อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ไล่เช็ค “ยะลา” สกัดทุเรียนอ่อน ทะลักตลาดจีน

06 ส.ค. 2566 | 08:40 น.
อัปเดตล่าสุด :06 ส.ค. 2566 | 09:39 น.

เปิด “ไทม์ไลน์” แผนปฏิบัติการเชิงรุก “อธิบดีกรมวิชาการเกษตร” ผนึกผู้ว่าฯ จังหวัดยะลา ปูพรมไล่เช็ค แปลงเกษตรกร ล้ง ร้านขายปลีก ส่งออก สกัดทุเรียนอ่อนปะปนกับทุเรียนคุณภาพ ทะลักเข้าตลาดจีน

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ไล่เช็ค “ยะลา” สกัดทุเรียนอ่อน ทะลักตลาดจีน

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ได้มอบหมายให้รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง และผู้อำนวยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 พร้อมด้วยเกษตรจังหวัดยะลาเข้าพบนายธีรุตม์ ศุภวิบูลย์ผล รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาประธานคณะทำงานชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาดจังหวัดยะลา โดยรายงานสถานการณ์ผลผลิตทุเรียนในพื้นที่จังหวัดยะลาที่ออกไปสูตลาดในประเทศและต่างประเทศ และสถานะใบรับรอง GAP ของเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนในพื้นที่จังหวัดยะลา

 

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ไล่เช็ค “ยะลา” สกัดทุเรียนอ่อน ทะลักตลาดจีน

พร้อมกันนี้ได้ออกตรวจโรงงานคัดบรรจุผักและผลไม้สด(ล้ง) ในพื้นที่จุดรับซื้อผลผลิตทุเรียน บริเวณแยกมาลายู-บางกอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นจุดรับซื้อผลผลิตทุเรียนจุดใหญ่ วัตถุประสงค์เพื่อกำกับดูแลให้เกษตรกร ผู้ประกอบการส่งออก ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกผลไม้จังหวัดยะลาให้มีการจำหน่ายสินค้าคุณภาพ

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ไล่เช็ค “ยะลา” สกัดทุเรียนอ่อน ทะลักตลาดจีน

ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ของผลไม้คุณภาพดีจังหวัดยะลาให้เป็นที่รู้จัก และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคในการซื้อสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพปลอดภัย  ตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาดและส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าเกษตรคุณภาพของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกจังหวัดยะลา เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุตามวัตถุประสงค์

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ไล่เช็ค “ยะลา” สกัดทุเรียนอ่อน ทะลักตลาดจีน

หลังจากนั้น นายธีรุตม์ ศุภวิบูลย์ผล รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ในฐานะหัวหน้าชุดปฏิบัติเฉพาะกิจป้องกันแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาดจังหวัดยะลา เรียกประชุมหัวหน้าชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจฯระดับอำเภอ ร่วมกับนายไพศอล หะยีสาและ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา นายกัสมัน ยะมาแล เกษตรจังหวัดยะลา นางวีระ สมศิริ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต และเกษตรอำเภอทุกอำเภอ เพื่อหารือแนวทางดำเนินการจัดหน่วยบริการ GAP เคลื่อนที่แก่เกษตรกรในจังหวัดยะลา

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ไล่เช็ค “ยะลา” สกัดทุเรียนอ่อน ทะลักตลาดจีน

โดยในที่ประชุมมีมติให้ทุกอำเภอเร่งประชาสัมพันธ์เกษตรกรสมัครขอใบรับรอง GAP โดยให้เกษตรอำเภอจัดทำบัญชีรายชื่อเกษตรกรที่ต้องการสมัครขอใบรับรอง GAP รายใหม่และรายเก่าที่ใบรับรองหมดอายุ ยื่นเอกสารการสมัคร พร้อมจัดเก็บพิกัดแปลงปลูก ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ โดยกรมวิชาการเกษตรจัดทำแผนลงพื้นที่รับเอกสาร และให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าของพื้นที่ลงนามรับรองพื้นที่ปลูกที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ เป็นการบริการ ณ จุดเดียว เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว โดยกำหนดลงพื้นที่ ตามแผน ดังนี้

