นกแอร์ กลับมากำไรครั้งแรกในรอบ 9 ปี ซีอีโอ วุฒิภูมิ ยันสายการบินฟื้นตัวแล้ว

08 มิ.ย. 2567 | 10:33 น.

นกแอร์ ปลื้มผลประกอบการปี 2566 กลับมากำไรครั้งแรกในรอบ 9 ปี ซีอีโอ วุฒิภูมิ ยันสายการบินฟื้นตัวต่อเนื่อง แจงเป็นความสำเร็จในการเพิ่มรายได้ รวมถึงการลดรายจ่ายขององค์กร เป็นประเด็นสำคัญ

นายวุฒิภูมิ จุฬางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของ "นกแอร์" สายการบินของคนไทย คือ กลับมากำไรในรอบ 9 ปี ซึ่งเรามุ่งมั่นให้บริการตอบแทนความไว้ใจ

ทั้งนี้ผลการดำเนินงานของ บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) ประจำปี 2566 นกแอร์มีรายได้รวมทั้งสิ้น 8,750 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 1,283 ล้านบาท หรือ 17% ซึ่งปีนี้เป็นปีที่สายการบินนกแอร์ฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างต่อเนื่อง

วุฒิภูมิ จุฬางกูร

ทำให้เรามีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นรวมทั้งสิ้น 8,703 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 1,381 ล้านบาท  

จะเห็นได้ว่าเราสามารถเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ส่งผลให้สายการบินนกแอร์ สายการบินของคนไทย มีผลกำไรสุทธิในปี 2566 จำนวน 47.66 ล้านบาท กำไรครั้งแรกในรอบ 9 ปี

กว่าจะมีวันนี้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่ายได้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของพนักงาน รวมถึงตัวผมในฐานะผู้นำองค์กรที่จะต้องนำพา กำหนดทิศทางไปในทางที่ถูกต้อง ซึ่งได้ดำเนินการหลักๆในหลายเรื่อง อาทิ

การเพิ่มรายได้

  • เราได้ปรับเปลี่ยนราคาบัตรโดยสารให้สอดคล้องกับกลไกตลาด เพื่อเพิ่มปริมาณผู้โดยสารและรายได้รวม
  •  เราได้ดำเนินการเพิ่มช่องทางการจำหน่าย รวมถึงเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ เช่น การขนส่งสินค้า บริการห้องรับรองพิเศษ เป็นต้น
  • เราได้เพิ่มมาตรฐานการให้บริการ เพื่อขยายกลุ่มลูกค้าให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
  •  จัดโปรโมชั่น การส่งเสริมการขาย และการนำเสนอบริการแบบใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขาย

การลดรายจ่ายขององค์กร

  • ปรับเปลี่ยนกระบวนกรทำงานและปรับโครงสร้างอค์กรให้มีขนาดองค์กรที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของบริษัท และอุตสาหกรรมการบินปัจจุบัน ทำให้เกิดความคล่องตัว และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  • บริหารต้นทุนค่าเช่าเครื่องบิน ซึ่งเป็นต้นทุนหลักอย่างหนึ่งในการดำเนินกิจการ โดยการพยายามจัดหาอากาศยานที่มีเงื่อนไขค่าเช่าเหมาะสมกับชั่วโมงการใช้งานให้มากขึ้น
  • รวมทั้งการปรับปรุงแผนการใช้เครื่องบินให้เหมาะสมกับเส้นทางและสถานการณ์ในปัจจุบัน
  • รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนในการซ่อมบำรุงซึ่งเป็นต้นทุนหลักอีกอย่างหนึ่งของธุรกิจการบิน
  • ลดต้นทุนด้านน้ำมันเชื้อเพลิง โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันการประมูลของผู้ให้บริการน้ำมันโดยการเพิ่มจำนวนผู้ให้บริการน้ำมันที่มีประสิทธิภาพ
  • บริหารค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงอากาศยาน โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนการซ่อมบำรุงอากาศยานในระยะยาว และซ่อมบำรุงแบบป้องกัน (Preventive Maintenance)

นอกจากนี้ ผมยังได้ผลักดันในด้านการบริหารสภาพคล่องทางการเงิน ทั้งการเจรจากับเจ้าหนี้การค้า คู่ค้า สถาบันการเงิน รวมถึงเร่งติดตามหนี้ค้างชำระ และการบริหารจัดการงบประมาณให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

โดยสายการบินนกแอร์ยังคงให้ความสำคัญกับความปลอดภัยมาเป็นลำดับแรก รวมถึงความพึงพอใจของผู้โดยสารที่เราไม่เคยละทิ้งความใส่ใจ และหวังว่าผู้โดยสารจะเลือกสายการบินนกแอร์เป็นตัวเลือกแรกในการเดินทาง ซึ่งเราจะนำพาสายการบินของคนไทยสายนี้เดินหน้าไปอย่างมั่นคงในปีต่อๆ