กรมวิชาการเกษตร ยกระดับเข้มป้องกัน และกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

01 ส.ค. 2567 | 09:45 น.
อัพเดตล่าสุด :01 ส.ค. 2567 | 09:53 น.

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร บูรณาการกับทุกภาคส่วน ยกระดับมาตรการเข้มข้น 9 ข้อ ทั้งระยะสั้น ระยะยาว ป้องกัน และกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน รักษาชื่อเสียงทุเรียนส่งออก ปลายทางต้องได้คุณภาพ

ย้อนไป เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการผลิต) เป็นประธานการประชุมโดยมีนางสาวเบญจพร ชาครานนท์ ที่ปรึกษา รมว.เกษตร และนายสัญชัย ปุรณะชัยศิริ ที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะกรรมการ Fruit board ติดตามสถานการณ์หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

 

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  เผยผลการประชุมหารือมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ภาคใต้  ทางร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยกระดับมาตรการในการป้องกันกำจัด และป้องกัน หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ตลอด Supply Chain ตั้งแต่การผลิตจากสวนของเกษตรกร การเก็บเกี่ยว คัดบรรจุ และการตรวจสอบเพื่อรับรองสุขอนามัยพืช มิให้มีผลกระทบกับตลาดภายใน และภายนอกประเทศ ให้มีการทำงานร่วมกับ หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

               

อาทิ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภายใต้ (ศอ.บต.) กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร สหกรณ์จังหวัด พาณิชย์จังหวัด หน่วยงานระดับจังหวัด หน่วยงานในพื้นที่ สำนักงานที่ปรึกษาเกษตรต่างประเทศ ประจำประเทศจีน และภาคเอกชนผู้รับซื้อผลผลิต ขยายผลเพื่อให้เกิดการควบคุมกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนให้ดำเนินการตามมาตรการ 4 ขั้นตอนในพื้นที่เสี่ยงการระบาดอย่างเคร่งครัด

สำหรับในที่ประชุมมีการพิจารณามาตรการระยะสั้น และระยะยาวเพิ่มเติม เพื่อเป็นมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ดังนี้ มาตรการระยะสั้น

กรมวิชาการเกษตร ยกระดับเข้มป้องกัน และกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

1.กรมวิชาการเกษตร จะเสนอโครงการผ่านกลไกของ คณะกรรมการ Fruit board เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ (งบกลาง) ในการจัดหากับดักแสงไฟโดยใช้หลอด black light ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่แพร่ระบาด เพื่อใช้ล่อผีเสื้อหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนมาทำลาย รวมถึงการจัดทำห้องเย็นเก็บรักษาทุเรียน ภายใต้การร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร และกรมส่งเสริมสหกรณ์

กรมวิชาการเกษตร ยกระดับเข้มป้องกัน และกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

2.สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร (ด่านตรวจพืช) และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8 ยกระดับ “มาตรการกรอง 4 ชั้น” ก่อนการส่งออกในพื้นที่ปลูกทุเรียนทั่วประเทศ โดยให้โรงคัดบรรจุลดปริมาณการใช้สารเอทิฟอนป้ายขั้วผล (เพื่อเร่งสุก) เพื่อให้ผลทุเรียนสุกช้าลง และเพิ่มระยะเวลาบ่มทุเรียนในโรงคัดบรรจุให้นานขึ้น จากเดิม 24 ชั่วโมง เพิ่มเป็น 48-72 ชั่วโมง ภายใต้การดูแลหน่วยงานกรมวิชาการเกษตรในพื้นที่ เพื่อให้หนอนเจาะเมล็ดทุเรียนออกมา จากผลทุเรียนหากผลนั้นถูกหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนเข้าทำลาย พร้อมกำหนดให้เปิดตรวจตู้สินค้าทุเรียนที่หน้าด่านตรวจพืชปลายทาง 100% ทุกตู้ หากพบหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนท้ายตู้ ห้ามไม่ให้ส่งออกไปจีนอย่างเด็ดขาด

 

 

3.กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8พิจารณาใช้มาตรการระงับการส่งออกชั่วคราว สำหรับโรงคัดบรรจุที่พบปัญหาหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน และไม่มีการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

