นายกฯ ปลื้ม ส่งออก “ส้มโอไทย” ไปสหรัฐฯ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์

03 ก.ค. 2566 | 15:05 น.
อัพเดตล่าสุด :04 ก.ค. 2566 | 03:41 น.

“ส้มโอไทย” กระหึ่มสหรัฐฯ โชว์ศักยภาพผ่านเทศกาล "Sawasdee DC Thai Festival" 2 - 4 ก.ค. นี้ นายกฯ ปลื้ม เจาะตลาดใหม่สำเร็จ ด้านรองอธิบดีกรมวิชาเกษตร ถกกระทรวงเกษตรสหรัฐมุ่งเน้นกระชับความสัมพันธ์ และขยายความร่วมมือด้านวิชาการเกษตรที่ใกล้ชิดระหว่างทั้ง 2 ประเทศ

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหม ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยสามารถขยายตลาดส่งออกได้เพิ่มขึ้น ผ่านการส่งออกส้มโอฉายรังสี 4 สายพันธุ์ ไปยังกรุงวอชิงตัน ดีซี (Washington, D.C.) สหรัฐอเมริกา ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของไทย และยังส่งออกมะม่วงของฤดูกาลปี 2566 มังคุด และผลไม้อื่น ๆ ของไทย เพื่อนำไปร่วมงานเฉลิมฉลองในวันชาติของสหรัฐอเมริกา และเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการทูตไทย – สหรัฐอเมริกา ครบรอบ 190 ปี ในงานจัดแสดงผลไม้เทศกาล "Sawasdee DC Thai Festival" ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ระหว่างวันที่ 2 - 4 กรกฎาคม 2566 

นายกฯ ปลื้ม ส่งออก “ส้มโอไทย” ไปสหรัฐฯ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์

"จากผลความสำเร็จในการส่งออกส้มโอทั้ง 4 สายพันธุ์ของไทย เป็นเครื่องสะท้อนถึงคุณภาพของผลไม้ไทยที่มีมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งนี้ นายกฯ เชื่อมั่นว่าเมื่อไทยผ่านมาตรฐานการส่งออกไปสหรัฐฯ จะเพิ่มโอกาสให้ผลไม้ไทยสามารถขยายตลาดส่งออกได้เพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคต พร้อมขอบคุณความร่วมมือ การทำงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลักดันสินค้าเกษตรของไทยให้มีศักยภาพ เพิ่มโอกาส เพิ่มขีดความสามารถในตลาดต่างประเทศ

นายกฯ ปลื้ม ส่งออก “ส้มโอไทย” ไปสหรัฐฯ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์

ด้านนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า  วันนี้ (3 ก.ค.66) ได้มอบหมายให้นายพงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เข้าร่วมประชุมกับกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา เพื่อขยายความร่วมมือด้านวิชาการเกษตรที่ใกล้ชิดระหว่างทั้ง 2 ประเทศ และได้เข้าร่วมงาน เทศกาล Sawasdee DC Thai Festival ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ในโอกาสวันชาติของสหรัฐฯ ในวันที่ 2 – 4 กรกฎาคม 2566

นายกฯ ปลื้ม ส่งออก “ส้มโอไทย” ไปสหรัฐฯ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์

โดยเทศกาลดังกล่าวมีนายธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน เป็นประธานในการเปิดงาน ซึ่งนอกจากการเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 190 ปี ความสัมพันธ์ฯ แล้ว งาน Sawasdee DC Thai Festival ยังเป็นโอกาสสำคัญในการนำเสนออาหารและสินค้าเกษตรไทย โดยเฉพาะส้มโอที่นำเข้าสหรัฐฯ เป็นครั้งแรก

นายกฯ ปลื้ม ส่งออก “ส้มโอไทย” ไปสหรัฐฯ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์

“การส่งออกครั้งนี้เป็นส้มโอฉายรังสี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ทองดี พันธุ์ขาวใหญ่ พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง และพันธุ์ขาวแตงกวา พร้อมด้วย มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ มหาชนก แดงจักรพรรดิ และเขียวเสวย รวมทั้งมังคุด รวมทั้งสิ้น จำนวน 72 กล่อง น้ำหนัก 864 กิโลกรัมการส่งออกส้มโอไปสหรัฐฯ ครั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ รวมถึงผู้ประกอบการส่งออกผลไม้ที่จะมีตลาดส่งออกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสหรัฐฯ เป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง เป็นประเทศที่เข้มงวดด้านมาตรการสุขอนามัยพืชอย่างสูง”

นายกฯ ปลื้ม ส่งออก “ส้มโอไทย” ไปสหรัฐฯ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์

นายระพีภัทร์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีผลไม้ที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ มี 8 ชนิด ได้แก่ มะม่วง ลิ้นจี่ ลำไย สับปะรด มังคุด แก้วมังกร เงาะ และล่าสุดได้แก่ ส้มโอ โดยกรมวิชาการเกษตรยังมีแนวทางที่จะสนับสนุนภาคเอกชนให้มีการจัดส่งทางเรือเพื่อลดต้นทุนและจัดส่งได้ครั้งละจำนวนมาก ซึ่งอยู่ระหว่างการทดสอบในเชิงคุณภาพ โดยหากได้ผลดีจะเป็นการเพิ่มช่องทางให้ผู้ประกอบการนำไปใช้ในเชิงการค้าต่อไป 

นายกฯ ปลื้ม ส่งออก “ส้มโอไทย” ไปสหรัฐฯ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์

สำหรับในระเบียบขั้นตอนการนำเข้าส้มโอนั้น ทาง กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ได้มอบหมายหน่วยงานบริการตรวจสอบสุขภาพสัตว์และพืช (Animal and Plant Health Inspection Service : APHIS) ให้แจ้งถึงผลการทดสอบประสิทธิภาพการแพร่กระจายรังสีในบรรจุภัณฑ์ส้มโอ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะอนุญาตให้นำเข้า

นายกฯ ปลื้ม ส่งออก “ส้มโอไทย” ไปสหรัฐฯ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์

โดยส้มโอส่งออกจะต้องผ่านการฉายรังสีแกรมมา (Gamma: γ) ที่ระดับ 400 เกรย์ นาน 3 ชั่วโมง จากศูนย์ฉายรังสี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) พร้อมโรงคัดบรรจุที่ได้รับอนุญาตให้คัดบรรจุส้มโอเพื่อการส่งออกได้ โดยผลไม้ของไทยที่ส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศสหรัฐฯ ต้องฉายรังสีแกรมมา ปริมาณ 400 เกรย์ ก่อนส่งออก

นายกฯ ปลื้ม ส่งออก “ส้มโอไทย” ไปสหรัฐฯ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์

“ผู้ที่ต้องการส่งออกส้มโอผลสดไปสหรัฐอเมริกาสามารถสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มวิจัยการกักกันพืช  สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0-2579 3496 และ 0- 2940 6670 ต่อ 142" อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวตอนท้าย