นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ทำการวิเคราะห์ธุรกิจที่มีความโดดเด่นและเป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจประเทศให้เติบโตอย่างเข้มแข็ง พบว่า ธุรกิจที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม เป็นธุรกิจที่เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อภาคธุรกิจ และมีโอกาสเติบโตตามกระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการออกกฎระเบียบเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อรองรับกฎระเบียบใหม่ๆ
ทั้งนี้ ธุรกิจที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม มีจำนวนการจัดตั้งธุรกิจและมูลค่าทุนจดทะเบียน ตั้งแต่ ปี 2564 มียอดจัดตั้ง 41 ราย ทุน 81 ล้านบาท ปี 2565 จัดตั้ง 44 ราย เพิ่มขึ้น 3 ราย หรือ 7.32% ทุน 57.26 ล้านบาท ปี 2566 จัดตั้ง 76 ราย เพิ่มขึ้น 32 ราย หรือ 72.73% ทุน 303.39 ล้านบาท ปี 2567 มกราคม - ตุลาคม จัดตั้ง 78 ราย ทุน 159.46 ล้านบาท
สำหรับ รายได้รวมของธุรกิจที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม 3 ปีย้อนหลัง (2564 - 2566) พบว่า ปี 2564 รายได้รวม 7,152.69 ล้านบาท ปี 2565 รายได้รวม 7,227.91 ล้านบาท ปี 2566 รายได้รวม 8,941.95 ล้านบาท
ขณะที่ ผลประกอบการของธุรกิจ ปี 2564 กำไร 146.65 ล้านบาท ปี 2565 กำไร 375.99 ล้านบาท ปี 2566 กำไร 534.26 ล้านบาท
นอกจากนี้ มูลค่าการลงทุนของต่างชาติที่ลงทุนในธุรกิจที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมในนิติบุคคลไทย ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 แบ่งเป็น
สำหรับ ต่างชาติที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
ทั้ง 3 สัญชาติส่วนใหญ่เน้นลงทุนในธุรกิจวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิต และปรับปรุงสินค้าให้สอดคล้องกับแนวโน้มในอนาคต
นอกจากนี้ ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567) มีนิติบุคคลที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินกิจการอยู่ 728 ราย ทุนรวม 5,635.88 ล้านบาท แบ่งออกเป็น
และมีการดำเนินกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัด 698 ราย ทุน 5,605.43 ล้านบาท และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 30 ราย ทุน 30.45 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี ธุรกิจที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม จึงเป็นโอกาสใหม่ของธุรกิจไทยในปัจจุบัน ผู้สนใจอาจจำเป็นต้องเตรียมทักษะ บุคลากร และเทคโนโลยี ขณะเดียวกัน การมีที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย ให้มีศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันระดับโลก รวมถึงความเชี่ยวชาญด้านกระบวนการผลิตและการพัฒนาสินค้า/บริการ วัตถุดิบทดแทน และห่วงโซ่อุปทานที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ และความเชี่ยวชาญด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและผลกระทบภายหลังกระบวนการผลิต เช่น การบำบัดของเสีย การประเมินผลกระทบสังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น