้บริโภค
  • การเสนอโปรแกรมสะสมคะแนนและข้อเสนอพิเศษซึ่งสามารถช่วยป้องกันการเปลี่ยนแบรนด์ของลูกค้าได้
  • ธุรกิจควรปรับแต่งกลยุทธ์การตลาดเพื่อดึงดูดผู้ซื้อที่ให้ความสำคัญต่อการวิจัย
  • การใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดีย อินฟลูเอนเซอร์ และคำแนะนำจากกลุ่มเพื่อน ก็สามารถสร้างความไว้วางใจและขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจได้

อย่างไรก็ดี ธุรกิจต่างๆ ควรให้ความสำคัญถึงความถูกต้อง ความยั่งยืน และผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจในด้านสุขภาพมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมของประชากร Gen Z ในปัจจุบัน การลงทุนในนวัตกรรมที่สอดคล้องกับความชอบของคนกลุ่มนี้

ไม่ว่าจะเป็น ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และความใส่ใจด้านสุขภาพจึงถือเป็นสิ่งสำคัญ การให้ความสำคัญและสนับสนุนค่านิยม รวมถึงการปรับแต่งผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ จะช่วยสร้างความเชื่อมโยงที่ยั่งยืนกับกลุ่มผู้บริโภคที่มีอิทธิพลเหล่านี้ได้ และจะช่วยรับประกันความภักดีต่อแบรนด์และความสำเร็จของแบรนด์ในระยะยาว

ความมุ่งมั่นของผู้บริโภครุ่นใหม่ในประเทศไทยในการค้นคว้าหาข้อมูลอย่างละเอียด คำนึงถึงราคา และความมีอิทธิพลต่อครัวเรือน ทำให้พวกเขากลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงพลวัตของตลาด เนื่องจากอิทธิพลของพวกเขาได้ขยายออกไปไกลมากเกินกว่าการซื้อของส่วนตัว จนส่งผลต่อการตัดสินใจในการซื้อของสำหรับของครอบครัว

ธุรกิจต่างๆ จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้เพื่อการเติบโตในภูมิทัศน์ที่มีการแข่งขันสูง นิสัยการซื้อของเชิงกลยุทธ์ของประชากร Gen Z ในประเทศไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลงแค่ภาคค้าปลีกเท่านั้น แต่ยังเป็นแรงผลักดันการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่จะกำหนดอนาคตของตลาดอีกด้วย