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ไล่เช็ค “ยะลา” สกัดทุเรียนอ่อน ทะลักตลาดจีน

วันที่ 8 ส.ค. อำเภอกรงปินัง ณ แปลงใหญ่ทุเรียนสะเอะ

วันที่ 9 ส.ค. อำเภอยะหา ภายในงานผลไม้อำเภอยะหา

วันที่ 10 ส.ค. อำเภอบันนังสตา ณ สำนักงานเกษตรอำเภอบันนังสตา

วันที่ 11 ส.ค. อำเภอธารโต ณ สำนักงานเกษตรอำเภอธารโต

 

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ไล่เช็ค “ยะลา” สกัดทุเรียนอ่อน ทะลักตลาดจีน

วันที่ 12 ส.ค. อำเภอเบตง ณ สำนักงานเกษตรอำเภอเบตง

วันที่ 13 ส.ค. อำเภอรามัน ณ สำนักงานเกษตรอำเภอรามัน

วันที่ 14 ส.ค. อำเภอกาบัง ณ สำนักงานเกษตรอำเภอกาบัง

วันที่ 15 ส.ค. อำเภอเมืองยะลา ณ สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองยะลา

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ไล่เช็ค “ยะลา” สกัดทุเรียนอ่อน ทะลักตลาดจีน

นอกจากนี้กรมวิชาการเกษตรยังได้ประสานกับสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กวก. บูรณาการเข้มจังหวัด และหน่วยงานเกี่ยวข้องต่อ จึงเชิญผู้ว่าฯ ชุมพร บูรณาการตรวจเข้มล้ง-แผงทุเรียน หวั่นทุเรียนด้อยคุณภาพจากนอกพื้นที่ทำภาพลักษณ์ทุเรียนชุมพรเสียหาย โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย ผอ.สวพ.ชุมพร กรมวิชาการเกษตร นายธนนท์ พรรพีภาส ปลัดจังหวัดชุมพร

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ไล่เช็ค “ยะลา” สกัดทุเรียนอ่อน ทะลักตลาดจีน

นางสาวยุพาพร สวัสดี พาณิชย์จังหวัดชุมพร นายอุดมพร เสือมาก นายนพพร มีสติ ป้องกันจังหวัดชุมพร เจ้าหน้าที่จากด่านตรวจพืชระนอง สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด กอ.รมน. สำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร และปลัดอำเภอ ลงพื้นที่ตรวจติดตามคุณภาพทุเรียนที่รับซื้อ-ขายในพื้นที่อำเภอทุ่งตะโกและอำเภอหลังสวน โดยสุ่มตรวจคุณภาพเนื้อทุเรียน เปอร์เซ็นต์แป้ง ป้องปรามการลักลอบซื้อ-ขายทุเรียนด้อยคุณภาพ

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ไล่เช็ค “ยะลา” สกัดทุเรียนอ่อน ทะลักตลาดจีน

โดยชุดปฏิบัติการได้สุ่มตรวจคุณภาพทุเรียนจากสถานประกอบการ 5 แห่ง ในอำเภอทุ่งตะโกและอำเภอหลังสวน ซึ่งทุเรียนที่ซื้อขายในช่วงนี้ ส่วนใหญ่เป็นทุเรียนจากต่างจังหวัด ตั้งแต่สุราษฎร์ธานีลงไป โดยเฉพาะมาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้กว่า 80 % และสถานประกอบการส่วนใหญ่ยังคงมีการคัดทุเรียนคุณภาพเพื่อการส่งออกตามมาตรฐาน

 

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ไล่เช็ค “ยะลา” สกัดทุเรียนอ่อน ทะลักตลาดจีน

