อัพเดท โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าวปี 2563/64 ของ กรมการข้าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรมีเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีนำไปช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง และอุทกภัย สำหรับนำไปใช้เพาะปลูกในฤดูนาปี 2563/64 ประกอบด้วยเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวน 14,300,000 กิโลกรัม เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่กรมการข้าวกำหนด และเป็นไปตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไข เพิ่มเติม วงเงินกว่า 400 ล้านบาท
จัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จำนวน 13,000,000 กิโลกรัม และเมล็ดพันธุ์ข้าว กข6 จำนวน 1,300,000 กิโลกรัม เกิดอะไรขึ้น ในช่วงนั้นข้าราชการจึงล่ารายชื่อเพื่อให้อธิบดีกรมการข้าวในขณะนั้นล้มโครงการนี้ และในที่สุดก็ล้มดีลสำเร็จ ล่าสุด กมธ. การเกษตรและสหกรณ์ เรียกอธิบดีกรมการข้าว เข้ามาชี้แจง จาก ชาวนา 14 จังหวัด ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเลย แล้วงบประมาณก้อนนี้คืนคลังไปแล้ว หรืออยู่ในสถานะไหน
นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม รองประธานคณะ กมธ. การเกษตรและสหกรณ์ คนที่หนึ่ง เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า คณะ กมธ. ได้เชิญอธิบดีกรมการข้าวเข้าร่วมประชุม .การติดตามความคืบหน้าการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ได้รับผลกระทบจากพายุโพดุลในปี พ.ศ. 2562 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยจากพายุโพดุลเพื่อเยียวยาฟื้นฟูบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติภายหลังจากประสบภัยเพียงบางส่วน ตามแผนปฏิบัติการฟื้นฟู เยียวยาเกษตรกรผู้ประสบภัย
โดยมีโครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าวนาปี 2563/2564 ด้วยการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีแก่เกษตรกรที่ประสบภัยฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง และอุทกภัยในฤดูนาปี พ.ศ.2562 ในพื้นที่จำนวน 34 จังหวัด เพื่อให้เกษตรกรนำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปปลูกแทนข้าวที่เสียหายโดยปัจจุบันยังมีเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับเมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวน 14 จังหวัด เนื่องจากกรมการข้าวผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวไม่เพียงพอ จึงได้จัดซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจากสหกรณ์การเกษตร/กลุ่มเกษตรกร
ซึ่งเอกสารของผู้ยื่นเข้ารับการคัดเลือกไม่ครบถ้วน ประกอบกับการล่วงเลยฤดูการเพาะปลูกของเกษตรกร กรมการข้าวจึงได้นำเสนอโครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว ปี พ.ศ. 2565/2566 ให้นายกรัฐมนตรีเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 65 เพื่อชดเซยให้เกษตรกรที่ยังไม่ได้รับเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยการสนับสนุนปัจจัยการผลิตเป็นปุ๋ยนวัตกรรมจำนวน 3,336,666 กิโลกรัม กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรจำนวน 194,492 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 1,430,000 ไร่ เพื่อส่งเสริมการผลิตข้าวให้สอดคล้องกับนโยบาย BCG (Bio-Circular-Green Economy) ลดการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูง
นายอุบลศักดิ์ กล่าวว่า ในส่วนการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ปีพ.ศ.2565/2566 โดยสถานการณ์อุทกภัยในปี 2565 มีพื้นที่ปลูกข้าวจำนวน 57 จังหวัดได้รับความเสียหายครอบคลุมพื้นที่ 3,625,831 ไร่ มีเกษตรกรได้รับผลกระทบจำนวน 632,175 ราย โดยกรมการข้าวอยู่ระหว่างขอความเห็นชอบโครงการเยียวยาชาวนาที่ประสบภัยธรรมชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีเป้าหมายคือเกษตรกรจำนวน 632,175 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 3,625,831 ไร่ โดยการสนับสนุนปัจจัยการผลิตจำแนกเป็น เมล็ดพันธุ์ข้าว 54,387 ตัน (15 กิโลกรัม/ไร่ ไม่เกิน 15 ไร่) ปุ๋ยชีวภาพจำนวน 3,625,831ลิตร และสารชีวภัณฑ์ 3,625,831 กิโลกรัม
โครงการสนับสนุนการลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อส่งเสริมสนับสนุน การลด ต้นทุนการผลิตให้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโดยให้ชาวนาร่วมกันบริหารจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุนการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน และเสริม สร้างความ ตระหนักรู้ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว การกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิต และยกระดับคุณภาพข้าว พร้อมทั้งจัดการผลิตข้าวที่ดูแลสิ่งแวดล้อม การสนองความต้องการของตลาด ระยะเวลาดำเนินงาน 1 ต.ค.65 - 30ก.ย. 66
ในการนี้ คณะ กมธ ได้ฝากข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ให้กับกรมการข้าว ดังนี้
1. เร่งกำหนดแนวทางช่วยเหลือเยียวยา เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ที่ได้รับผลกระทบจากพายุโพดุลตั้งแต่ปีพ.ศ. 2562 ซึ่งยังไม่ได้รับเมล็ดพันธุ์ข้าวตามโครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าวนาปี 2565/66 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร
2.รับฟังความคิดเห็นจากชุมชนและเกษตรกรในแต่ละพื้นที่อย่างรอบด้าน เพื่อรับทราบถึงความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอย่างแท้จริง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการนำเงินงบประมาณมาใช้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
3. จัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการข้าวทั้งระบบอย่างครบวงจร ทั้งการผลิต การแปรรูป และการดลาด ที่สอดคล้องกับ ความต้องการของผู้บริโภค เพื่อยกระดับศักยภาพห่วงโซ่อุปทานข้าวให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
4. กำหนดแผนงานสนับสนุนเครื่องจักร และความต้องการปัจจัย การผลิตในแต่ละชุมชน เนื่องจากการเพาะปลูกข้าวแต่ละพื้น และความต้องการเครื่องจักรกลการเกษตรในแต่ละชุมชนที่มีความแตกต่างกัน
5. ประสานกับกระทรวงพาณิชย์ ในการจัดหาตลาดล่วงหน้า และตลาดต่างประเทศเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายข้าว ให้แก่เกษตรกรมากยิ่งขึ้น
6. กำหนดกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ข้าว ให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ.2518 รวมถึงคุณภาพสารชีวภัณฑ์ที่ผลิตโดยผู้ประกอบการซึ่งต้องผ่านมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เกษตรกร ในการนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาไช้ทดแทนสารเคมี
7.ให้มีการจัดตั้งห้องปฏิบัติการดีเอ็นเอเทคโนโลยีในพื้นที่ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อตรรจสอบการปลอมปนพันธุ์ข้าว ซึ่งจะช่วยสนับสนุน ด้านการตลาดแก่กระทรวงพาณิชย์ให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและยั่งยืน
8. กำหนดช่วงระยะเวลาในการให้ความช่วยเหลือเยียวยา เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่สอดคล้องกับข่วงฤดูการเพาะปลูกข้าวเพื่อให้สามารถช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรได้อย่างทันท่วงที
9.กำหนดให้มีการรับซื้อพันธุ์ข้าวจากศูนย์ข้าวชุมขนและกระจายเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพไปยังเกษตรกรได้อย่างทั่วถึง
10.ส่งเสริมการวิจัยปุ๋ยชีวภาพโดยใช้สาหร่ายแกมน้ำเงินเพื่อเสริมสร้างธาตุไนโตรเจน และเร่งประชาสัมพันธ์เพือให้เกษตรกรผู้ปลูกข้วได้ประโยชน์อย่างทั่วถึง เพื่อลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย
11. สำหรับโครงการสนับสนุนลดต้นทุนการผลิต ด้านการเกษตร สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว (ศูนย์ชุมชน) ระยะเวลาดำเนินการคือ ปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2566 โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ศูนย์ข้าวชุมชนจำนวน 5,000 ศูนย์ นั้นปัจจุบันศูนย์ข้าวชุมชนมีเพียง จำนวน 2,000 ศูนย์ โครงการดังกล่าว จึงไม่สามารถดำเนินการได้ จึงขอเรียกร้องให้กระทรวงพาณิชย์ และกรมการข้าว รับผิดชอบความเสียหายในเรื่องดังกล่าว
พลิกแฟ้ม