นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมได้มอบนโยบายให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆทำการสำรวจลู่ทางและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศที่ประจำอยู่ ตามนโยบายนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ล่าสุดได้รับรายงานจากนางสาวบูชิตา อินทรทัศน์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว สาธารณรัฐประชาชนจีน ถึงการเติบโตของตลาดเครื่องดื่มในจีน ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มใหม่ๆ ที่กำลังขยายตัว และโอกาสในการส่งออกสินค้าเครื่องดื่มของไทยเข้าสู่ตลาดจีน โดยอุตสาหกรรมครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ของจีน เป็นตลาดที่กำลังเฟื่องฟู เนื่องจากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางสังคม ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย และความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ทั้งนี้ ในปี 2566 ขนาดตลาดสูงถึง 1.7395 ล้านล้านหยวน (8.6975 ล้านล้านบาท) โดยธุรกิจเครื่องดื่มซอฟต์ดริ๊ง ครองส่วนแบ่งในตลาด ร้อยละ 68.36 เติบโตร้อยละ 4.1 และร้านเครื่องดื่ม ครองส่วนแบ่งในตลาดร้อยละ 19.30 เติบโตร้อยละ 21.5 นอกจากนี้การสำรวจในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคร้อยละ 87.4 มีความถี่ในการบริโภคในร้านเครื่องดื่มประเภทชารูปแบบใหม่เพิ่มขึ้น มีความถี่ในการบริโภคเครื่องดื่มรวมถึงน้ำบรรจุขวดลดลง
สำหรับเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศจีน ได้แก่
ส่วนแนวโน้มการพัฒนาเครื่องดื่มชนิดใหม่ๆ จะให้ความสำคัญกับคุณสมบัติพิเศษ อาทิ
ด้านผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ตลาดและมีความแปลกใหม่ อาทิ ชาสมุนไพร รสผักคาวทอง ไร้น้ำตาล แคลอรี่และไขมัน 0% ชาสมุนไพรรสองุ่น+ฮวาเจียว รสทุเรียน รสคามิเลีย
นายภูสิต กล่าวว่า ตลาดเครื่องดื่มเป็นตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีการแข่งขันที่รุนแรง ในทุกปีจึงมีแบรนด์จำนวนมากออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มานำเสนอผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรสชาติ รสนิยม และการสร้างประสบการณ์ที่ดี ต่างเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญ ตลาดเครื่องดื่มนับเป็นอีกตลาดที่มีโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะเข้ามาทำการตลาด
การนำเสนอรสชาติที่แปลกใหม่สำหรับชาวจีนจากพืชของไทย ที่มีคุณสมบัติดีต่อสุขภาพเป็นธรรมชาติ แก้กระหายดับร้อนในช่วงหน้าร้อนนี้ อย่างน้ำกระเจี้ยบ และน้ำใบบัวบก ที่ชาวไทยคุ้นเคยกันดี การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และเพิ่มประสิทธิภาพ โดยเพิ่มฟังก์ชั่นตามกระแสดื่มเพื่อสุขภาพ เช่น 0% แคล 0% ไขมัน 0% น้ำตาล
การจัดการห่วงโซ่อุปทานให้สามารถกระจายสินค้าได้ทั่วถึง การปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาด จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย กระตุ้นความสนใจจากผู้บริโภค การกระจายรูปแบบธุรกิจให้ครอบคลุมทั้งออนไลน์และออฟไลน์ การสร้าง ความต่างให้กับผลิตภัณฑ์ อาจสร้างเรื่องราวหรือออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีลูกเล่น หาความร่วมมือกับคู่ค้าท้องถิ่น ในการ Co-Brand ร่วมมือกับผู้มีชื่อเสียงท้องถิ่นในการประชาสัมพันธ์สินค้าให้เป็นที่รู้จักทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์
ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มอย่างลึกซึ้ง เพื่อวางตำแหน่งทางการตลาดให้ชัดเจน จะทำให้สินค้าไทยเป็นที่ต้องการและเจาะเข้าสู่ตลาดจีนได้เพิ่มขึ้น