ท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล 2567 เช็กเงื่อนไข

04 มิ.ย. 2567 | 07:56 น.
อัปเดตล่าสุด :04 มิ.ย. 2567 | 08:32 น.

ท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด รัฐบาลประกาศ มาตรการลดหย่อนภาษีนิติบุคคล 2567 ในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว Low Season ตรวจสอบสิทธิที่จะได้ลดหย่อนภาษี

รัฐบาลประกาศมาตรการลดหย่อนภาษี 2567 เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในเมืองรองและจังหวัดท่องเที่ยวอื่นๆ ในช่วง Low Season ระหว่างเดือนพฤษภาคม – พฤศจิกายน 2567 หนึ่งในนั้นคือ มาตรการภาษีกระตุ้นท่องเที่ยวเมืองรอง สำหรับบุคคลธรรมดา นำค่าบริการท่องเที่ยว ค่าที่พักในเมืองรอง หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้ไม่เกิน 15,000 บาท รัฐบาลยังได้ประกาศมาตรการลดหย่อนภาษี 2567 สำหรับนิติบุคคลธรรมดา เช่นเดียวกัน 

 

ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล 2567 ในพื้นที่เมืองรอง รายละเอียดดังนี้

นิติบุคคลสามารถนำรายจ่ายค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนาภายในประเทศที่จัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง หรือค่าบริการของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวเพื่อการอบรมสัมมนาดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม - 30 พฤศจิกายน 2567 หักเป็น

รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้

  1. หักรายจ่ายได้ 2 เท่า สำหรับการอบรมสัมมนาที่จัดใน “จังหวัดท่องเที่ยวรอง” หรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
  2. หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่า สำหรับการอบรมสัมมนาที่จัดในท้องที่อื่นนอกจากท้องที่ตามข้อ 1 
  3. ในกรณีที่การสัมมนาเกิดขึ้นในท้องที่ตามข้อ 1 และข้อ 2 ต่อเนื่องกัน ให้หักรายจ่ายที่สามารถแยกได้ว่าเกิดขึ้นในท้องที่ใดตามข้อ 1 หรือข้อ 2 และถ้าแยกไม่ได้ให้หัก 1.5 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง

 

มาตรการลดหย่อนภาษีนิติบุคคล 2567 ต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt)

 

ท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล 2567

รายชื่อ 55  เมืองรอง รับสิทธิลดหย่อนภาษีนิติบุคคล 2567 ดังนี้

ภาคเหนือ 16 จังหวัด

  • เชียงราย
  • พิษณุโลก
  • ตาก
  • เพชรบูรณ์
  • นครสวรรค์
  • สุโขทัย
  • ลำพูน
  • อุตรดิตถ์
  • ลำปาง
  • แม่ฮ่องสอน
  • พิจิตร
  • แพร่
  • น่าน
  • กำแพงเพชร
  • อุทัยธานี
  • และพะเยา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด

  • อุดรธานี
  • อุบลราชธานี
  • หนองคาย
  • เลย
  • มุกดาหาร
  • บุรีรัมย์
  • ชัยภูมิ
  • ศรีสะเกษ
  • สุรินทร์
  • สกลนคร
  • นครพนม
  • ร้อยเอ็ด
  • มหาสารคาม
  • บึงกาฬ
  • กาฬสินธุ์
  • ยโสธร
  • หนองบัวลำภู
  • และอำนาจเจริญ

ภาคกลาง - ภาคตะวันออก - ภาคตะวันตก 12 จังหวัด

  • ลพบุรี
  • สุพรรณบุรี
  • นครนายก
  • สระแก้ว
  • ตราด
  • จันทบุรี
  • ราชบุรี
  • สมุทรสงคราม
  • ปราจีนบุรี
  • ชัยนาท
  • อ่างทอง
  • และสิงห์บุรี

 ภาคใต้ 9 จังหวัด

  • นครศรีธรรมราช
  • พัทลุง
  • ตรัง
  • สตูล
  • ชุมพร
  • ระนอง
  • นราธิวาส
  • ยะลา
  • และปัตตานี.