นายรังษี ไผ่สอาด นายกสมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงสถานการณ์โรคใบด่างมันสำปะหลัง ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์ ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2565 มีพื้นที่ระบาด 18 จังหวัด (กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี อุตรดิตถ์ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ หนองคาย ชัยนาทจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี ระยองสระแก้ว กาญจนบุรี เพชรบุรี และราชบุรี) จำนวน 98,062 ไร่ การระบาดเพิ่มขึ้น 22,344 ไร่
สมาคมขอให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทุกหมู่บ้าน ประชาสัมพันธ์และเน้นย้ำ โรคใบด่างมันสำปะหลัง ให้พี่น้องเกษตรกรได้มีความตระหนัก ช่วยกันตรวจสอบและดูแลแปลง เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง เนื่องจากมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรการทางกฎหมายวิธีการหนึ่งที่นำมาใช้ในการควบคุมการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง
ทั้งการกำจัดต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรค และการควบคุมการเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์มันสำปะหลังจากแหล่งที่เป็นโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนั้น มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1. พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับห้ามนำเข้านำออกศัตรูพืชชนิดที่อาจก่อความเสียหายร้ายแรงมาในเขตควบคุมศัตรูพืชที่กรมวิชาการเกษตรประกาศไว้ และต้องรีบทำลายเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้เจ้าของแปลงทำลายพืชศัตรูพืช และพาหะนั้น หรือถ้าเจ้าหน้าที่เป็นผู้ทำลายเจ้าของจะต้องเป็นผู้จ่ายค่าทำลาย ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนเกษตรกร!! ติดตามสถานการณ์การระบาดของศัตรูพืชทุกสัปดาห์ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อผลผลิตการเกษตร
ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร วันที่30 สิงหาคม 2565 (เวลา 15.00 น.) (คลิกอ่าน)