วันนี้ (วันที่ 31 ธันวาคม 2566) สายการบินไทยสมายล์จะทำการบินวันสุดท้ายในวันนี้
เป็นวันสุดท้าย ปิดตำนาน 11 ปี สายการบินรอยยิ้มคู่ฟ้า ที่จะเข้ามาควบรวมกับการบินไทย ซึ่งเป็นไปตามแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจการบินของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการ ที่ได้ทยอยโอนเครื่องบินแอร์บัส A320 จำนวน 20 ลำของไทยสมายล์มารวมอยู่
ทั้งนี้สายการบินไทยสมายล์ (Thai Smile Airways - WE) จะทำการบินเที่ยวบินสุดท้ายในวันนี้ โดยตลอดทั้งในวันนี้ จะทำการบินใน 6 เส้นทางบิน ดังนี้
โดยเที่ยวบินสุดท้ายจะเป็นเที่ยวบิน WE047 เส้นทางหาดใหญ่ - กรุงเทพฯ มีกำหนดถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (BKK) ในเวลา 22.20 น. ทำการบินด้วยเครื่องบินแบบ Airbus A320-200
หลังจากนี้สายการบินไทยสมายล์จะโอนย้ายการปฏิบัติการบิน และบริการต่างๆ ไปยังการบินไทย ตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 เป็นต้นไป และเป็นการสิ้นสุดการให้บริการโดยสายการบินไทยสมายล์ ภายใต้รหัสเที่ยวบิน ‘WE‘ หลังเปิดบินมากว่า 11 ปี และการบินไทยจะกลับมาเปิดบินเส้นทางบินในประเทศอีกครี้งแทนไทยสมายล์
ทั้งนี้สายการบิน ไทยสมายล์จะทำการบินวันสุดท้ายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 จะมีทำตารางบินตามปกติตลอดทั้งวัน แต่จะมี 4 เส้นทางบินสุดท้ายของวันนี้ ที่ผู้บริหารของการบินไทย จะมีกิจกรรมเพื่ออำลาเที่ยวบินสุดท้ายของไทยสมายล์ ได้แก่
4 เส้นทางบินสุดท้ายของสายการบินไทยสมายล์
เที่ยวบินขาออกจากสนามบินสุวรรณภูมิ
เที่ยวบินขาเข้า สนามบินสุวรรณภูมิ ได้แก่
โดยใน 4 เส้นทางบินสุดท้ายของวันนี้ ผู้บริหารของการบินไทย จะมีกิจกรรมเพื่ออำลาเที่ยวบินสุดท้ายของไทยสมายล์
โดยมี นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ เป็นประธาน พร้อมด้วย นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทยฯ นายพลจักร นิ่มวัฒนา กรรมการบริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด และนายชัยยง รัตนาไพศาลสุข รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด พร้อมด้วยฝ่ายบริหารร่วมเดินทาง และร่วมต้อนรับผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ในโอกาสนี้ ฝ่ายบริหารได้ร่วมเดินทางไป-กลับ ในเที่ยวบินดังกล่าว พร้อมร่วมกิจกรรม พูดคุย ต้อนรับ และแจกของที่ระลึกผู้โดยสาร พร้อมกันนี้ ในทุกเที่ยวบินได้ให้บริการเมนูขนมหวานจานพิเศษ อาทิ เมนู Orange Cake, Fruit Cake, Mango Cheese Cake และ Banana Almond Cake
ภายใต้แนวคิด “One THAI One Fly” THAI Smile continues going forwards as THAI ส่งต่อการให้บริการเป็นหนึ่งเดียวจากไทยสมายล์สู่การบินไทย
อีกทั้งหลังจากวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เครื่องบิน การให้บริการ และเส้นทางบินของสายการบินไทยสมายล์ทั้งหมดจำนวน 20 ลำก็จะถูกโอนย้ายไปยังการบินไทย หลังจากก่อนหน้านี้ทยอยโอนมาแล้วบางส่วน ซึ่งกระบวนการควบรวมสายการบินทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2567
ปิดตำนาน 11 ปี สายการบินไทยสมายล์ ขาดทุน 2 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้กว่า 11 ปีที่ผ่านมาสายการบินไทยสมายล์ ดำเนินธุรกิจภายใต้บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด (ไทยสมายล์) จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อ 17 ต.ค.2556 ด้วยทุนจดทะเบียน 1,800 ล้านบาท ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่การบินไทยถือหุ้นอยู่ 99.99% ซึ่งเป็นสายการบินลูกที่ให้บริการเส้นทางภายในประเทศ และระหว่างประเทศในเส้นทางบินระยะสั้น
สายการบินไทยสมายล์เกิดขึ้นในสมัย 'ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์' เป็น DD การบินไทย ครม.มีนโยบายให้สร้างความชัดเจนระหว่าง Full Service Carriers และ Low Cost Carriers แต่เมื่อสายการบินเปิดให้บริการ ในช่วงหลังก็ปรับตำแหน่งทางการตลาดเป็นสายการบินสไตล์ Light Premium ที่มีสีสันความสดใส
