นายสุวิช รุ่งวัฒนไพบูลย์ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) กล่าวว่า งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 ระหว่างวันที่ 10- 20 ตุลาคม 2567 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในครั้งนี้มาในธีม “ผี” ภายใต้คอนเซ็ปต์ “อ่านกันยันโลกหน้า” โดยปีนี้เน้นกิจกรรมมากว่าปีที่ผ่านมา เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านหนังสือและกิจกรรมต่างๆ ซึ่งในปี 2567 ตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา อุตสาหกรรมด้านหนังสือในประเทศไทยไม่ได้อยู่ในภาวะที่เติบโตก้าวกระโดด แต่ก็ไม่ได้ตกต่ำ เพราะบางสำนักพิมพ์มียอดพิมพ์โตถึง 30% ซึ่งตลาดในอุตสาหกรรมโดยภาพรวมทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์มีมูลค่ากว่า 1.6 หมื่นล้าน เห็นชัดคือ แอพพลิเคชัน Shopee, Lazada ที่มียอดขายอย่างต่อเนื่อง เพราะคนนิยมซื้อเมื่อมีส่วนลด เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนชอบซื้อหนังสือในแพลตฟอร์มด้วย
“เรียกได้ว่าหัวหนังสือที่ไม่เคยตก โดยเฉพาะหนังสือนิยายที่มีสัดส่วนในตลาดมากถึง 45% ถัดมาคือประเภทมังงะ 27% หนังสือฮีลใจและพัฒนาตัวเอง 17% และเตรียมสอบ 9% ส่วน how to อยู่ในหมวดทั่วไปประมาณ 2% เช่น เทคนิคเกษตร การทำมาหากิน และในงานหนังสือระดับชาติครั้งที่ 29 ในปี 2576 นี้มีสนพ.เข้ามาจองบูธถึง 885 บูธ รวม 286 สำนักพิมพ์ รายได้ปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปี 2566 ประมาณ 15-20% รวมมูลค่า 480-500 ล้านบาท และคาดการณ์ว่าจะมีผู้ร่วมงาน 1.6-1.7 ล้านคน”
1. บูธ R05 นิทรรศการกระสือแอร์ไลน์บริเวณหน้าฮอลล์ 6 : ประกอบด้วยงานติดตั้ง 3 ชิ้น
2. บูธ R06 ทางออกสู่โลกหน้า : เป็นนิทรรศการที่ต่อยอดมาจากโครงการประกวดออกแบบปกหนังสือ ด้วยการรวบรวม 150 ผลงานหนังสือปกสวยมาจัดแสดง
3. บูธ A15 : Book Lab
ไฮไลท์ของกิจกรรม
อาทิเช่น กิจกรรมคุยการบ้านการเรือนกับข้าวกับแขกโดยโดย คุณแขก คำผกา และคุณจิ๊ป วีรนันท์ กัณหา, เขียนเป็นเงินกับ แสตมป์เบอรี่ เป็นต้น
4. บูธ A35 กิจกรรม Kids Wall Painting & Book Swap : เป็นกิจกรรมที่หนูน้อยมาช่วยกันแต่งแต้มสีสันให้กับผนังการ์ตูนทั้งยังมี การแลกเปลี่ยนหนังสือให้นักอ่านได้มีโอกาสแบ่งปันหนังสือดีให้กับเพื่อนนักอ่านที่ชื่นชอบในแนวเดียวกัน
5. บูธ R02 Little Read Universe เรื่องอ่านของเด็ก เล็กเท่าจักรวาล : โดยให้ความสำคัญของการวางรากฐานการอ่านตั้งแต่ประถมวัย เป็นต้นไปเพื่อสร้างสังคมที่มีวัฒนธรรมการอ่านอย่างแข็งแรง
นิทรรศการประกอบไปด้วย
6. กิจกรรมเวทีพิเศษเชิญนักเขียนดังจากต่างประเทศ : เตรียมพบกับนักเขียนดังจากทั่วโลกที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานไม่ว่าจะเป็น จากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา จีนและนักเขียนไทย เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจใหม่ใหม่ให้กับนักอ่านและนักเขียนในประเทศไทย
7. Flash mob มหกรรมนักอ่าน@ สยาม: ปลุกกระแสก่อนวันงานหนังสือในวันเสาร์ที่ห้าตุลาคม 2567 เวลา 17:00 น. เป็นการรวมพลังของนักอ่านเพื่อสร้างความประหลาดใจและดึงดูดความสนใจของผู้คนในพื้นที่สาธารณะด้วยการรวมตัวกันของนักอ่าน การแสดงเต้นตลอดจนการเชิญชวนประชาสัมพันธ์