ปล่อยปลาอย่างไร? ไม่ให้บาป ได้ทั้งบุญและช่วยสิ่งแวดล้อม

06 มิ.ย. 2566 | 18:00 น.

ปล่อยปลาอย่างไร? ไม่ให้บาป แต่ได้ทั้งบุญและช่วยสิ่งแวดล้อม ปลาชนิดไหนควรปล่อยแบบไหน ปลาชนิดไหนไม่ควรปล่อยลงแม่น้ำ

ช่วง2-3วันที่ผ่านมากระแสดร่ามาเรื่องวัดดังแห่งหนึ่งมีการปล่อยปลา 4,000 กิโลกรัม เป็นพุทธบูชาในวันวิสาขบูชา ณ ใต้สะพานพุทธยอดฟ้า ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ผ่านมานั้น โดยปลาที่ทางวัดนำมาปล่อยและเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์คือ "ปลาดุก" ถือเป็นปลาเอเลี่ยนสปีชีส์ที่ทำลายระบบนิเวศของปลาท้องถิ่นในประเทศไทย ให้ลดจำนวนลงหรืออาจร้ายแรงถึงขั้นสูญพันธุ์ โดยต่างมองว่าจากที่จะกลายเป็นได้บุญ คราวนี้จะได้บาปใหญ่แทน 

ปล่อยปลาอย่างไร? ไม่ให้บาป ได้ทั้งบุญและช่วยสิ่งแวดล้อม

ต้องบอกว่าการทำบุญในสังคมไทย มีหลากหลายวิธี หนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมนั้น คือ การปล่อยนกปล่อยปลากับความเชื่อ ทั้งเรื่องโชคลาภ หน้าที่การงาน ความราบรื่นในชีวิต หรือแม้กระทั่งเพื่อสะเดาะเคราะห์

โดยเฉพาะการปล่อยปลา เป็นวิธีการทำบุญที่ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่! สิ่งที่สายมูทั้งหลายต้องคำนึงคือ การปล่อยสัตว์น้ำลงแหล่งน้ำสาธารณะ ผู้ปล่อยต้องคำนึงถึงการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม เพราะปลาและสัตว์น้ำแต่ละชนิดมีการดำรงชีวิตไม่เหมือนกัน

ปล่อยปลาอย่างไร? ไม่ให้บาป ได้ทั้งบุญและช่วยสิ่งแวดล้อม

"การปล่อยปลา" หากไม่มีการศึกษาข้อดีข้อเสียของสัตว์น้ำที่ปล่อยแล้ว นอกจากจะได้บาปเพิ่มแล้วยังส่งผลเสียต้องสภาพแวดล้อมทั้งของสัตว์พื้นทีเดิม ซากเน่าของสัตว์น้ำที่ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ส่งกลิ่นรบกวนอีก “ฐานเศรษฐกิจ”ได้มีวิธีการปล่อยสัตว์น้ำที่ถูกต้องมาฝาก

 

ปล่อยปลาอย่างไร? ไม่ให้บาป ได้ทั้งบุญและช่วยสิ่งแวดล้อม

วิธีการปล่อยปลา

  • ไม่ปล่อยสัตว์ต่างถิ่น หรือ เอเลียนสปีชีส์
  • ไม่ปล่อยในปริมาณที่มากจนเกินไป
  • คัดเลือกสถานที่ปล่อยให้เหมาะสมกับชนิดของปลา
  • ควรปล่อยในแหล่งน้ำตื้นหรือลึกระดับปานกลาง (ระดับเอวถึงหน้าอก)
  • ไม่ปล่อยในแหล่งที่มีน้ำเชี่ยว
  • ปล่อยในแหล่งที่มีพืชน้ำ เพื่อเป็นที่หลบภัย, อาหาร หรือเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ
  • ปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีการไหลเวียนของน้ำ หรือที่มีน้ำสะอาด

ปล่อยปลาอย่างไร? ไม่ให้บาป ได้ทั้งบุญและช่วยสิ่งแวดล้อม

สำหรับปลาที่ควรปล่อยและไม่ควรปล่อย

ปลาที่แนะนำให้ปล่อยในแหล่งน้ำของประเทศไทย ควรเป็นปลาพื้นเมืองของไทย เช่น ปลาตะเพียนขาว, ปลาตะเพียนทอง, ปลาแก้มช้ำ, ปลาสร้อยขาว, ปลาหมอไทย, ปลายี่สกไทย, ปลากราย, ปลาโพง และปลาบึก

