ธุรกิจกลุ่มไหนต้องปรับตัว หลังประเทศคู่ค้าให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม

11 ก.ค. 2567 | 06:33 น.
อัปเดตล่าสุด :11 ก.ค. 2567 | 07:10 น.

สนค. เผยแผนรับมือมาตรการหลังประเทศคู่ค้าหลักให้ความสำคัญกับสินค้าสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน แนะผู้ประกอบการไทยกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเร่งปรับตัวสู่ธุรกิจยั่งยืน

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” เกี่ยวการปรับตัวของผู้ประกอบการไทยที่ประเทศคู่ค้าสำคัญให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนว่า  ปัจจุบันประเทศไทยมีมาตรการแผนและนโยบายในการรับมือกับสถานการณ์โดยได้การกำหนดแผนยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 ให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืนในยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้าน การสร้างการเติบโตบนคุณกาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้ยุทธศาสตร์คือ สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอาการ มุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ

ทั้งนี้ ก็มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน โดยได้กำหนดเป็นประเด็นการพัฒนาในหมุดหมายที่ 10 ไทยให้มีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำที่มีเป้าหมาย  3 เรื่อง ได้แก่

  • การเพิ่มมูลค่าจากเศรษฐกิจหมุนเวียน และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การอนุรักษ์ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
  • การสร้างสังคมคาร์บอนต่ำและยั่งยืน

ขณะเดียวกัน ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) เป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันประเทศไทยสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2608 โดยประเทศไทยเตรียมเก็บ Carbon Tax ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ซึ่งจะเริ่มในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ซึ่งจะอาจทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่ 2 ของอาเซียนต่อจากสิงคโปร์ ที่เริ่มเก็บภาษีคาร์บอน โดยระยะแรกจะเริ่มเก็บจากสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน

คาดว่าอัตราภาษีจะอยู่ที่ 200 บาทต่อตันคาร์บอนนโยบายดังกล่าวจะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสินค้าไทยในต่งประเทศในการจัดการปัญหาคาร์บอน รวมถึงอาจกระตุ้นการลงทุนในเทคโนโลยีสะอาดและพลังงานทดแทนมากขึ้น

และกระทรวงพาณิชย์ ก็ได้มีการวางมาตการและนโยบายในการรับมือสถานการณ์ ได้ติดตามและเฝ้าระวังมาตรการต่าง ๆ ของต่างประเทศที่อาจส่งผลกระทบต่อการค้าของไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความตระหนักและเตือนภัยผู้ประกอบการให้สามารถเตรียมรับมือและปรับตัวได้อย่างทันท่วงที โดยมีการจัดทำรายงานแนวโน้มความต้องการตลาด สินค้า สถานการณ์เศรษฐกิจการค้า รวมถึงบทวิเคราะห์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านความยั่งยืน

นอกจากนี้ยังมีการศึกษา ติดตาม วิเคราะห์ และเผยแพร่มาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีของประเทศคู่ค้า รวมถึงเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ประกอบการไทยเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามมาตรการทางการค้าได้อย่างถูกต้องเหมาะสมโดยไม่เป็นอุปสรรคทางการค้า

นอกจากนี้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  ยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนาการค้าตามระเบียบการค้าโลกใหม่ เพื่อดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคธุรกิจสามารถปรับตัวให้สอดรับกับแนวโน้มมาตรการทางการค้าของโลก รวมทั้งจัดทำคลังความรู้ "พาณิชย์คิดค้า อย่างยั่งยืน" เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการทำธุรกิจการค้าอย่างยั่งยืนให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะ SMEs ให้เข้าถึงข้อมูลได้ ณ ที่เดียว ซึ่งกระทรวงฯมีแผนจะเปิดตัวเร็ว ๆ นี้ บน www.คิดค้า.com

นายพูนพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ประกอบการไทยควรปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและพัฒนาสินค้าโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวตล้อม ควบคู่กับการศึกษา และติดตามสถานการณ์มาตรการการค้าทั้งภายในประเทศและต่งประเทศอย่างใกล้ชิด โดยผู้ประกอบการที่ปรับตัวได้เร็ว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำจะได้เปรียบและอาจแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด (Marketshare) จากประเทศที่ใส่ใจหรือมีการบังคับใช้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมได้มากกว่าผู้ประกอบการที่ปรับตัวได้ช้ากว่า ตลอดจนสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาสินค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับมาตรการด้านความยั่งยืนของโลก รวมทั้งเพื่อรักษาตลาดและแสวงหาโอกาสทางการค้าใหม่ ๆ

ภาครัฐและเอกชนควรมีการสื่อสารสองทางในการทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น (resilience) ของระบบเศรษฐกิจไทยที่ทันต่อแนวโน้มการค้าและความท้าทายใหม่ ๆ ที่

สำหรับสินค้าที่ต้องเร่งปรับตัว และเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศได้แก่

  • สินค้าเกษตร

สหภาพยุโรป (EU) ได้ออกมาตรการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนด้านการเกษตรของต่างประเทศ อาทิ กฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า ของสหภาพยุโรป (EU) กำหนดให้การนำเข้าสินค้า 7 กลุ่ม ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน วัว ไม้ กาแฟ โกโก้ และถั่วเหลือง รวมถึง

