"ดีป้า" ร่วมยกระดับมาตรฐานการผลิต"ทุเรียนไทย"

01 พ.ค. 2566 | 09:55 น.
อัปเดตล่าสุด :01 พ.ค. 2566 | 09:59 น.

ดีป้า เดินหน้าสร้างรายชุมชน พัฒนาคุณภาพความเป็นอยู่ สร้างมาตรฐานการผลิตทุเรียนคุณภาพ ภายใต้ แพลตฟอร์มแอปพลิเคชัน KASETTRACK หวังแก้ไขปัญหาด้านการผลิต ชี้ KASETTRACK จะช่วยดูแลการผลิตทุเรียนไทยคุณภาพได้กว่า 1 แสนตัน

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การสร้างรายได้แก่ชุมชน พัฒนาคุณภาพ ความเป็นอยู่ และสร้างมาตรฐานการผลิตทุเรียนคุณภาพ

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า

ภายใต้แพลตฟอร์มแอปพลิเคชัน KASETTRACK ระหว่าง บริษัท วีเดฟซอฟท์จำกัด ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน KASETTRACK กับ กลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียน อำเภอ นายายอาม ผศ.ดร.ณัฐพล เปิดเผยว่า ดีป้า มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ยกระดับ ภาคเกษตรกรรมไทย

 

\"ดีป้า\" ร่วมยกระดับมาตรฐานการผลิต\"ทุเรียนไทย\"

 โดยแอปพลิเคชัน KASSETTRACK คือหนึ่งในเทคโนโลยีดิจิทัลที่ ดีป้า ให้การสนับสนุนผ่าน มาตรการคูปองดิจิทัล เพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล โดยเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหา ด้านการผลิต ช่วยวางแผนต้นทุนการผลิตในแต่ละฤดูกาลเป็นรายแปลง รายช่วงอายุในแต่ละสายพันธุ์ พร้อมอำนวยความสะดวกให้การตรวจสอบรับรองคุณภาพผลผลิตทุเรียนเป็นไปตามมาตรฐาน GAP

\"ดีป้า\" ร่วมยกระดับมาตรฐานการผลิต\"ทุเรียนไทย\"

เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการส่งออกผลผลิตไปยังประเทศผู้นำเข้า โดยเฉพาะประเทศจีน ผู้นำเข้าทุเรียน อันดับหนึ่งของไทยที่มีความเข้มงวดในการตรวจสอบคุณภาพและศัตรูพืชต้องห้ามแก่เครือข่ายเกษตรกรใน จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดระยอง จำนวน 2,000 ราย

“เกษตรกรจะได้รับการอำนวยความสะดวกด้านกระบวนการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ซึ่งระบบ จะสร้างขั้นตอนการผลิตทุเรียนที่เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐาน GAP โดยอัตโนมัติ ดังนั้นเกษตรกรสามารถ บันทึกหรือแก้ไขข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา วิเคราะห์ความก้าวหน้ากิจกรรมการผลิต และการดูแลรักษาในทุกระยะ การเติบโต ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักฐานในการตรวจรับรองมาตรฐาน GAP

\"ดีป้า\" ร่วมยกระดับมาตรฐานการผลิต\"ทุเรียนไทย\"

และเป็นข้อมูลสำหรับพัฒนาการผลิต ในปีต่อไป รวมถึงการวางแผนการตลาดและการสร้างแบรนด์ ขณะเดียวกัน ภาครัฐจะได้รับข้อมูลปริมาณ ผลผลิต กระบวนการผลิต ปริมาณการซื้อขายที่ถูกต้องชัดเจน เพื่อตรวจสอบย้อนกลับการผลิตและใบรับรอง GAP / GMP สามารถนำข้อมูลการผลิตในพื้นที่มาใช้พิจารณาการวิจัย พัฒนา และสร้างฐานข้อมูลเมืองอัจฉริยะ อีกทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุเรียนคุณภาพของไทย อันจะนำไปสู่การผ่อนคลายความเข้มงวดของมาตรการ การนำเข้าของจีน ทั้งหมดถือเป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตทุเรียนคุณภาพและภาคการเกษตรของประเทศ ช่วยสร้างรายได้แก่ชุมชนไปพร้อมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน”