วันนี้(วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566) นางเฉิดโฉม เทอดสถีรศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายการเงินและการบัญชี บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) ได้แจ้งงบการเงินของบริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับงวดไตรมาส 3 ปี 2566 และงวด 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 แก่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) โดยมีสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
ผลการดำเนินงานของการบินไทยไตรมาส 3 ปี2566
ส่งผลให้ผลประกอบการ งวด 9 เดือนแรกปี 2566 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 แก่ การบินไทยพลิกมากำไร 16,313,537 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนอยู่ 11,252,542 ล้านบาท
รายละเอียดผลประกอบการไตรมาส 3 ปี2566 ของบริษัทการบินไทยฯและบริษัทย่อย
บริษัทการบินไทยและบริษัทย่อยกำไรจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงินไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 7,719 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 3,799 ล้านบาท
โดยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 37,008 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 4,148 ล้านบาท (12.6%) สาเหตุหลักจากรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 6,458 ล้านบาท (26.4%) โดยบริษัทฯ ได้เพิ่มความถี่เที่ยวบินในเส้นทางบินยอดนิยม
นอกจากนี้บริษัทฯ มีรายได้จากกิจการอื่น เพิ่มขึ้น 232 ล้านบาท (12.5%) ซึ่งหน่วยธุรกิจส่วนใหญ่มีรายได้เพิ่มขึ้นจากจำนวนผู้โดยสารของสายการบินลูกค้าเพิ่มขึ้น โดยมี ค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 29,289 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 349 ล้านบาท (1.2%) ส่วนหนึ่งเกิดปริมาณการผลิตและ/หรือ ปริมาณการขนส่งที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับมีค่าใช้จ่ายคงที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 บริษัทการบินไทย และบริษัทย่อยมีเครื่องบินที่ใช้ทำการบินทั้งสิ้น 68 ลำ ในไตรมาส ที่ 3 ปี 2566 มีอัตราการใช้ประโยชน์ของเครื่องบิน 12.1 ชั่วโมง มีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) เพิ่มขึ้น 21.5% มีปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) เพิ่มขึ้น 22.0%
โดยมีอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 77.3% สูงกว่าปีก่อนซึ่งเฉลี่ยที่ 77.0% มีจำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่งรวมทั้งสิ้น 3.27 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 22.0%
ขณะเดียวกันในช่วงไตรมาส 3 ปี 2566 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ยังคงดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ทั้งการหารายได้จากการขนส่งที่มีการเดิบโตอย่างมีนัยสำคัญ การปรับปรุงประสิทธิภาพฝูงบิน
และการหาประโยชน์จากทรัพย์สินรองที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งไม่มีการผิดนัดชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการแต่ประการใด
การดำเนินตามแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทย
ในไตรมาสนี้มีการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่
เพิ่มจุดบินและความถี่เพื่อรองรับการเติบโตของปริมาณความต้องการ เดินทาง (Demand) ของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ในเส้นทางซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น
รับมอบเครื่องบินแบบ A350-900 จำนวน 1 ลำ ซึ่งจะเริ่มทำการบินตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ในเส้นทางสู่ประเทศจีน เพื่อรองรับนโยบาย Free Visi ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season) และเพื่อขยายฝูงบินให้รองรับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบิน
รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างรายได้ให้กับบริษัทฯ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการ บริหารจัดการต้นทุนให้สามารถแข่งขันได้ท่ามกลางสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
การบินไทยได้ขายเครื่องบินแบบ B747-400 จำนวน 2 ลำ และ A340-68) จำนวน 1 ลำ รวมทั้งเครื่องยนต์อะไหล่ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว จำนวน 1 เครื่องยนต์ ซึ่งส่งมอบให้กับผู้ซื้อแล้ว
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ ได้แก่ บ้านพักกรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และสำนักงานขายมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ซึ่งบริษัทฯ ได้รับเงินครบถ้วนและได้โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อแล้ว
บริษัทฯ รับโอน เครื่องบิน A320-200 จากบริษัท ไทยสมายล์ฯ เพิ่มอีกจำนวน 3 ลำ รวมเป็น 6 ลำ เพื่อเตรียมทำการบินในเส้นทาง ระหว่างประเทศของบริษัทฯ ได้แก่ เดล, มุมไบ, ธากา รวมถึงกัลกัตตา (เริ่มบินตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป)
บริษัทฯ ยังทำการบินทดแทนสายการบินไทยสมายล์ ในเส้นทางย่างกุ้ง, เวียงจันทน์, พนมเปญ, อาห์เมคา บัด รวมถึงเกาสงและปีนัง (เริ่มบินตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป)
การบินไทยจะทยอยรับโอนอากาศยานจน ครบ 20 ลำ ภายในไตรมาส 1 ของปี 2567 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการอากาศยานได้อย่างเหมาะสม สามารถวางแผนและพัฒนาเครือข่ายเส้นทางบิน และจัดเที่ยวบินให้ครอบคลุมความต้องการของผู้โดยสารใน ภาพรวมได้ดียิ่งขึ้น โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการแก่ผู้โดยสาร
ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีสินทรัพย์รวมจำนวน 234,290 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากวันที่ 31 ธันวาคม 2565 จำนวน 36,112 ล้านบาท (18.2%) หนี้สินรวมมีจำนวน 288,996 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 จํานวน 19,794 ล้านบาท (7.4%) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ติดลบ จํานวน 54,706 ล้านบาท ติดลบลดลงจากวันที่ 31 ธันวาคม 2565 จำนวน 16,318 ล้านบาท