วันตรุษจีน เยาวราช จัดเต็ม ทรงอย่างแบด หมีเซี๊ยะ เยิ่น ต๊ะ หัว

22 ม.ค. 2566 | 05:46 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ม.ค. 2566 | 00:47 น.

วันตรุษจีน จัดเต็มกิจกรรมงานตรุษจีน เยาวราช 2566 พบกับการแสดงศิลปิน ขวัญใจวัยรุ่นฟันน้ำนม เพลงฮิต ทรงอย่างแบด พร้อมพบนักแสดงดังชาวฮ่องกง หมีเซี๊ยะ เยิ่น ต๊ะ หัว

เทศกาลตรุษจีนเยาวราช ประจำปี 2566 วันตรุษจีน วันที่  22 มกราคม 2566 เวลา 18.00 น. จัดเต็มกิจกรรมเพียบ ไม่ว่าจะเป็น การแสดงสิงโต 5 เผ่าพันธุ์ และมังกรปีนเสา

 

รวมไปถึงการแสดงจากศิลปิน วงเปเปอร์ เพลนส์ ร็อกขวัญใจวัยรุ่นฟันน้ำนม กับเพลงฮิตติดปาก ทรงอย่างแบด

ทรงอย่างแบด

 

โดยกลุ่มศิลปิน paper planes ได้ร้องเพลงจำนวน 2 เพลง “ทรงอย่างแบด (Bad boy)” และ “เสแสร้ง” เรียกเสียงกรี๊ดจากกลุ่มวัยรุ่นฟันน้ำนม และผู้ปกครองกระหึ่มถนนเยาวราช 

ขณะที่ร้องเพลง “เสแสร้ง” ได้มีสิงโตขึ้นร่วมแสดงบนเวที ได้รับเสียงฮือฮาจากผู้ชม

 

พร้อมพบกับนักแสดงและ Infuencer ชื่อดังชาวฮ่องกง ได้แก่ หมีเซี๊ยะ ,โรเจอร์ วู , เยิ่น ต๊ะ หัว

 

เทศกาลตรุษจีนเยาวราช 2566

หมีเซี๊ยะ-เยิ่น ต๊ะ หัว

การจัดกิจกรรมตรุษจีนเยาวราช 2566 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) จัดกิจกรรมการประดับไฟ เนรมิตบรรยากาศแต่งแต้มสีสันแห่งสิริมงคลรับปีใหม่จีน ภายใต้แนวคิด “สิริมงคล รุ่งเรือง โชคดี ปีกระต่าย” จัดซุ้มอุโมงค์ไฟความยาว 45 เมตร และโคมไฟประดับถนนกว่า 500 โคม บริเวณย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร ถนนสายวัฒนธรรมชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ตรุษจีน เยาวราช

โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมการตกแต่งประดับไฟในเทศกาลตรุษจีน จนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 18.00 - 24.00 น. ณ ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (วงเวียนโอเดียน) และถนนเยาวราช

นอกจากนี้ ยังมีการออกบูธจัดกิจกรรมจัดแสดงนิทรรศการแหล่งท่องเที่ยวชุมชนชาวจีน ความเป็นมาการจัดงานตรุษจีนในประเทศไทย การทำนายและเสริมสิริมงคลชีวิตรับปีใหม่จีนตามหลักโหราศาสตร์จีน ในวันที่ 22-23 มกราคม 2566 บริเวณถนนเยาวราช

ทั้งนี้ ปี 2566 ตรงกับปีนักษัตรปีเถาะ จึงขอเชิญชวนประชาชนร่วมชมกระต่ายแกะสลักหินอ่อนสูง 1.8 เมตร หนัก 1.8 ตัน ตั้งอยู่บริเวณซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา ซึ่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในปี พ.ศ.2554

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ 84 พรรษา แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดี และความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีมาอย่างยาวนาน