ทีเส็บติดปีก"เชียงราย"สู่เป้าหมายไมซ์เมืองเหนือ 

09 พ.ค. 2566 | 05:53 น.
อัปเดตล่าสุด :09 พ.ค. 2566 | 08:31 น.

ทีเส็บนำทีมหนุนศักยภาพไมซ์เชียงราย ผลักดันกิจกรรมประชุม งานแสดงสินค้าและนิทรรศการ เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจพื้นที่ ชี้ 3 โครงการปีนี้เป็นฐานรากสำคัญ 

นายภูริพันธ์ บุนนาค รองผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ  นายสุวัชชัย นิมมานเทวินทร์ ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ภาคเหนือ และทีมทีเส็บภาคเหนือ ได้เข้าร่วมการประชุมจัดทำเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด 20 ปีของจังหวัดเชียงราย ซึ่งมีนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุมฯ เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2566 ณ โรงแรมเชียงราย แกรนด์รูม จังหวัดเชียงราย 

โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ ระดมข้อเสนอแนะและความคิดเห็นจากภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคราชการ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยจะนำไปเป็นกรอบการจัดทำเป้าหมายและแผนพัฒนาจังหวัดเชียงราย ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2566-2585 ประกอบด้วยการพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านความมั่นคง 

ทีเส็บติดปีก\"เชียงราย\"สู่เป้าหมายไมซ์เมืองเหนือ 

 

ทีเส็บติดปีก\"เชียงราย\"สู่เป้าหมายไมซ์เมืองเหนือ 

ทีเส็บได้นำเสนอแนวทางการทำงานของทีเส็บตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการใช้กิจกรรมการประชุม งานแสดงสินค้าและงานเทศกาล เป็นกลไกตอบสนองเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ทั้งระดับพื้นที่และระดับภาค โดยเฉพาะการลดความเหลื่อมล้ำ กระจายความเจริญจากจุดแข็งของพื้นที่ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ภาคในการพัฒนาฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเชื่อมโยงภูมิภาค ซึ่งจะมีสำนักงานภูมิภาคเป็นหน่วยหลักขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ในพื้นที่ภาคเหนือ ผ่านโครงการต่าง ๆ ที่จะพัฒนา ทำตลาด และส่งเสริมการขายพื้นที่ที่มีศักยภาพ อาทิ โครงการไมซ์สร้างสรรค์รวมพลังชุมชน เส้นทางสายไมซ์ รวมทั้งการสนับสนุนในรูปแบบงบประมาณ (in cash) หรือการสนับสนุนในรูปแบบความร่วมมือด้านต่าง ๆ (in kind) เพื่อสร้างฐานไมซ์อย่างยั่งยืนในอนาคต

ทั้งนี้ จังหวัดเชียงรายถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ศักยภาพของทีเส็บภาคเหนือ ซึ่งที่ผ่านมาทีเส็บได้มีการทำงานบูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการสำคัญระดับภาค เช่น  การนำพืชเศรษฐกิจของจังหวัดมาสร้างมูลค่าเพิ่ม ผ่านงานประชุมและแสดงสินค้า คือ งาน World Tea & Coffee Expo ซึ่งริเริ่มเป็นครั้งแรกในจังหวัดเชียงราย ร่วมกับสถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมชาและกาแฟในภาคเหนือ พัฒนาและประชาสัมพันธ์เส้นทางชากาแฟเชียงราย เพื่อส่งเสริมการตลาดไมซ์

ทีเส็บติดปีก\"เชียงราย\"สู่เป้าหมายไมซ์เมืองเหนือ 

ทีเส็บติดปีก\"เชียงราย\"สู่เป้าหมายไมซ์เมืองเหนือ 

ส่งเสริมงานไมซ์ชุมชนเพื่อกระจายรายได้ นำชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมไมซ์ และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงตลาดนักเดินทางคุณภาพ เช่น จัดทำโครงการไมซ์สร้างสรรค์รวมพลังชุมชน คัดเลือกสถานที่ภายใต้ MICE 7 Themes และชุมชนที่เหมาะสำหรับการจัดกิจกรรมไมซ์ รวมทั้งสิ้น 16 แห่งในจังหวัดเชียงราย

