นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณอยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กล่าวว่า แนวโน้มการสร้างรายได้ธุรกิจไมซ์ในปีงบประมาณ 2567 คาดว่าจะมีรายได้อยู่ที่ 1.3 แสนล้านบาท จากจำนวนผู้เดินทางกลุ่มไมซ์ 23 ล้านคน เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
โดยผู้เดินทางกลุ่มไมซ์จากต่างประเทศ เพิ่มขึ้นกว่า 10-15% เกินกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ขณะที่ผู้เดินทางกลุ่มไมซ์ในประเทศ (โดเมสติก ไมซ์) อาจจะยังต่ำกว่าเป้าอยู่ราว 10% จึงต้องกระตุ้นมากขึ้นในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปีนี้
สำหรับแผนขับเคลื่อนธุรกิจไมซ์ของทีเส็บ ปีงบประมาณ 2568 เรามองว่าสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ ซึ่งก่อนโควิด-19 ในปี 2562 ไทยมีรายได้จากไมซ์อยู่ที่ 2 แสนล้านบาท
ทำให้ทีเส็บตั้งเป้าการสร้างรายได้ในธุรกิจไมซ์ในปีงบประมาณ 2568 อยู่ที่ 2 แสนล้านบาท จากนักเดินทางกลุ่มไมซ์ในประเทศและต่างประเทศ รวม 34 ล้านคน ภายใต้งบประมาณที่ขอไปราว 888 ล้านบาท (ไม่รวบงบกลาง)
แผนการใช้งบประมาณปี2568 จะเป็นงบยุทธศาสตร์ที่เราดำเนินการ ที่ถือเป็นแฟล็กซ์ซิพจริงๆคืองบเทรดโชว์ โรดโชว์ เป็นการดำเนินการด้านการตลาดปกติ และการพัฒนาเรื่องของแฟล็กซิพใหม่ๆที่มีในเรื่องของไมซ์โปรดักซ์ กิจกรรมที่ไปสู่ภูมิภาคทางด้านการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค
โดยการกระจายงานไปยังไมซ์ซิตี้ในแต่ละเมือง ทั้ง 5 เมืองไมซ์ซิตี้เป็นหลัก อาทิ เมืองผ้าไหมโลก จ.ขอนแก่น โปรเจ็กต์พิเศษที่เราจะทำคือจะมองในแง่ที่เป็นการพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area Based) มากขึ้น รวมถึงงานด้านพัฒนา อาทิ การพัฒนาในองค์กรเรื่องของเทคโนโลยี ทรานส์ฟอร์เมชัน ตามนโยบายดิจิทัล ของรัฐบาล ที่จะต้องทำให้ทันท่วงทีกับการเปลี่ยนแปลงของระบบราชการ
อีกส่วนสำคัญคือ เมกะอีเว้นท์ ซึ่งจะเป็นงบในการประมูลงาน (บิดดิ้ง)งานใหญ่ๆเข้ามาจัดในไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะงานเกี่ยวกับสปอร์ต อีเว้นท์ ใหญ่ๆ ตอนนี้มีอีกหลายโครงการได้รับนโยบายจากรัฐบาลให้เดินหน้าต่อ การดำดเนินการเรื่องความยั่งยืน การอัพเกรดและพัฒนาสู่ปี 2030 ซึ่งเป็นภาพใหญ่ โดยที่ผ่านมาทีเส็บก็มีการทำงานเรื่องยั่งยืนมาบ้างเป็น 10 ปีแล้ว ในเรื่องกรีนมีตติ้ง
การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ต้องทำมาตรฐานให้เสร็จทันปี 2028 ตามหมุดหมายในการพัฒนาสถานที่จัดประชุม จัดงานทั้งหมดให้เป็น Carbon Neutrality (ความเป็นกลางทางคาร์บอนด) ให้ได้มากที่สุด และต้องเข้าไปทำเมขึ้นในงานด้าน SDGs 2030 ( เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เช่น ความเท่าเทียมกันต่างๆ การโปรโมทการจัดงานไม่ให้กระจุกตัว การกระจายความเจริญ เป็นงานหลักที่ทีเส็บจะทำในปี 2568
สำหรับการประมูลจัดงานบิ๊กอีเว้นท์ ที่อยู่ในไปป์ไลน์ของทีเส็บ เรากำลังจะบิดดิ้ง งาน เวิล์ดไพรด์ 2030 รวมไปถึงงานที่จะเป็นเจ้าภาพต่างๆในปี 2025 หรือปีหน้ามีหลายงานเลย เช่น งานเบาหวานโลก ที่จะเป็นงานระดับสากล มีผู้เข้าร่วมงานหลักหมื่นคน การเตรียมตัวสำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิล์ดแบงก์ ปี 2026 และที่ต้องเร่งมากที่สุด คือ งานพืชสวนโลก จ.อุดรธานี ซึ่งจะจัดในปี 2026 เป็นต้น โดยงานที่เราบิดดิ้งได้จะต้องทำให้ประสบความสำเร็จที่สุด
ส่วนการประมูลงานใหม่ๆที่เป็นระดับโลกที่เปิดเผยได้ขณะนี้ จะเป็นงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน งานด้านพัฒนาเมือง และงานใหญ่ๆประเทศไทยมีความพร้อมมากในหลายพื้นที่เราก็จะดึงมาอยู่ในไปป์ไลน์ รวมถึงงานที่เกี่ยวข้องกับ 4 อุตสาหกรรม ได้แก่
ทีเส็บจะเน้นดึงการสร้างเครือข่ายและสร้างความพร้อมของประเทศให้รองรับงานเหล่านี้ให้ได้ โดยผู้เดินทางกลุ่มไมซ์จากต่างประเทศ มองว่านักเดินทางกลุ่มไมซ์จากจีน และอินเดีย ถือว่ามีการเดินทางเข้ามามากที่สุดในแง่ของจำนวน และยังมีตลาดใหม่ๆ อย่างตะวันออกกลาง ที่เริ่มเข้ามาเป็นวิสิทเตอร์มากขึ้น
ปัจจุบันทีเส็บมีเมืองไมซ์ซิตี้ 10 เมือง ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และสงขลา ที่เป็นเมืองหลักในการจัดงานด้านไมซ์ และยังมีเมืองที่มีศักยภาพอีก 9 เมือง ได้แก่ เชียงราย สุโขทัย บุรีรัมย์ อุบลราชธานี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี และ นครศรีธรรมราช ที่มีโอกาสส่งเสริมธุรกิจไมซ์ ให้เกิดการจัดงานในพื้นที่เหล่านี้ ซึ่งวันนี้ความสำเร็จคือตลาดต่างประเทศ แต่สิ่งที่ต้องกระตุ้นเพิ่มมากขึ้น คือ โดเมสติก ไมซ์ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดควบคู่กันไปด้วยนั่นเอง