4.สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8 และ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ให้ความรู้แก่เกษตรกร และผู้ประกอบการเกี่ยวกับการป้องกันกำจัด การจัดการผลเสีย เปลือก เศษชิ้นส่วน และเมล็ดที่ถูกหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนเข้าทำลายอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นพาหะนำพาหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนแพร่ระบาดไปยังพื้นที่ใหม่

กรมวิชาการเกษตร ยกระดับเข้มป้องกัน และกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

5.กรมวิชาการเกษตร หารือกับกรมการค้าภายใน สหกรณ์การเกษตร เกษตรกรในพื้นที่แพร่ระบาดของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน และผู้ประกอบการ ในการผลักดันให้นำทุเรียนที่ถูกหนอนเจาะเมล็ดเข้าทำลาย มาแปรรูปเป็นทุเรียนแกะเนื้อแช่เยือกแข็ง และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุเรียน เพื่อจำหน่ายในประเทศ และส่งออก

6.สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ประสานกับทูตเกษตรปักกิ่ง กว่างโจว และเซี่ยงไฮ้ รวมถึงผู้ประกอบการ เพื่อทราบปัญหาการตรวจพบหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนที่ด่านนำเข้าของจีน เพื่อให้สามารถป้องกันแก้ไขปัญหาได้ทันที

 

กรมวิชาการเกษตร ยกระดับเข้มป้องกัน และกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

มาตรการระยะยาว

1.สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช วิจัยพัฒนาฟีโรโมน เพื่อใช้ล่อผีเสื้อหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนเพศผู้มาทำลาย รวมถึงการใช้โดรนพ่นสารกำจัดศัตรูพืช เพื่อลดการแพร่ระบาดในแปลงปลูก

2.สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ศึกษาวิจัยการใช้เทคโนโลยีกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM) เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนในแปลงปลูก ควบคู่กับมาตรฐาน GAP

3.สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชและสำนักงานเกษตรอำเภอ/จังหวัด บูรณาการความร่วมมือในการสำรวจ เผ้าระวัง และจัดทำแผนที่การแพร่ระบาดของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนในพื้นที่ปลูกทุเรียนทั่วประเทศ เพื่อประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาด และบังคับใช้มาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาได้ทันที

กรมวิชาการเกษตร ยกระดับเข้มป้องกัน และกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า การแพร่ระบาดของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน เป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจทางการเกษตร จำเป็นต้องร่วมมือทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาทั้งมาตรการกรอง 4 ชั้น มาตรการระยะสั้น และระยะยาว เพื่อมิให้มีผลกระทบกับตลาดภายใน และส่งออกต่างประเทศซึ่งภาคเอกชนผู้รับซื้อผลผลิต ต่างยืนยันว่า ยังมีความต้องการบริโภคทุเรียนภายในประเทศ และต่างประเทศ อยู่เป็นจำนวนมาก

กรมวิชาการเกษตร ยกระดับเข้มป้องกัน และกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

ทั้งการบริโภคผลสด และอุตสาหกรรมแปรรูป ทั้งทุเรียนแช่แข็ง ทุเรียนทอดกรอบ ทุเรียนกวน ไอศกรีมทุเรียน ซี่งราคาจำหน่ายทุเรียนในประเทศ ยังได้ราคาดี ไม่น้อยกว่า การส่งออก ซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า และยังต้องเสี่ยงกับการเรียกเก็บเงินปลายทางอีกสอดรับกับการสอบถามทูตเกษตรประจำกรุง ปักกิ่ง กว่างโจว เซี่ยงไฮ้ ยืนยันความต้องการ และราคาทุเรียนไทยคุณภาพในจีนยังสูงอยู่ซึ่ง รมว.เกษตร ได้สั่งการให้ กรมวิชาการเกษตร ยกระดับความเข้มข้นทั้งมาตรการกรอง 4 ชั้น มาตรการระยะสั้น มาตรการระยะยาว เพื่อป้องกันกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ตลอด Supply Chain มิให้มีผลกระทบกับตลาดภายใน และส่งออกต่างประเทศ