วันนี้ (วันที่ 16 เมษายน 2567) นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ภาพรวมการจัดงาน Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567 ที่ถนนราชดำเนินกลางและพื้นที่ท้องสนามหลวงกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 11-15 เมษายน 2567 มีจำนวนผู้เข้าร่วมงาน 784,883 คน แบ่งเป็น
โดยมีกระแสเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 2,886.82 ล้านบาท รัฐบาลสามารถมีรายได้จากการเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 742 ล้านบาท
การจัดงานสงกรานต์สนามหลวง 2567 ในครั้งนี้นับว่าประสบความสำเร็จ โดยได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีผู้เข้าร่วมงานเกินกว่าเป้าหมายมาก ซึ่งผลการสำรวจความพึ่งพอใจในการเข้าร่วมงานของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติอยู่ในระดับมากที่สุด
ส่วนกระแสเงินหมุนเวียนทางตรงในงานกว่า 950 ล้านบาท ที่ใช้จ่ายไปยังอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งร้านอาหารเครื่องดื่ม ค่าใช้จ่ายการเดินทาง ที่พักโรงแรม ของฝากของที่ระลึก กิจกรรมบันเทิงต่างๆ และสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจทางอ้อมอีกกว่า 1,935 ล้านบาท รวมเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ จากการจัดงานครั้งนี้กว่า 2,886.82 ล้านบาท หรือคิดเป็น 30.72 เท่าของงบประมาณที่ใช้ไป
นอกจากนั้น มีการสร้างรายได้ให้กับร้านค้ารายย่อย หาบเร่แผงลอยกว่า 500 ร้านค้า เกิดการจ้างงานและเพิ่มรายได้ให้อาชีพรับจ้างกว่า 2,000 คน
เกิดกระแสโลกออนไลน์ในการพูดถึงการจัดงานในสื่อโซเชียลที่แสดงกิจกรรมสนุกต่างๆภายในงาน มีภาพที่สื่อออกไปที่สวยงามของพระบรมมหาราชวัง และท้องสนามหลวง สร้างการรับรู้และความตื่นตัวให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ออกมาเที่ยวชมงานมากกว่า 3 เท่าของเป้าหมายที่วางไว้และมีความชื่นชมในการจัดงานในระดับมากที่สุด
ส่วนรูปแบบการจัดงาน
การเลือกพื้นที่สนามหลวงซึ่งเป็น Iandmark ของประเทศ เป็นพื้นที่จัดงานมีความเหมาะสมเป็นอย่างมาก เนื่องจากภูมิทัศน์ บรรยากาศโดยรอบที่สะท้อนความเป็นไทยได้อย่างงดงาม ทำให้การตกแต่งสถานที่โดยรบสวยงาม ประกอบกับมีกิจกรรมดังกล่าว ทำให้ภาพสงกรานต์ของประเทศไทยดูยิ่งใหญ่และสะท้อนความเป็นไทยและมรดกไทยโดยแท้จริง สามารถสื่อสารภาพลักษณ์เชิงบวกต่อสายตาประชาชนชาวไทยและชาวโลก
นอกจากนั้นสนามหลวง
ยังเชื่อมโยงกับพื้นที่จัดกิจกรรมสงกรานต์อื่นๆ ของกรุงเทพมหานคร อาทิ ถนนข้าวสาร ถนนพระอาทิตย์ ย่านบางลำพู ถนนราชดำเนิน ที่สามารถเดินทางเชื่อมต่อได้สะดวก โดยประชาชนมีความชื่นชอบและชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง
กิจกรรมกายในงานมีความหลากหลาย สามารถรองรับกลุ่มเฝ้าหมายทุกช่วงวัย ได้เป็นอย่างดี ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศสามารถมีส่วนร่วมกับกิจกรรมได้ตามความชื่นชอบ ซึ่งมีการแยกโซนกิจกรรมไว้อย่างชัดเจนการอกแบบกิจกรรมการสแสดงในทุกเวมีความต่อเนื่อง
การนำเสนอของแต่ละโชว์ที่กำหนดขึ้นได้รับความสนใจ การวางโปรแกรมสามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมงานเนืองแน่นได้อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการจัดงาน วิธีการนำเสนอัตลักษณ์ความเป็นไทย โดยผสมผสานความดั้งเดิมและความร่วมสมัยได้อย่างลงตัว สามารถสร้างการตื่นรู้และการรับรู้ของผู้ร่วมงานในการตระหนักถึงคุณค่าวัฒนธรรมและประเพณีและมีบทนาททางสังคมได้เป็นอย่างดี
ขบวนพาเหรดโดยรวมมีความยิ่งใหญ่อลังการ สวยงามดึงดูดความสนใจจากผู้ร่วมงานอย่างเนืองแน่น ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน และมีการแห่รอบท้องสนามหลวง ในวันที่ 12 เมษายน สร้างความสนใจและความสนุกสนานให้ผู้ร่วมงานได้เป็นอย่างดี โดยมีการจอดแสดงโชว์เพื่อให้นักท่องเที่ยวชื่นชมถ่ายรูปตลอดการจัดงาน
ส่วนความเข้มงวดของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย การบริการของเจ้าหน้าที่ทุกจุด รวมถึงเจ้าหน้าที่ดำเนินกิจกรรมแต่ละโซน มีความกระตือรือร้นในการบริการ
การอำนวยความสะดวกและให้ข้อมูลด้วยการเข้าร่วมของนักท่องเที่ยวจำนวนมากกว่าเป้าหมายที่วางไว้มาก ทำให้สิ่งอำนวยความสะดวกที่รองรับ
ทั้งห้องน้ำ รถรับส่ง ปริมาณร้านอาหาร ไม่เพียงพอ
ข้อสังเกต การดำเนินงาน
จากกระแสการตอบรับของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ที่มีการชื่นชมการจัดงานเห็นสมควรอยากให้จัดและอยากให้ใช้สนามหลวงเป็นพื้นที่จัดงานครั้งต่อไปอีก
การวางผังจัดกิจกรรม ที่สามารถใช้ประโยชน์จากทัศนียภาพให้อลังการมากยิ่งขึ้นและการวางผังภายในงานให้รองรับการไหลเวียน
ของนักท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบภายในพื้นที่ เพื่อความสะดวกในการควบคุมและบริหารจัดการในพื้นที่ตลอดจนเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการอื่นๆ รองรับได้อย่างเหมาะสม
กิจกรรมที่ควรเลือกเข้ามาในงาน ควรมุ่งเน้นกิจกรรมที่สร้างความสุขและความสนุกสนาน กินเที่ยวเป็นสำคัญไม่เน้นงานช้อปปิ้งหรืองานแฟร์ โดยควรมีเครื่องละเล่นหรือการละเล่นต่างๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม
นอกจากนี้ททท. ได้บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายในงาน โดยได้ร่วมมือกับกรุงเทพมหานครและบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC จัดการแยกประเภทขยะ และจัดการขยะจากพลาสติกและขวดน้ำดื่มด้วยกิจกรรม Upcycling โดยการนำฝาขวดน้ำดื่มมา DIY นำกลับมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีค่าและนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ซึ่งทำให้สามารถร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปได้ถึง 4,732.43 (kgCO2eq) หรือเทียบเท่าการดูดซับก๊าซ Co2 ของต้นไม้ 380.18 ต้นต่อปี