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสินค้าเหล่านี้ ต้องผ่านการตรวจสอบและรายงานที่มาของสินค้า ว่าไม่เกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า กฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 แต่มีระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน ก่อนจะใช้เต็มรูปแบบในวันที่ 30 ธันวาคม 2567

มาตรฐาน Roundtable on Sustainable Palm Oi (RSPO) เป็นมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ครอบคลุมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2547

ยุทธศาสตร์ระบบอาหารยั่งยืน (Strategy for Sustainable Food Systems) หรือ "ยุทธศาสตร์ MIDORI"เป็นนโยบายที่จะปรับปรุงศักยภาพด้านผลผลิตและความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหาร เกษตรกรรม ป่าไม้ และประมงผ่านนวัตกรรมของญี่ปุ่น ซึ่งในปี 2566 ได้ดำเนินโครงการนำร่องติดฉลากลดก๊ซเรือนกระจกในสินค้ากลุ่มผัก และผลไม้สด รวม 23 รายการ ได้แก่

ข้าว มะเขือเทศ มะเขือเทศเชอร์รี่ แตงกวา มะเขือยาว ผักโซม ต้นหอม หัวหอม ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ผักกาดหอม หัวไขเท้า แครอท หน่อไม้ฝรั่ง แอปเปิ้ล สัมแมนตาริน องุ่น ลูกแพร์ญี่ปุ่น ลูกพืช สตรอว์เบอร์รี มันฝรั่ง มันเทศ และชา

เพื่อสื่อสารความพยายามลดก๊าซเรือนกระจกของเกษตรกรและผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค และคาดว่จะขยายให้ครอบคลุมกลุ่มสินค้าปสัตว์ ได้แก่ โคนม โคเนื้อ และสุกร ดังนั้น สินค้าเกษตรไทยที่ต้องเร่งปรับตัวจึงเป็นสินค้าที่อยู่ภายใต้มาตรการหรือกฎระเบียบของประเทศคู่ค้าข้างต้นโดยเฉพาะสินค้าที่ไทยมีมูลค่าการส่งออกสูง

  • สินค้าอุตสาหกรรม

มาตรการของประเทศคู่ค้าสำคัญที่เริ่มบังคับใช้แล้ว คือ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดนของสหภาพยุโรป (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) เป็นการกำหนดราคาคาร์บอนของสินค้านำเข้าบางประเกท เพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก็าซเรือนกระจกสูงเข้ามาใน EU ปัจจุบัน มาตรการ CBAM บังคับใช้กับสินค้า6 กลุ่ม ได้แก่

  1. เหล็กและเหล็กกล้า
  2. อะลูมิเนียม
  3. ซีเมนต์
  4. ปุ๋ย
  5. ไฟฟ้า
  6. ไฮโดรเจน

รวมถึงสินค้าปลายน้ำบางรายการด้วย เช่น นอตและสกรูที่ทำจากเหล็กและเหล็กกล้า และสายเคเบิลที่ทำจากอะลูมิเนียมและคาดว่าในอนาคตมาตรการ CBAM อาจส่งผลกระทบไปยังอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง เช่น ปิโตรเลียม เอธานอล แก้ว กระดาษ และพลาสติก การส่งออกสินค้าภายใต้มาตรการ CBAM  ซึ่งปัจจุบันรายสินค้าจากไทยไป EU ปี 2023 มีรายละเอียด ดังนี้

  • เหล็กและเหล็กกล้า : มีมูลค่าราม 288.91 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 1.34% ของมูลค่าการ ส่งออกสินค้าทั้งหมด จากไทยไป EU และเป็น 5.96% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเหล็กจากไทยไปตลาดโลก โดยมูลค่าดังกล่าว ลดลง 21.76% จากปี 2022 (369.27 ล้านดอลลาร์)

 

  • อะลูมิเนียม : มีมูลค่ารวม 75.50 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 0.35% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งหมดจากไทยไป EU และเป็น 3.79% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอะลุมิเนียม จากไทยไปตลาดโลก โดยมูลค่าดังกล่าว ลดลง 29. 71% จากปี 2022 (107.42 ล้านดอลลาร์)

 

  • ปุ๋ย : มีมูลค่ารวม 0.0176 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 17,558 ดอลลาร์) คิดเป็น 0.00019% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งหมดจากไทยไป EU และเป็น 0.009396 ของมูลค่าการส่งออก สินค้าจากไทยไปตลาดโลก โดยมูลค่าดังกล่าว เพิ่มขึ้น 78.82% จากปี 2022 (ประมาณ 9,819 ดอลลาร์)

ทั้งนี้ ไทยไม่มีการส่งออกสินค้า กลุ่มซีเมนต์ ไฟฟ้า และไฮโดรเจน ไป EU แม้ว่า EU จะไม่ใช่ตลาดส่งออกหลักของไทยสำหรับสินค้า 6 ประเภทดังกล่าวแต่ผู้ประกอบการไทยที่ ส่งออกสินค้าข้างต้นไป EU ครรติดตามความเคลื่อนไหวของการพิจารณาชุดข้อเสนอ Fit for 55 ของ EU อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง