เกษตรฯ เคลียร์ ใช้ 2,500 ล้าน “พืชสวนโลก” ที่อุดรฯ โปร่งใส คุ้มค่างบแผ่นดิน

17 ส.ค. 2566 | 14:00 น.
อัปเดตล่าสุด :17 ส.ค. 2566 | 14:15 น.

"รพีภัทร์" ระบุ กระทรวงเกษตรฯ เคลียร์ใช้ 2,500 ล้าน “พืชสวนโลก” โปร่งใส คุ้มค่างบแผ่นดิน ส่วนงบจัดซื้อจัดจ้าง ทางจังหวัดอุดรฯ ตั้งคณะกรรมการที่มี “รองผู้ว่าราชการจังหวัด” เป็นประธานดูแลทุกคณะ คาดเร็ว ๆ นี้ จังหวัด จะแถลงรายละเอียดต่างๆ ที่เกิดขึ้น อย่างตรงไปตรงมา

เกษตรฯ เคลียร์ ใช้ 2,500 ล้าน “พืชสวนโลก” ที่อุดรฯ โปร่งใส คุ้มค่างบแผ่นดิน

นายระพีภัทร์  จันทรศรีวงศ์  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และในฐานะเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569  เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจาก นายประยูร  อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานคณะอำนวยการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีมีผู้ร้องเรียน ป.ป.ช.สอบทุจริต การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก จังหวัดอุดรธานี ปี 2569 โดยมีประเด็นการร้องเรียนและข้อชี้แจงดังนี้

เกษตรฯ เคลียร์ ใช้ 2,500 ล้าน “พืชสวนโลก” ที่อุดรฯ โปร่งใส คุ้มค่างบแผ่นดิน

1.การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 พ.ย.2564 โดยเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตรในฐานะสมาชิกของ AIPH กระทรวงมหาดไทย (จังหวัดอุดรธานี) ที่เป็นพื้นที่จัดงาน และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (สสปน.)  ผู้สนับสนุนด้านการยื่นขอเป็นเจ้าภาพการจัดงานฯ ในด้านการบริหาร

เกษตรฯ เคลียร์ ใช้ 2,500 ล้าน “พืชสวนโลก” ที่อุดรฯ โปร่งใส คุ้มค่างบแผ่นดิน

โดยมีคณะทำงาน 2 คณะ 1. คณะกรรมการอำนวยการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน 2. คณะกรรมการบริหารการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ.2569 มีนายประยูร  อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ซึ่งในคราวการประชุมทั้งสองคณะที่ได้เคยประชุมร่วมกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายชัดเจนให้การดำเนินการเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด ต้องเป็นไปตามระเบียบราชการ มีความถูกต้อง และโปร่งใส นำไปสู่การจัดงานการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี ปี 2569 อย่างเรียบร้อยและสร้างชื่อเสียงที่ดีให้กับประเทศไทย

 

2. การจัดงานดังกล่าว จัดอยู่ในระดับ B (International Horticulture Exhibition) ซึ่งเป็นระดับที่จังหวัดเป็นเจ้าภาพหลัก ดังนั้น จังหวัดอุดรธานีจึงมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดซื้อจัดจ้าง การออกแบบ Master Plan โดยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการที่มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีเป็นประธานทุกคณะ (จัดทำขอบเขตงาน กำหนดราคากลาง และตรวจรับพัสดุ)

 

เกษตรฯ เคลียร์ ใช้ 2,500 ล้าน “พืชสวนโลก” ที่อุดรฯ โปร่งใส คุ้มค่างบแผ่นดิน

ในการจัดซื้อจัดจ้างครั้งที่ 1. พบว่ามีบางประเด็นที่ไม่เป็นไปตามระเบียบราชการ ทำให้จังหวัดอุดรธานีซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างในครั้งนั้น  เพื่อให้ถูกต้องตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่างๆ และดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง เนื่องจากการดำเนินการในขั้นตอนดังกล่าว เป็นการดำเนินการโดยจังหวัดอุดรธานี รายละเอียดต่างๆที่เกิดขึ้น จังหวัดอุดรธานีจะได้มีการแถลงเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้นในเร็วๆนี้

 

เกษตรฯ เคลียร์ ใช้ 2,500 ล้าน “พืชสวนโลก” ที่อุดรฯ โปร่งใส คุ้มค่างบแผ่นดิน

นายระพีภัทร์    กล่าวว่า สำหรับงบประมาณในการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานีฯ ได้รับอนุมัติกรอบวงเงินตั้งแต่ปี 2565 ถึง 2569 ไว้ทั้งหมดรวม 2,500 ล้านบาท งบประมาณส่วนใหญ่อยู่ที่การก่อสร้าง การตกแต่งภูมิสถาปัตย์ สาธารณูปโภค และการบริหารจัดการ ซึ่งรวมถึงการจัดการ การประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมวิชาการ การเดินทางไปราชการต่างประเทศ และการจัดทำรายงานต่อ AIPH ที่มีงบประมาณ 533 ล้านบาท

 

ตลอดระยะเวลา 4 ปี รวมถึงค่าใช้จ่ายของคณะเดินทางในการเดืนทางไปจัด Road Show ในต่างประเทศ การเข้าร่วมประชุม Annual Congress, Spring Meeting, general meeting ของประเทศสมาชิกเพื่อรายงานความก้าวหน้าการจัดงานต่อประเทศสมาชิก AIPH และ ร่วมประชุมกับผู้บริหารระดับสูงของประเทศนั้น ๆ ซึ่งที่ผ่านมา ยังไม่ได้เบิกงบประมาณดังกล่าว หากแต่ใช้งบประมาณจากต้นสังกัดของแต่ละหน่วยงานทั้งสิ้น

เกษตรฯ เคลียร์ ใช้ 2,500 ล้าน “พืชสวนโลก” ที่อุดรฯ โปร่งใส คุ้มค่างบแผ่นดิน

“ในฐานะที่เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพืชสวนโลกฯ จึงขอให้โปรดมั่นใจว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการและจะได้ดำเนินการในการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกอุดรธานี ปี 2569 ให้ได้ผลงานที่เป็นศักดิ์ศรีของประเทศไทย ภายใต้การดำเนินการที่รอบคอบ โปร่งใส และถูกต้องตามระเบียบราชการ เพื่อได้ประโยชน์สูงสุดคุ้มค่ากับงบประมาณแผ่นดินที่ได้รับ” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว