นายพูนเพิ่ม ไพทยวัฒน์ รองประธานมูลนิธิเชฟแคร์ส และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เชฟแคร์ส โปรเจกต์ จำกัด กล่าวว่า อุตสาหกรรมอาหารไทยนับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยบนเวทีโลก ด้วยความหลากหลายของวัตถุดิบ รสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ และภูมิปัญญาในการปรุงอาหารที่สั่งสมมาช้านาน ทำให้อาหารไทยเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนทั่วโลก และเป็นหนึ่งในสู่ Soft Power ที่สำคัญของประเทศ
ล่าสุด เชฟแคร์ส (CHEF CARES) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และพันธมิตรสนับสนุนการจัดกิจกรรม "Thailand reception" ภายใต้ธีมงาน Nourishing The Future For All
โดยจะจัดเตรียมอาหารสำหรับรองรับผู้นำและผู้บริหารสูงสุดของภาคเอกชนที่จะเข้าร่วมการประชุมสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum : WEF) ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 22 มกราคม 2568 นี้ ประมาณ 500-600 คน
Thailand reception ที่จัดขึ้นจะเป็นเวทีสำคัญและครั้งแรกในการเผยแพร่วัฒนธรรมอาหารไทยสู่สายตาชาวโลก สอดคล้องกับเป้าหมายของ Chef Cares และความร่วมมือของภาคเอกชน 10 แห่ง พร้อมด้วยกระทรวงต่างประเทศ คาดว่าจะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเวทีโลก
งานครั้งนี้ Chef Cares ร่วมกับเชฟชั้นนำผลักดันวัฒนธรรมอาหารไทย สู่ Soft Power ระดับโลก ขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริม Soft Power ด้านอาหารของประเทศสู่สายตาทั่วโลกว่าอาหารไทยมีความหลากหลาย มีประโยชน์ อาหารเป็นยา มีภูมิปัญญา อีกทั้งไทยยังเป็นผู้นำในการพัฒนานวัตกรรมอาหาร ในฐานะครัวของโลก
ไม่เพียงแต่เป็นการต้อนรับแขก แต่ยังเป็นการนำเสนอเอกลักษณ์วัฒนธรรม ผ่านวัตถุดิบ และนวัตกรรมการทำอาหารที่สืบทอดสู่รุ่นหลัง โดยเชฟผู้มากฝีมือได้ตีความรสชาติและกลิ่นอายของไทยออกมาเป็นประสบการณ์ให้กับผู้เข้าร่วมงาน ซึ่งแบ่งเป็น 3 หัวข้อ ได้แก่
1. ความหลากหลาย ไม่เพียงแต่ความหลากหลายทางรสชาติและเมนู แต่ยังรวมถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่สะท้อนผ่านอาหารแต่ละจาน ทำให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์และความลึกซึ้งของอาหารไทย
2. เวลเนสและภูมิปัญญา คุณค่าทางสุขภาพของอาหารไทยที่สืบทอดมาจากภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรและวัตถุดิบที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งเป็นจุดแข็งที่สามารถนำมาต่อยอดและพัฒนาได้
3. นวัตกรรม มองเห็นโอกาสในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้กับวัตถุดิบไทย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายตลาดสู่ระดับสากล โดยมีการยกตัวอย่างวัตถุดิบที่ได้รับการพัฒนา เช่น ไก่อวกาศ กุ้งแปซิฟิก และผลิตภัณฑ์จากพืช
นายชุมพล แจ้งไพร ประธานอนุกรรมการคณะกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านอาหาร และ กรรมการยุทธศาสตร์ ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ กล่าวว่า เมนูอาหารไทยยอดนิยม ICONIC THAI DISHES ที่เตรียมจะนำเสนอ ประกอบไปด้วย ก๋วยเตี๋ยว ส้มตำส้มตำไก่ย่างสไตล์ไทย น้ำพริกอ่องใส่มะเขือเทศ ข้าวเหนียว กะเพราหมู แกงเขียวหวานไก่ แกงมัสมั่นเนื้อแกะ ต้มยำกุ้งสมุนไพร ม้าฮ่อ แตงโมปลาแห้ง ไก่กอ โรลปลาสมุนไพรกับซอสมะเขือเทศ และลาบเนื้อใส่สมุนไพร
ภายในงานนี้นายกรัฐมนตรีแพทองธารจะเดินทางไปร่วมและขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษ ทางเราจึงได้เตรียมสาธิตการปรุงต้มย้ำกุ้งน้ำข้น และต้มยำกุ้งน้ำใส เป็นซึ่งเป็นเมนูที่เพิ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรม โดย UNESCO เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ไปนำเสนอต่อทั่วโลกด้วย
"ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการส่งออกกุ้งมากที่สุดในโลก โดยมีการส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์จากกุ้งเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมอาหารไทย กุ้งไทยได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศเนื่องจากคุณภาพที่สูงและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์
การส่งออกกุ้งของไทยไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศ แต่ยังเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมอาหารไทยไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะในรูปแบบของอาหารที่มีชื่อเสียง เช่น ต้มยำกุ้ง"
โดยอาหารไทยสามารถเป็นตัวเชื่อมที่สำคัญในการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยไปยังทั่วโลก โดยเฉพาะในด้านการสร้างความเข้าใจและการเชื่อมโยงระหว่างประเทศต่างๆ ผ่านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและอาหาร ซึ่งอาหารไทยมีความหลากหลายและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ช่วยสร้างความสนใจและความรักในอาหารไทยจากผู้คนทั่วโลกได้
ในอนาคต อาหารไทยมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็น "ฟิสเจอร์ฟู้ด" (Future Food) หมายถึงอาหารที่มีฟังก์ชันนัลฟู้ดหรืออาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการใช้สมุนไพรและวัตถุดิบที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงในอาหารไทย
การพัฒนาอาหารไทยให้เป็นฟิสเจอร์ฟู้ดจะช่วยตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพและความยั่งยืนในอนาคต โดยการนำเสนออาหารที่ไม่เพียงแต่อร่อย แต่ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ จึงมีโอกาสที่จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างอนาคตที่ดีขึ้นในด้านสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน
การสร้างซอฟต์พาวเวอร์ให้กับวัตถุไทยสามารถทำได้หลายวิธี โดยเฉพาะผ่านการใช้วัตถุดิบอาหารไทยที่มีเอกลักษณ์และเป็นที่รู้จักในระดับสากล เช่น ข้าวเหนียวมะม่วง เป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ตัวอย่างการสร้างซอฟต์พาวเวอร์สามารถทำได้คือ
1. การสร้างผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบไทย เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ที่แช่แข็งหรือทำเป็นไอศกรีม เพื่อให้เข้าถึงและเข้าใจง่ายขึ้นสำหรับผู้บริโภคต่างชาติ.
2. การจัดกิจกรรมที่เน้นการทำอาหารไทย เช่น Deconstruction (แยกองค์ประกอบ) ที่ให้ผู้เข้าร่วมได้สัมผัสกับการทำอาหารไทยในรูปแบบที่หลากหลายและมีความสนุกสนาน
3. ให้ความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบและภูมิปัญญาในการทำอาหารไทย ผ่านการสื่อสารและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหารไทย เพื่อให้ผู้คนเข้าใจถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมและสุขภาพของอาหารไทย
4. การใช้ Soft Power ของอาหารไทยในการเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมไทย เช่น การจัดงานเทศกาลอาหารไทยในต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมและสร้างความสนใจในอาหารไทย
ด้วยวิธีการเหล่านี้ อาหารไทยสามารถเป็นตัวเชื่อมที่สำคัญในการสร้างSoft Power ให้กับวัตถุไทยและเผยแพร่วัฒนธรรมไทยไปยังทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