นาย รังษี ไผ่สอาด นายกสมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” วันนี้ (1 พ.ย.65) ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุญาตให้สมาคมมันสำปะหลัง 4 สมาคม ได้แก่ สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย และสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าพบ ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อหารือถึงผลกระทบกรณีการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง โดยในเบื้องต้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมกันตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหา และสำรวจพื้นที่การระบาดให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การขับเคลื่อนงานไปในทิศทางเดียวกัน
สมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ขอสนับสนุนงบประมาณ 420 ล้านบาท แก้ไขปัญหาโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง ที่กำลังแพร่ระบาดรุนแรง ไปเกือบทั่วพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังทั้งประเทศ อย่างเร่งด่วน เนื่องจากโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง เป็นอุปสรรคใหญ่มากต่ออาชีพปลูกมันสำปะหลังของพี่น้องชาวไร่มันสำปะหลังทั่วประเทศ เพราะทำให้ผลผลิตลดลง ทำให้ต้นทุนการปลูกมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น และขาดแคลนท่อนพันธุ์ที่จะใช้ขยายพันธุ์ต่อไป
โดยเฉพาะจังหวัดที่มีการระบาดของโรคอย่างรุนแรง ตลอดจนส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมมันสำปะหลังทั้งระบบ รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องแก้ไขโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลังให้ลดลง ไม่ให้มีการระบาดเพิ่มขึ้น โดยใช้หลักการ เอาน้ำดีขับไล่น้ำเสีย คือใช้ท่อนพันธุ์สะอาดและทนทานต่อโรคไปปลูกแทนพันธุ์ที่เป็นโรคจะช่วยทำให้ลดการระบาดลงได้ และในอนาคตจำเป็นต้องมีการขยายพันธุ์(ต้านทานโรค)ไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง ให้มากพอที่จะมาใช้แทนพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค ถึงจะสามารถควบคุมการะบาดของโรคฯได้อย่างสัมฤทธิ์ผล
สมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ได้รับการร้องเรียนจากเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังในพื้นเกิดโรคระบาดอย่างรุนให้อย่างเร่งด่วน ซึ่งได้สรุปแนวทางแก้ไขปัญหาเสนอต่อรัฐบาลผ่านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนี้ คือ
ข้อที่ 1 มาตรการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่สุด ในจังหวัดที่ปลูกมันสำปะหลังเกิดการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังอย่างรุนแรง (พื้นที่ สีแดง) ประมาณ 100,000 กว่าไร่ จะไม่มีท่อนพันธุ์สะอาดที่จะใช้ขยายพันธุ์ปีต่อไป จำเป็นต้องช่วยจัดซื้อท่อนพันธุ์สะอาดทนทานต่อโรคฯ ไปให้ทดแทนการปลูกในฤดูกาลผลิตปี 2566/67 คิดพื้นที่ประมาณ 100,000 ไร่ ใช้ท่อนพันธุ์ทั้งหมดจำนวน 50 ล้านลำ จึงจำเป็นของบประมาณสนับสนุนจำนวน ประมาณ 150 ล้านบาท เพื่อป้องกันการระบาดของโรคเพิ่มขึ้นจากสาเหตุใช้ท่อนพันธุ์ที่ติดเชื้อโรคเดิมไปปลูกในปีต่อๆไปมาตรการระยะกลาง
ข้อที่ 2 มาตรการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนท่อนพันธุ์ทนทานต่อโรค ไว้ให้เกษตรกรใช้ปลูกในฤดูการผลิตปี 2567 ถึงปี 2569 ซึ่งอยู่ระหว่างรอพันธุ์ต้านทานโรคมาทดแทนพันธุ์ทนทานนั้น จำเป็นต้องสนับสนุนให้เกษตรกรได้ทำแปลงขยายพันธุ์ทนทานไว้แจกจ่ายขยายพันธุ์ด้วยเกษตรกรกันเอง โดยที่รัฐไม่ต้องเสียงบประมาณจัดซื้อท่อนพันธุ์ทนทานโรคแจกทุกๆปี อีกต่อไป
จึงของบประมาณสนับสนุนการทำแปลงขยายพันธุ์ทนทานไว้ในพื้นที่ปลอดโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง จำนวน 30,000 ไร่ จะสามารถผลิตท่อนพันธุ์ได้จำนวนประมาณ 60 ล้านลำ ไว้ให้เกษตรกรได้แจกจ่ายขยายต่อยอดกันเองเพิ่มจำนวนไปเรื่อยๆ จะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนท่อนพันธุ์ทนทานในปีต่อๆไปลงได้ จึงจำเป็นต้องขอการสนับสนุนงบประมาณทำแปลงขยายพันธุ์ทนทาน ไร่ละ 5,000 บาท ใช้งบประมาณจำนวนเงิน 150 ล้านบาท
มาตรการระยะยาว ข้อที่ 3 มาตรการป้องกันการติดโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง โดยพันธุ์ ต้านทานโรค มาทดแทนพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคทั้งหมด ซึ่งมีสถาบันวิชาการต่างๆ( เช่น ม.เกษตรศาสตร์, มูลนิธิพัฒนามันสำปะหลัง, สวทช. ) และสถาบันวิชาการอื่นฯ ได้คิดค้นคว้าทดสอบไว้แล้ว มาขยายพันธุ์และพัฒนาพันธุ์ต่อให้ได้จำนวนท่อนพันธุ์มากเพียงพอต่อพื้นการปลูกทั่วประเทศ
ซึ่งต้องใช่ท่อนพันธุ์จำนวนมาก และใช้ระยะเวลาขยายพันธุ์หลายปี( ไม่น้อยกว่า 3 ปี )ถึงมากพอแจกให้เกษตรกรไปขยายพันธุ์ต่อๆไป จึงต้องเริ่มขยายพันธุ์ต้านทาน ณ ตอนนี้ และมาตรการเฝ้าระวัง ติดตามการแพร่ระบาดของโรคใบด่างโดยใช้เทคโนโลยีทันสมัย เพื่อให้ได้ข้อมูลการระบาดของโรคอย่างชัดเจนและแม่นยำ เพื่อวางแผนการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอย่างมีประสิทธิผล จึงขอสนับสนุนงบประมาณจำนวน 120 ล้านบาท
นายรังสี กล่าวว่า ด้วยเหตุผลความเดือดร้อนและจำเป็นอย่างมาก สมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง 7 แสนกว่าครัวเรือน