นายเจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด เปิดเผยผ่านเวทีเสวนา “ความมั่นคงทางอาหารภายใต้ปรากฎการณ์ El Niño และโอกาสการค้าตลาดคาร์บอนเครดิตในการผลิตพืชของไทย” ว่า ปัจจุบัน “คาร์บอนเครดิต” ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของกลยุทธ์ และเริ่มกระทบกับบริษัทเอกชนหลายบริษัท ดังนั้นวันนี้ คาร์บอนเครดิต จึงไม่ใช้แค่ทางเลือกแต่เป็นทางรอดเนื่องจาก supply chain ของภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด
“สาเหตุที่คาร์บอนเครดิตเป็นที่ต้องการของภาคเอกชนเกิดจากแรงกดดัน หลายคนเริ่มเห็นแล้วว่าคาร์บอนเครดิตขายดี มีคนรับซื้อตลอดแต่ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงต้องรับซื้อ วันนี้ประเทศไทยอยู่ในภาคสมัครใจเพราะไม่ได้ถูกบังคับ ไม่มีการปรับ แต่ได้รับความกดดันจากต่างประเทศทั้งในภูมิภาคและในประเทศไทยเองส่งผลให้เอกชนต้องมีการลดฟุตพริ้นท์ขององค์กร
ในระดับโลกประเทศไทยได้คอมมิทเมนต์ใน "COP26 " เรียบร้อยแล้วว่าภายในปี 2050 เราจะเป็นกลางทางคาร์บอน และเป็น Net Zero Emissions ในปี 2065 ซึ่งนอกจากภาครัฐแล้วการลดก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่มาจากภาคเอกชน ดังนั้นถ้าภาคประชาชนไม่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ก็จะทำให้ประเทศไทยไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้”
อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่กังวลอย่ามากคือ “ภาษีคาร์บอน” ซึ่งในปีนี้ยุโรปได้คลอดภาษีคาร์บอน CBAM ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วและจะมีผล 1 ตุลาคมคมนี้ ซึ่งจะมีเวลาให้ผู้ประกอบการไทยเตรียมตัว 3 ปี โดยในระยะ 3 ปีนี้สินค้าที่จะส่งเข้ายุโรปต้องมีการรายงานฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์นั้นๆเพื่อนำไปหาค่าเฉลี่ยและหลังจาก 3 ปีจะมีการบังคับใช้เต็มรูปแบบ นั่นหมายความว่าถ้าผลิตภัณฑ์ที่ออกไปมีปริมาณฟุตพริ้นท์เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้จะโดนปรับในราคาคาร์บอนเครดิต ณ ปลายทางซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ราวๆ 3,000 กว่าบาท
“คาร์บอนเครดิตและฟุตพริ้นท์ ไม่ใช่แค่เรื่องของการรักษ์โลกแต่เป็นความสามารถในการแข่งขันเมื่อส่งออกสินค้าไปเจอ “ภาษีคาร์บอน” อาจทำให้ราคาสินค้าของเราสูงกว่าคู่แข่งอื่นๆ อีกส่วนหนึ่งคือเรื่องของ supply chain ในวันนี้ประเทศไทยไม่บังคับให้ทางภาคเอกชนต้องเปิดเผย ฟุตพริ้นท์ หรือสโคป 3 ขณะที่ต่างประเทศบังคับใช้เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นหมายความว่าสิ่งที่ผู้ประกอบการและองค์กรไทยกำลังเจอคือบริษัทชั้นนำของโลกเริ่มกดดันและตั้งคำถามว่าปริมาณฟุตพริ้นท์ในผลิตภัณฑ์ที่ส่งมามีปริมาณเท่าไหร่
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการเข้าถึงแหล่งเงินทุนซึ่งในอนาคต ฟุตพริ้นท์ จะถูกนำเป็นเกณฑ์ในการพิจราณาปล่อยสินเชื่อ ขณะที่แบงค์ชาติเองมีประกาศเรื่องของ Green Taxes economy ออกมาเรียบร้อยแล้วนั่นแปลว่าถ้าบริษัทไม่มีการปรับตัวภายในปี 2040 การเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารก็จะลดลงเรื่อยๆ
อีกส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ คือในยุโรปการซื้อขายคาร์บอนเครดิตครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของยุโรปประมาณ 36% แต่ในไทยยังไม่ถึง 0.3% จึงมีโอกาสที่จะโตมากกว่านี้ ซึ่งคาร์บอนเครดิตราคาจะไม่เหมือนกันในแต่ละประเภท nature based คือจากการปลูกต้นไม้หรือภาคการเกษตรตรงนี้เป็นที่นิยมและเป็นที่ต้องการ ดังนั้นก็เป็นโอกาสที่ดีสำหรับเกษตรยั่งยืน
“ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในไทยมากที่สุดอันดับแรกคือภาคพลังงาน อันดับ 2 คือภาคเกษตร ดังนั้นเราไม่สามารถที่จะตัด SME หรือเกษตรกรออกจาก supply chain ได้และใน SET 100 มีบริษัทมากถึง 50% ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเกษตร และอัตราการจ้างงานประมาณ 30% อยู่ในภาคการเกษตร ดังนั้นถ้าเราสามารถนำ GAP (Good Agriculture Practices ) มาพัฒนาเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และนำไปimplement เกษตรกรจะสามารถมีรายได้เสริมจากการขายคาร์บอนเครดิต หรือขายผลผลิตในราคาที่สูงขึ้นได้และสุดท้ายเกษตรกรจะช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ลงได้W