เปิดสายด่วน “กรมวิชาการเกษตร” คุมเข้มทุเรียนภาคใต้

25 มิ.ย. 2566 | 07:00 น.
อัปเดตล่าสุด :25 มิ.ย. 2566 | 07:08 น.

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร สั่งคุมเข้มทุเรียนภาคใต้ ต้องได้ทั้งคุณภาพเหมือนภาคตะวันออก บูรณาการตรวจเข้ม ลงพื้นที่ 27-28 มิ.ย. นี้ พร้อมเปิดสายด่วนกรมวิชาการเกษตร 081-9384408 อำนวยความสะดวกขึ้นทะเบียน GAP พร้อม บริการ Clinic เกษตรเคลื่อนที่

เปิดสายด่วน “กรมวิชาการเกษตร” คุมเข้มทุเรียนภาคใต้


นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรย้ำใช้ “จันทบุรีโมเดล” คุมเข้มทุเรียนภาคใต้สั่งตรวจเข้มคุณภาพทุเรียนส่งออกต้องได้ทั้งคุณภาพปลอดแมลงศัตรูพืช รวมไปถึงตรวจสอบแหล่งที่มาได้ ย้ำเกษตรกรเมื่อตัดทุเรียนส่งโรงคัดบรรจุต้องแสดงใบ GAP ให้โรงคัดบรรจุด้วย ซึ่งทางประเทศจีนได้ขึ้นทะเบียน GAP ล่าสุดเมื่อวันที่ 30 เม.ย.2566 โดยเป็น GAP ทุเรียนจำนวน 74,136 แปลงอยู่ในภาคใต้ 38,181 แปลง
 

เปิดสายด่วน “กรมวิชาการเกษตร” คุมเข้มทุเรียนภาคใต้


ล่าสุดวันที่ 15 มิ.ย.2566 ทางกรมวิชาการเกษตรได้ส่งทะเบียน GAP ให้จีนผ่านทูตเกษตรปักกิ่งเพื่อขึ้นทะเบียนในรอบถัดไปแล้วอยู่ระหว่างรอจีนพิจารณาขึ้นทะเบียนโดยเป็น GAP ทุเรียนจำนวน 72,488 แปลงอยู่ในภาคใต้ 40,107 แปลงจึงมั่นใจว่าจำนวนใบ GAP สำหรับการส่งออกมีเพียงพออย่างแน่นอนดังนั้นเพื่อให้สอดรับมาตรฐานการส่งออกตามพิธีสารไทย-จีนหากใบ GAP ส่งออกไม่ได้ติดต่อเจ้าหน้าที่สายด่วนกรมวิชาการเกษตร 081-9384408
 

เปิดสายด่วน “กรมวิชาการเกษตร” คุมเข้มทุเรียนภาคใต้


อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ขอบคุณผู้ว่าราชการจังหวัด กระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ที่ทำงานอย่างหนัก ซึ่งผู้บริโภคชาวจีนรับรู้ รสชาต คุณภาพ ของทุเรียนไทยที่มีความเป็นอัตลักษณ์ ไม่เหมือนประเทศอื่น พิสูจน์ได้จาก ในฤดูกาลส่งออกทุเรียนของไทยภาคตะวันออกที่ผ่านมา สามารถส่งออกไปจีนได้ในราคาสูง ขอให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รักษาคุณภาพการผลิต ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
 

เปิดสายด่วน “กรมวิชาการเกษตร” คุมเข้มทุเรียนภาคใต้


เพื่อให้ทุเรียนทุกลูกที่ส่งออกไปจีนมีคุณภาพซึ่งกรมวิชาการเกษตรไม่ได้นิ่งนอนใจ ส่งผู้อำนวยการสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ในวันที่ 27-28 มิ.ย.2566 เพื่ออำนวยความสะดวก ประชุมชี้แจงการทำงานกับหน่วยงาน ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องพร้อมเปิดขึ้นทะเบียน GAP บริการอื่นๆ ของกรมวิชาการเกษตรเคลื่อนที่อำนวยความสะดวก ลดภาระในการเดินทางของเกษตรกร

เปิดสายด่วน “กรมวิชาการเกษตร” คุมเข้มทุเรียนภาคใต้


สถานการณ์ทุเรียนใต้ราคารับซื้อทุเรียนวันที่ 20-24 มิ.ย.2566 AB อยู่ที่ 120-125 บาท ซึ่งถือว่าราคาสูงมากเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ในช่วงนี้ทุเรียนเวียดนามเริ่มมีการเก็บเกี่ยวผลผลิต บวกกับประเทศไทยมีผลไม้ในฤดูกาลออกหลายชนิดได้แก่ มังคุด เงาะ ลิ้นจี่ ทำให้ราคาทุเรียนลดลงจากช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา โดยราคาทุเรียนจะดีดตัวสูงขึ้นในช่วงปลายมิถุนายนจากผลผลิตที่มีไม่มากนัก เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดชุมพรทำให้ผลผลิตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 330,000 ตันเหลือประมาณ 230,000 ตัน
 

เปิดสายด่วน “กรมวิชาการเกษตร” คุมเข้มทุเรียนภาคใต้


นางสาวฉันทนา คงนคร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 กรมวิชาการเกษตร (ผอ.สวพ.7) กล่าวว่า สวพ.7 และ สวพ.8 ได้ร่วมกับศูนย์เครือข่ายด่านตรวจพืชเกษตรจังหวัดและฝ่ายปกครองจังหวัดตรวจเข้มคุณภาพทุเรียนก่อนส่งออกตั้งแต่แปลงเกษตรกรผู้ตัดผู้ประกอบการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศจีน โดยได้นำเอาวิธีการจัดการ “จันทบุรีโมเดล” มาเป็นแบบอย่างสร้างมาตรฐานทุเรียนคุณภาพของภาคใต้ปัจจุบันพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ (ล้ง) ได้เปิดทำการแล้ว 214 โรงในจังหวัด ชุมพร สุราษฎร์ธานี และ นครศรีธรรมราช คาดว่า จะเปิดครบทั้งหมดในปลายเดือน ก.ค. ซึ่งกรมวิชาการเกษตร จะใช้มาตรการตรวจอย่างเข้มข้นในการควบคุมคุณภาพทุเรียนก่อนการส่งออก

สำหรับความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการเตรียมความพร้อม สวพ.7 และ สวพ.8 บูรณาการร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ภาคใต้ สร้างความเข้าใจกับเกษตรกรผู้ประกอบการตั้งแต่ก่อนเปิดฤดูกาลมีการประชุมหารือคณะทำงานเตรียมความพร้อม ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ชุมพร นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 5 เม.ย.ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ในวันที่ 24 พ.ค. จัดประชุมชี้แจงแนวทางปฏิบัติการส่งออกทุเรียนคุณภาพให้กับผู้ประกอบ การล้งภาคใต้ 
 

เปิดสายด่วน “กรมวิชาการเกษตร” คุมเข้มทุเรียนภาคใต้


การดำเนินงานร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่ เน้นย้ำให้มีการขึ้นทะเบียน นักคัด นักตัดทุเรียน โดยสำนักงานเกษตรจังหวัด และภาคเอกชนในพื้นที่ จัดอบรมนักคัด นักตัดทุเรียนมืออาชีพโดยเปิดอบรมฟรี ตั้งแต่เดือนพ.ค.เป็นต้นมา มีการจัดอบรมไปแล้วกว่า 1,000 ราย ซึ่งสามารถช่วยลดปัญหาการตัดทุเรียนอ่อนได้
 

เปิดสายด่วน “กรมวิชาการเกษตร” คุมเข้มทุเรียนภาคใต้


อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตร ได้จัดชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจในการตรวจคุณภาพทุเรียน จำนวน 104 ชุด ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนปฏิบัติงานเพื่อรองรับการดำเนินการส่งออกทุเรียนตลอดฤดูกาล โดยชุดเฉพาะกิจดังกล่าว ได้ออกตรวจติดตามล้งตั้งแต่ก่อนวันประกาศวันเก็บเกี่ยวทุเรียนวันที่ 10 มิ.ย. ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่เข้าตรวจทุกตู้ทุกล้งเพื่อทำการตรวจแยกสีล้ง ให้เป็นสีเขียว เหลือง แดง หลังวันที่ 10 มิ.ย.
 

เปิดสายด่วน “กรมวิชาการเกษตร” คุมเข้มทุเรียนภาคใต้


มีการวางแผนการเข้าตรวจตามประเภทล้งที่ได้จัดเกรดไว้ ล้งที่ได้สีเขียว หมายถึง ล้งที่มีการปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนด ส่วนสีเหลืองและแดง คือล้งที่อาจจะมีการปฏิบัติที่คลาดเคลื่อนไปบ้างและจะต้องเพิ่มความถี่ในการเข้าตรวจอย่างต่อเนื่อง ขอย้ำให้ทุกล้งปฏิบัติตามแนวทางที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นสีเขียวซึ่งสวพ. 7 และ 8 จะส่งชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจฯเข้าสุ่มตรวจติดตามอย่างต่อเนื่องจนกว่าหมดฤดูกาล 
 

เปิดสายด่วน “กรมวิชาการเกษตร” คุมเข้มทุเรียนภาคใต้


อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ย้ำคุมเข้มทุเรียนใต้ ต้องได้ทั้งคุณภาพเหมือนภาคตะวันออก บูรณาการตรวจเข้มลงพื้นที่ 27-28 มิ.ยนี้ เปิดสายด่วน กรมวิชาการเกษตร 081-9384408 พร้อมขึ้นทะเบียน GAP บริการ Clinic เกษตรเคลื่อนที่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน เกษตรกร เน้นย้ำมาตรการควบคุมคุณภาพและป้องกันสวมสิทธิ์ทุกรูปแบบโดยการบรูณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามแนวทาง DOA Together