จากการตรวจสอบอย่างละเอียด พบแผงทุเรียนบางแห่งยังคงตรวจพบทุเรียนด้อยคุณภาพ ทุเรียนหนอนเจาะ และทุเรียนอ่อนอยู่บ้าง (เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งไม่ถึง 32 %) จึงเข้าดำเนินการตามมาตรการพ่นกากบาทสีแดงเป็นสัญลักษณ์ทุเรียนอ่อน เพื่อป้องกันการนำไปขายปะปนกับทุเรียนคุณภาพต่อไป

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ไล่เช็ค “ยะลา” สกัดทุเรียนอ่อน ทะลักตลาดจีน

นายระพีภัทร์ กล่าวว่า ตนกับผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้กำชับให้ชุดปฏิบัติการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสถานประกอบการรับซื้อ-ส่งออกทุเรียน ดำเนินการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากช่วงนี้มีทุเรียนที่ปลูกนอกพื้นที่จังหวัดชุมพร ตัดก่อนกำหนด หรือมีทุเรียนด้อยคุณภาพนำมาส่งขายที่ล้งในจังหวัดชุมพร หากปล่อยให้มีการส่งออกหรือนำไปจำหน่ายปลีกตามสถานที่ต่างๆ อาจทำให้ภาพลักษณ์ของทุเรียนชุมพรและทุเรียนใต้เสียหาย และส่งผลต่อมาตรฐานคุณภาพทุเรียนคุณภาพไทยที่ ทุกฝ่ายพยายามรณรงค์ตลอดมา

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ไล่เช็ค “ยะลา” สกัดทุเรียนอ่อน ทะลักตลาดจีน

“อีกด้านหนึ่งได้คุยกับผู้ประกอบการส่งออก และทูตเกษตรไทย ณ ประเทศจีน ได้รับการยืนยันว่า ราคาทุเรียนคุณภาพไทยยังคงดีอยู่ต่อเนื่องเพราะผู้บริโภคจีนให้ความนิยมและมีความต้องการบริโภคทุเรียนไทยคุณภาพ และราคาทุเรียนไทยคุณภาพ ยังคงมีราคาที่สูงกว่า ทุเรียนจากประเทศอื่นดังนั้น จึงขอให้พี่น้องเกษตรกร ชาวสวนทุเรียน  ล้ง และผู้ประกอบการ รักษาคุณภาพมาตรฐานทุเรียน อย่าให้มีการตัดอ่อนโดยเด็ดขาด รวมถึงและรักษาคุณภาพผลไม้ไทยอื่น ๆ อย่างจริงจังรับรองว่า ได้ราคาแน่นอน”

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ไล่เช็ค “ยะลา” สกัดทุเรียนอ่อน ทะลักตลาดจีน

นายระพีภัทร์ กล่าวตอนท้าย โดยย้ำว่า ได้มีการสั่งการกรมวิชาการเกษตรในพื้นที่ภาคใต้ เร่งบริการออกตรวจ/แนะนำ และขึ้นทะเบียนแปลง GAP ที่ภาคใต้เพิ่มเติม  ( 3 จังหวัดภาคใต้ ) ผ่านการให้บริการ “คลินิกเกษตรเคลื่อนที่” ซึ่งเดิมไม่ค่อยได้ขึ้นทะเบียน เพราะเป็นพื้นที่เสี่ยงอันตราย และชาวสวนเพิ่งจะมาสนใจและตื่นตัว จึงต้องให้คำแนะนำการบำรุงรักษาการ ดูแล ใกล้ชิดเป็นพิเศษ หลายแปลเป็นสวนทุเรียนเก่าต้นสูง ใหญ่ แต่ไม่ได้รับการบำรุงดูแลสวนมานาน ดังนั้น เพื่อให้สอดรับมาตรฐานการส่งออกตามพิธีสารไทย-จีน หากใบ GAP ส่งออกไม่ได้ ติดต่อเจ้าหน้าที่สายด่วนกรมวิชาการเกษตร 081-9384408