ขณะที่ผลการดำเนินงานของไทยสมายล์ นับตั้งแต่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในปี 2556 ถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 มีผลการขาดทุนสะสมต่อเนื่องรวม 20,012 ล้านบาท และมีส่วนผู้ถือหุ้นติดลบจำนวน 18,166 ล้านบาท และมีความเสี่ยงในการขาดสภาพคล่องในการดำเนินกิจการตั้งแต่เดือนเมษายน 2566 เป็นต้นไปหากไม่ได้รับการช่วยเหลือจากการบินไทย
การบินไทยจึงโอนพนักงานของสายการบินไทยสมายล์ ที่มีอยู่ราว 800 คน เข้ามาเป็นพนักงานของการบินไทย โดยการโอนย้ายที่เกิดขึ้นจะไม่กระทบต่อโครงสร้างค่าตอบแทน สภาพการจ้าง และอายุงานของพนักงานแต่อย่างใด
รวมถึงโอนสิทธิบริหารฝูงบิน 20 ลำ การบินไทยจะต้องดำเนินการแจ้งไปยังสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หรือ CAAT และกระทรวงคมนาคม ซึ่งเมื่อโอนเครื่องบินทั้งหมดกลับมาที่การบินไทยแล้ว ก็ต้องยกเลิกใบอนุญาตประกอบกิจการการเดินอากาศ (AOL) ซึ่งจะส่งผลให้รหัสการบินภายใต้โค้ด WE ของสายการบินไทยสมายล์สิ้นสุดลง ประกอบกับใบอนุญาตของไทยสมายล์ก็มีกำหนดหมดอายุในเดือนมกราคม 2567 ด้วยเช่นกัน
หลังการปรับโครงสร้างดังกล่าว จะส่งผลให้อัตราการใช้งานเครื่องบิน A 320 เฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นจาก 8.92 ชั่วโมงต่อวัน เป็น 11.28 ชั่วโมงต่อวัน ภายในปี 2568
ขณะที่อัตราการใช้งานเครื่องบินในฝูงบินของการบินไทยรวมทุกแบบอากาศยานจะปรับตัวสูงขึ้นจาก 11.18 ชั่วโมงต่อวัน เป็น 11.52 ชั่วโมงต่อวัน ในช่วง 6 เดือนแรก และปรับตัวสูงขึ้นเป็น 12.76 ชั่วโมงต่อวัน ภายในปี 2568 และมีผลตอบแทนจากการจำหน่ายบัตรโดยสารต่อหน่วย เพิ่มขึ้นจาก 2.23 บาทเป็น 2.27 บาทส่งผลให้การบินไทยมีผลประกอบการในภาพรวมช่วงปี 2566-2568 ปรับตัวสูงขึ้น
นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่่บริหาร บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าการปรับโครงสร้างดังกล่าวเป็นแนวทางที่ดีที่สุด ทั้งของการบินไทยและสายการบินไทยสมายล์ ซึ่งขั้นตอนการโอนเครื่องบินแอร์บัส A320 จำนวน 20 ลำ มารวมเป็นฝูงบินของการบินไทย จะแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2567
สาเหตุหลักที่การบินไทยยุบสายการบินไทยสมายล์
1.เป็นการใช้ทรัพย์สินอย่างมีมูลค่ามากขึ้น
2.ทำให้มีอำนาจในการต่อรองกับเวนเดอร์ ในการซื้อบริการต่างๆ ที่จะมีเพิ่มขึ้น เพราะขนาดธุรกิจของไทยสมายล์ คิดเห็น 10% ของการบินไทย การปรับโครงสร้างนี้ก็จะทำใหมีการใช้ซัพพลายต่างๆใช้ร่วมกันได้
3. แก้ปัญหาการขาดทุนของไทยสมายล์ ซึ่งที่ผ่านมาการบินไทย และไทยสมายล์ ถือใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศAir Operator Certificate หรือ AOC คนละบริษัท ทำให้การบินไปบางประเทศทำไม่ได้ เพราะมีเรื่องของสิทธิการบิน และไทม์สล็อตที่ไม่สามารถโอนข้ามกันได้
ส่งผลให้ไทยสมายล์มีการใช้งานเครื่องบินไม่ถึง 9 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยสูง ขณะที่การบินไทยใช้เครื่องบิน(Aircraft Utilization) อยู่ที่ 12-13 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้นถ้าแบ่งเครื่องบินลำตัวแคบของไทยสมายล์มาให้การบินไทยใช้ทำการบิน การใช้ประโยชน์ของเครื่องบินต่อวัน จะเพิ่มขึ้นเป็น 11 ชั่วโมงกว่า ซึ่งสูงกว่าอยู่ที่ไทยสมายล์ 2 ชั่วโมงกว่าต่อวัน
ทำให้ต้นทุนต่อชั่วโมงลดลง 20 % แค่นี้ผลประกอบการ ที่ใช้เครื่องบินเอ 320 ก็จะดีขึ้นแล้ว เพราะการบินไทยมีไทม์สล็อต สามารถนำเครื่องบินที่จะรวมเข้ามา เพื่อนำมาใช้บินในตอนกลางคืนได้
อีกทั้งยังทำให้การบินไทยมีฝูงบินเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นเครื่องบินลำตัวแคบ จากปัจจุบันที่การบินไทยมีเฉพาะเครื่องบินลำตัวกว้างที่ให้บริการได้เพียง 45 ลำ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการบริหารเส้นทางบินให้เชื่อมต่อกัน บริหารเวลาการบินและสิทธิการบินในเส้นทางการบินต่างๆเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการจำหน่ายบัตรโดยสารในรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายเที่ยวบิน ( Network Sale) และเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันด้านการบริหารจัดการต้นทุน