ปล่อยปลาอย่างไร? ไม่ให้บาป ได้ทั้งบุญและช่วยสิ่งแวดล้อม

สัตว์น้ำตามความเชื่อที่ไม่ควรปล่อยเด็ดขาด (เอเลี่ยน สปีชีย์) เช่น ปลาดุกอัฟริกัน หรือปลาดุกลูกผสม (บิ๊กอุย), กุ้งเครย์ฟิซ, เต่าญี่ปุ่นหรือเต่าแก้มแดง, ปลาหางนกยูง, ปลากดเกราะดำและปลากดเกราะลาย, ตะพาบไต้หวัน, ปลาทับทิม, ปลานิล และปลาหมอสีคางดำ

ปล่อยปลาอย่างไร? ไม่ให้บาป ได้ทั้งบุญและช่วยสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้มาดูว่าปลาแต่ละชนิดควรปล่อยแบบไหนได้บุญและยังช่วยรักษาระบบนิเวศได้ดี

  •  ปลาสวาย

ควรปล่อยลงในแม่น้ำ ลำคลอง ที่ระดับน้ำมีความลึกและกระแสน้ำแรงเพราะปลาเหล่านี้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ ดังนั้นต้องใช้พื้นที่กว้างในการดำรงชีวิต

  • ปลาตะเพียน

ควรปล่อยลงในแม่น้ำ ลำคลองที่มีความกว้างและลึก

  • ปลากราย

ควรปล่อยลงในแม่น้ำลำคลอง เลือกขนาด4-5นิ้วขึ้นไปแบ่งปล่อยกระจายตามจุดต่างๆเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต้องสัตว์ตังเล็กในพื้นที่

  • ปลาช่อน

ความปล่อยตามริมตลิ่งชายคลองที่มีพืชน้ำขึ้น ไม่ควรปล่อยจำนวนมาก เพราะเป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อปลาตัวเล็กตัวน้อย

  • ปลาไหล

ควรปล่อยใน แม่น้ำ ลำห้วย หนอง คลอง บึง ท้องนาท้องไร่ ร่องสวน ที่มีดินเฉอะแฉะและกระแสน้ำไหลไม่แรงไม่มาก เนื่องจากปลาไหลชอบขุดรูอยู่อาศัย ไม่ควรปล่อยลงแม่น้ำใหญ่ซึ่งมีโอกาสรอดยาก

ปล่อยปลาอย่างไร? ไม่ให้บาป ได้ทั้งบุญและช่วยสิ่งแวดล้อม

  • ปลาดุกอุยหรือปลาดุกนา

ควรปล่อยในลำคลอง หนอง บึง ที่มีน้ำไหลไม่แรง มีกอหญ้าอยู่ริมตลิ่ง ไม่ควรปล่อยลงแม่น้ำใหญ่ เพราะจะไปกินทำให้ปลาเล็กปลาน้อยระบบนิเวศเสีย

  • ปลาบู่ทราย

ควรปล่อยบริเวณที่มีก้อนหิน ขอนไม้หรือไม้ชายน้ำ และปล่อยตัวที่มีขนาดใหญ่พอสมควรเพราะจะมีโอกาสรอดสูงกว่าตัวเล็กๆ

  • กบ

เป็นสัตว์ที่ชอบอยู่ในที่ชื้นแฉะ ไม่ควรปล่อยลงในแม่น้ำ ควรปล่อยที่นาหรือคลองที่มีกอหญ้าเพราะแมลงเป้นอาหารของกบหรือไม่น้ำ หากปล่อยลงแม่น้ำ กบอาจะหาอาหารได้ไม่ดีและจะตายในที่สุด

  • ปลาหมอไทย

ควรปล่อย ลำคลอง หนอง บึงที่มีน้ำไหลไม่แรง มีกอหญ้าอยู่ริมตลิ่ง ไม่ควรปล่อยลงแม่น้ำใหญ่เพราะจะทำให้ปลาไม่สามารถหาอาหารได้และอาจจะเป็นอาหารของปลาตัวใหญ่

ปล่อยปลาอย่างไร? ไม่ให้บาป ได้ทั้งบุญและช่วยสิ่งแวดล้อม