วันนี้ (7 ตุลาคม 2567 ) นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของไทยเดือนกันยายน 2567 เท่ากับ 108.68 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2566 ที่อยู่ที่ 108.02 ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก) ในเดือนกันยายน 2567 สูงขึ้นร้อยละ 0.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนสิงหาคม 2567 ที่สูงขึ้นร้อยละ 0.62
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกันยายน 2567 สูงขึ้นร้อยละ 0.61มาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งสูงกว่าช่วงเดือนเดียวกันโดยปัจจัยสำคัญมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งสูงกว่าช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน รวมถึงผักสดบางชนิดที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เพาะปลูก
อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ข้อมูลล่าสุดเดือนสิงหาคม 2567 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยสูงขึ้น 0.35% ซึ่งยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ระดับต่ำอันดับ 5 จาก 130 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข และต่ำเป็นอันดับ 2 ในประเทศอาเซียน 8 ประเทศ (บรูไน มาเลเซีย อินโดนิเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม สปป.ลาว)
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่สูงขึ้น 0.61% ในเดือนกันยายน มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้
หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 2.25% จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ กลุ่มอาหารสด อาทิ ผักสด ผลไม้สด ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว นมสด และไข่ไก่ กลุ่มอาหารสำเร็จรูป เช่น อาหารตามสั่ง กับข้าวสำเร็จรูป กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เช่น กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำหวาน และกลุ่มเครื่องประกอบอาหาร เช่น น้ำตาลทราย มะพร้าว
ขณะที่ยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ ส้มเขียวหวาน ปลาทู น้ำมันพืช หัวหอมแดง กระเทียม และไก่ย่าง เป็นต้น
หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 0.55% จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มน้ำมันเชื้อเพลิง เชน แก๊สโซฮอล์ น้ำมันเบนซิน กลุ่มเสื้อผ้า และกลุ่มค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญหลายรายการที่ราคาสูงขึ้น อาทิ น้ำมันดีเซล ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าเช่าบ้าน ค่ารถรับส่งนักเรียน ค่าโดยสารเครื่องบิน และค่าแต่งผมบุรุษและสตรี เป็นต้น
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนกันยายน 2567 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2567 ลดลง 0.10% ตามการลดลงของหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม 0.36% ปรับลดลงตามราคาแก๊สโซฮอล์ น้ำมันเบนซิน สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาด และของใช้ส่วนตัว
สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาสที่ 4 ปี 2567 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2567
ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น ได้แก่
ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลง ได้แก่
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2567 จากเดิมระหว่างร้อยละ 0.0 – 1.0 (ค่ากลางร้อยละ 0.5) เป็นระหว่างร้อยละ 0.2 – 0.8 (ค่ากลางร้อยละ 0.5) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง