นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ตามที่ ศ.ดร. นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายเร่งด่วนให้ขับเคลื่อนนโยบาย ผัก ผลไม้ และอาหารต้องปลอดภัย และมีคุณภาพ สำหรับการบริโภคในประเทศ และส่งออก ล่าสุดได้ลงพื้นที่ร่วมกับ นายรังสรรค์ มณีรัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยุทธศาสตร์ลำไย พ.ศ. ... สภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมการวิสามัญฯ พบปะหารือร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการส่งออกผลไม้ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ/ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับต้นทุนการผลิต ตลอดจนปัญหาด้านการส่งออกผลไม้ไทยไปจำหน่ายต่างประเทศ ณ โรงงานลำไย 888 บริษัท แพลททินัมฟรุ๊ต จำกัด ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ในการลงพื้นที่ร่วมกับ คณะกรรมการวิสามัญฯ จะเป็นการสร้างการรับรู้ ให้คณะกรรมการวิสามัญฯ และเกษตรกรได้รับทราบถึง การดำเนินการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการขับเคลื่อน นโยบายผัก ผลไม้ อาหารต้องปลอดภัย มีคุณภาพ สำหรับการบริโภคในประเทศ และส่งออก ของ ศ.ดร นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยกระดับ การตรวจสอบชัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในลำไย ไปจีน ผู้ประกอบการ ทั้งรายย่อย และรายใหญ่ต้องเท่าเทียม เป็นธรรม เสมอภาค ภายใต้กฎระเบียบ เงื่อนไข และกฎหมายเดียวกัน เป็นธรรมโปร่งใส ให้เกิดความสบายใจทุกฝ่าย
นอกจากนี้ การหาตลาดใหม่ในการส่งออกก็มีความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดอินเดียที่มีความต้องการลำไยจากประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น และประเทศฟิลิปปินส์ ที่ทางผู้ประกอบการประเมินว่ามีความต้องการสูง และไม่ต้องการลำไยเปลือกสวย ทำให้ไม่จำเป็นต้องรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งกรมวิชาการเกษตร จะทำการเจรจาขอเปิดตลาดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกระทรวงพาณิชย์ต่อไป
อย่างไรก็ดีทางกรมวิชาการเกษตรนำเสนอแนวทางในการพัฒนาสายพันธุ์ลำไย พันธุ์ใหม่ ที่สามารถให้ผลผลิตนอกฤดูกาล ในช่วงเวลาที่ตลาดต่างประเทศต่างๆ ต้องการ โดยเน้นสายพันธุ์ที่มีลักษณะตรงกับความต้องการของประเทศคู่ค้า โดยไม่จำเป็นต้องรมสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์
กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการตรวจสอบรับรอง/ขึ้นทะเบียนแหล่งผลิตพืชและโรงงานผลิตสินค้าพืชตรวจวิเคราะห์สินค้าพืช ออกใบรับรองสุขอนามัยพืช แม้ว่าปัจจุบันจะมีการถ่ายโอนภารกิจ ในการตรวจสอบรับรองโรงงานผลิตสินค้าพืช ตามหลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร: การปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี (GMP) รวมทั้ง การวิเคราะห์อันตราย และจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิต (HACCP) ให้กับหน่วยรับรองภาคเอกชนไปดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 แล้วก็ตาม
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า ตนเองนายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร และนาย ชัยวัฒน์ โยธคล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) 3 อธิบดีจับมือ ยกระดับ การตรวจสอบชัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในลำไย ไปจีน ผู้ประกอบการ ทั้งรายย่อย และรายใหญ่ต้องเท่าเทียม เป็นธรรม เสมอภาค ภายใต้กฎระเบียบ เงื่อนไข และกฎหมายเดียวกัน
พร้อมเน้นย้ำ ผู้ประกอบการ เกษตรกรเปิดใจยอมรับ และปรับตัว ว่าการส่งออกลำไยไปจีนต้องเป็นไป ตามพิธีสาร-ไทยจีน และมาตรฐานสินค้าเกษตรมกษ. 1004-2557“หลักปฏิบัติสำหรับกระบวนการรมผลไม้สดด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์” ซึ่งมาตรฐานความปลอดภัยอาหารแห่งชาติจีน สำหรับการใช้สารเติมแต่งอาหาร (GB 2760-2014) ได้กำหนดค่าปริมาณสารตกค้างสูงสูด (Maximum Residue Limit: MRLs) ของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไม่เกิน 0.05 กรัม/กิโลกรัมซึ่งด่านตรวจพืชกรมวิชาการเกษตร จะสุ่มตรวจเข้มเก็บตัวอย่างลำไย จากส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนท้ายของตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อตรวจหาปริมาณชัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไม่ให้เกินมาตรฐานส่งออก ตามพิธีสาร ไทย-จีน