รวมทั้งร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน ในการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตลาดนักเดินทางไมซ์คุณภาพสูง เช่น ร่วมสร้างงานใหม่ เพื่อย้ำจุดขายการเป็นเมืองศิลปะและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับสากล ผ่านการสนับสนุนนิทรรศการแสงไฟ กลไก และภาพเงา หรือ Light of Life ณ อุทยานศิลปวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง ซึ่งเป็นสถานที่หนึ่งใน MICE 7 Themes และได้รับรองมาตรฐาน Thailand MICE Venue Standard (TMVS) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่ง ในการสร้างเชียงรายให้เป็นจุดหมายปลายทางไมซ์อย่างยั่งยืนด้วย

ทีเส็บติดปีก\"เชียงราย\"สู่เป้าหมายไมซ์เมืองเหนือ 

ในปีนี้ ทีเส็บภาคเหนือยังคงเดินหน้าพัฒนาศักยภาพด้านไมซ์ของจังหวัดเชียงรายอย่างต่อเนื่อง โดยจะร่วมกับสถาบันชาและกาแฟแห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงดำเนินโครงการต่อยอดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ชา กาแฟ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมชา กาแฟ และขับเคลื่อนเมืองแห่งชา-กาแฟของจังหวัดเชียงราย ขยายผลสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมชา-กาแฟในภาคเหนือตอนบนให้เป็นรูปธรรม ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมมากยิ่งขึ้น กิจกรรมเด่นจะมีการจัดประชุมเครือข่ายชา-กาแฟ ประเทศไทย 2566 ในวันที่ 6 – 8 กรกฎาคม 2566 นี้ 

นอกจากนี้ ยังมีโครงการความร่วมมือระหว่างทีเส็บภาคเหนือ และภาคีเครือข่ายของเชียงราย ที่จะดำเนินโครงการทำการตลาดเมือง(Destination Marketing) โดยกำหนดจุดขายเมืองจากการทำ City DNA เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ที่ชัดเจนของเมือง พัฒนาจุดขาย ต่อยอดจากอัตลักษณ์ดังกล่าว ทำให้การตลาดมีความชัดเจน สามารถพัฒนางานไมซ์ที่สอดคล้องกับจุดขายของเมือง ส่งเสริมให้เชียงรายเป็นจุดหมายปลายทางหลัก สำหรับกิจกรรมไมซ์ที่เหมาะสมกับอัตลักษณ์ของเมือง โดยโครงการนี้จะเป็นการทำงานบูรณาการกับทุกภาคส่วนสำคัญของเมืองเชียงราย ในการระดมความเห็นค้นหาอัตลักษณ์เมืองร่วมกัน 

ยิ่งไปกว่านั้น ยังจะมีโครงการพัฒนาสินค้าและบริการที่ใช้ในกิจกรรมไมซ์ หรือ Product MICE Premium เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสินค้าและบริการในท้องถิ่น นำมาต่อยอดเป็นสินค้าและบริการที่ใช้ในกิจกรรมไมซ์ อาทิ ของว่าง อาหาร ของชำร่วย ของฝาก หรือของตกแต่งภายในโรงแรม เป็นการยกระดับศักยภาพสินค้าและบริการในท้องถิ่น นอกเหนือจากการพัฒนาความพร้อมด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ อีกด้วย

การริเริ่มดำเนินโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ Win Promote Develop ที่จะสร้างเสริมให้จังหวัดเชียงรายและภาคเหนือ เป็นจุดหมายปลายทางของกิจกรรมไมซ์ ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยมุ่งเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม ยกระดับขีดความสามารถของผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมไมซ์(MICE Ecosystem) เพื่อผลการพัฒนาและสร้างฐานอุตสาหกรรมไมซ์ในพื้นที่อย่างยั่งยืนนั่นเอง